ผักตระกูล กะหล่ำ

ผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage)

ผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage)

ผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage) เป็นพืชผักอยู่ในตระกูลกะหล่ำ เป็นผักที่ปลูกกันมากในประเทศจีนตอนใต้ ไต้หวันและในประเทศไทย ผักกาดขาวปลีนับว่าเป็นผัก ที่มีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายส่วน ที่ใช้บริโภค ได้แก่ส่วนใบ รับประทาน เป็นผักสดหรือใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมสำหรับผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage)
ผักกาดขาวปลี เป็นผักที่มีอายุปีเดียว สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ ขึ้นได้ในดินเกือบ ทุกชนิด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรดด่าง (pH) ของดินอยู่ในช่วงพอเหมาะประมาณ 6-6.8 อุณหภูมิที่ เหมาะสม อยู่ระหว่าง 25-20 องศาเซลเซียส และควรได้รับแสงแดดตลอดวัน

พันธุ์ผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage)
พันธุ์ผักกาดขาวปลีแบ่งตามลักษณะของปลีได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ

ผักกาดขาวปลียาว1. พันธุ์ปลียาว มีลักษณะทรงสูง รูปไข่ ได้แก่ พันธุ์มิชิลีหรือผักกาดหางหงส์, ผักกาดโสภณ, ผักกาดขาวปลีฝรั่ง

ผักกาดขาวปลีกลม2. พันธุ์ปลีกลม ลักษณะทรงสั้นกว่า อ้วนกลมกว่า เช่น พันธุ์ซาลาเดียไฮบริด, พันธุ์ทรงบิคคอล ไพรด์ ไอบริด ฯลฯ มักเป็นพันธุ์เบาอายุสั้น

ผักกาดขาวปลีหลวม

3. พันธุ์ปลีหลวม หรือไม่ห่อปลี ส่วนใหญ่เป็นผักพื้นเมืองของเอเซีย พวกนี้มักไม่ห่อปลี ปลูกได้แม้อากาศไม่หนาวฝนตกชุก ได้แก่ พันธุ์ผักกาดขาวใหญ่ (อายุ 45 วัน) ผักกาดขาวธรรมดา (อายุ 40 วัน) ความอร่อยน่ากินและเก็บรักษาได้นานสู้ผักกาดขาวพวกเข้าปลีไม่ได้ ทำให้ปริมาณในปัจจุบันลดลง พันธุ์ผักกาดขาวปลีที่เกษตรกรนิยมใช้ ตราดอกโบตั๋น, ตราช้าง, ตราเครื่องบิน, ตราเครื่องบินพิเศษ, พันธุ์เทียนจิน, พันธุ์เทียนจินเบอร์ 23 (เป็นพันธุ์ที่ทนร้อนปานกลาง)

ผักกาดขาวปลี

การเตรียมดินปลูกผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage)

  1. แปลงเพาะกล้า ควรไถดินให้ดี ตากไว้ 5-7 วัน หลังจากนั้นก็คลุกเคล้าด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มากพรวนย่อยดิน ให้ละเอียด โดยเฉพาะ ผิวหน้าดินเพื่อป้องกัน มิให้เมล็ดซึ่งมีขนาดเล็กตกในดินลึกเกินไปเมื่อปลูกโดยใช้วิธีหว่าน
  2. แปลงปลูก ผักกาดขาวปลีสามารถปลูกได้ในดินทั่วไป แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือดินร่วนในดินเหนียวก็สามารถปลูกได้แต่ต้องทำให้ดินสามารถ ระบายน้ำได้ดี โดยการไถ หรือขุดดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตรและตากดินให้แห้ง ประมาณ 7-10 วัน จึงทำการย่อยพรวนให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอก ลงคลุกเคล้า ถ้าเป็นดินเปรียวหรือดินเค็ม ควรใส่ปูนขาวอัตราประมาณ 40 ก.ก./ ไร่
    ถ้าดินเป็นดินทรายควรใส่ปุ๋ยคอกให้มากขึ้น อัตราที่ใช้ประมาณ 2 ปี๊บ/1 ตารางเมตรหรือถ้าใช้ปุ๋ยขี้เป็ด, ไก่, หมู ก็ลดปริมาณการใส่ลงมาเหลือตารางเมตรละ 1 ปี๊บก็พอควรคลุกเคล้า ให้เข้ากัน

การปลูกผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage)
การปลูกผักกาดขาวปลีทำได้ 2 วิธี โดยจะเลือกใช้วิธีใดก็แล้วแต่ความสะดวก และความเหมาะสม ดังนี้

