สาหร่ายทะเลพื้นบ้าน

สาหร่ายทะเลพื้นบ้าน มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 สาหร่ายตะขาบ ชนิดที่ 2 คือ สาหร่ายข้อ

ชนิดที่ 1 สาหร่ายตะขาบ เป็นสาหร่ายทะเลชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ชาวบ้านแถบอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่เรียกว่าสายลูกปัด สาหร่ายตะขาบมีขึ้นตลอดทั้งปี มักเกาะอยู่ตามก้อนหินใกล้ชายฝั่ง ชาวบ้าน จะนำเรือเล็ก ออกไปเก็บมา ขายตามตลาด สดทั่วไป และเก็บมากิน การกินสาหร่ายทะเล มักกินเป็นผัก แกล้มกับแกงรสเผ็ด หรือน้ำพริก โดยจะมีน้ำที่อยู่ภายในสาหร่ายตะขาบแตกออกมา เวลาเคี้ยว ทำให้ได้รสชาติเค็ม ของน้ำทะเลปนออกมาด้วย เมื่อเก็บสาหร่ายตะขาบ มาใหม่ๆจะต้อง นำไปล้างด้วยน้ำจืดให้สะอาด เพื่อให้โคลนและสิ่งสกปรกหลุดออก จากนั้นต้องรีบกินให้หมดภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง เพราะสาหร่ายตะขาบมีอายุในการกินค่อนข้างสั้น ซึ่งหากทิ้งไว้นานกว่านี้อยู่ด้านนอกจะปริ ทำให้น้ำที่อยู่ด้านใน สาหร่ายแตกออกมาหมด จึงกินไม่อร่อย


ชนิดที่ 2 คือ สาหร่ายข้อ เป็นพืช ทะเล ที่มีลักษณะเป็นข้อปล้องเนื้อใส สีเขียวหม่นมีน้ำกักอยู่ด้านใน ชอบเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามแนวหินโสโครกและ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคม คลื่นทะเล จะพัดพาเอา สาหร่ายข้อ มาเกยตื้น ตามหาด แถบเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชาวบ้านที่อยู่ ตามแนวชายหาด มักจะ ไปเก็บ สาหร่ายข้อ มาล้างน้ำให้สะอาด แล้วลวกน้ำร้อนก่อน ที่จะนำไปปรุงอาหาร โดยการทำยำ รวม กับเนื้อสัตว์ กุ้ง หรือเนื้อปู เป็นต้น