  1. ปลูกแบบหว่านโดยตรง โดยการหว่านเมล็ดพันธุ์ให้กระจายทั้งแปลง ซึ่งการปลูกวิธีนี้เหมาะสำหรับเมล็ดพันธุ์ที่มีราคา ไม่แพงและโดยเฉพาะในท้องที่ภาคกลางที่ยกแปลงกว้างมีร่องน้ำ การหว่านควรหว่านให้เมล็ด กระจายสม่ำเสมอ โดยทั่วไปจะผสมพวกทราย หรือเมล็ดผักที่เสื่อมคุณภาพแล้ว มีขนาดพอ ๆ กันลงไปด้วยเพื่อให้กระจายสม่ำเสมอดียิ่งขึ้น ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหว่านทับลงไปหนาประ มาณ 0.5-1.0 เซนติเมตรเพื่อช่วยรักษาความชื้น เสร็จแล้วคลุมฟางแห้งสะอาดอีกชั้นหนึ่ง ราด น้ำด้วยบัวละเอียดให้ทั่วแปลง หลังจากต้นกล้างอกและมีใบจริง 1-2 ใบ เริ่มถอนแยกเพื่อจัดระยะปลูกให้ได้ระยะระหว่าง ต้นและระหว่างแถวประมาณ 50×50 เซนติเมตร
  2. การปลูกแบบเป็นแถวหรือหยอดเป็นหลุม หยอดให้เมล็ดเป็นแถวบนแปลงปลูก โดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 50 เซนติเมตร ลึกประ มาณ 0.5-10.0 เซนติเมตร หรือทำเป็นหลุมตื้น ๆ หยอดเมล็ดลงประมาณ 3-5 เมล็ด กลบดินหนา 0.5 เซนติเมตร เมื่อต้นกล้าเริ่มมีใบจริง 2 ใบให้ทำการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น และถอนแยกครั้งสุดท้ายอายุไม่ควรเกิน 30 วัน

การเพาะและการย้ายกล้าผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage)
– ให้หว่านเมล็ดให้ทั่วพื้นแปลงแล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหนา 0.5-1.0 เซนติเมตร
– หรืออาจหยอดเมล็ดเป็นแถวห่างกันแถวละ 5-10 เซนติเมตร ลึก 0.5-1 เซนติเมตรลึก 0.5-1เซนติเมตร เมล็ดควรโรยให้ห่างกันพอสมควร แล้วกลบด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้ว แล้วรดน้ำให้ทั่วแปลงโดยใช้บัวละเอียด คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้ง หรือฟางสะอาด ๆ บาง ๆ ช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินและป้องกันการกระแทกของน้ำต่อต้นกล้าที่ยังเล็กอยู่ การย้ายกล้าควรย้ายตอนบ่าย ๆ ถึงเย็นหรือช่วงที่อากาศมืดครึ้มย้ายปลูกเมื่อมีอายุ 30-35 วัน

ดูแลผักกาดขาวปลี

การปฏิบัติดูแลรักษาผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage)

  1. การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดขาวปลีเป็นผักกินใบ ควรให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนเป็น 2:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 20-110-10 หรือสูตรใกล้เคียงนี้ในอัตราประมาณ 80-150 กก./ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นจำนวนครึ่งหนึ่งโดย ใส่ตอนปลูกครั้งที่สองใส่เมื่อผักกาดอายุ 20 วัน โดยโรยข้างต้น แล้วรดน้ำ สำหรับพวกพันธุ์ปลียาว และปลีกลมแน่น ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือแอมโมเนียไนเตรทในอัตรา 20-30 ก.ก./ไร่ เมื่อกล้าอายุได้ 30-40 วัน โดยการหว่านหรือโรยข้างต้นก็ได้ แล้วรดน้ำตาม ทันทีระวังอย่าให้ปุ๋ยค้างที่ใบ เพราะทำให้ใบไหม้
  2. การให้น้ำ ผักกาดขาวปลีต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตตลอดฤดูปลูก ดังนั้น ควรให้น้ำอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในระยะเข้าปลี
  3. การพรวนดินและกำจัดวัชพืช ควรปฏิบัติหลังการย้ายกล้า 2 สัปดาห์ พร้อมกับใส่ปุ๋ยและทำการพรวนประมาณ 2-3 ครั้ง

การเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage)
อายุการเก็บเกี่ยวผักกาดขาวปลีไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะพันธุ์
– พันธุ์ที่เข้าปลีไม่แน่น อายุที่เก็บเกี่ยวได้ประมาณ 40-50 วัน หลังจากหว่านเมล็ด โดยเลือกเก็บเกี่ยวต้นเริ่มแก่เต็มที่ได้ขนาด (ในท้องถิ่นทางภาคกลาง)
– พันธุ์ที่เข้าปลียาว หรือปลีกลมแน่น อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-80 วัน หลังจากหยอดเมล็ดที่เก็บเกี่ยวได้ โดยเก็บขณะปลี ห่อแน่นเต็มที่ก่อนที่ปลีจะเริ่มคลายตัวหลวมออก (ในท้องถิ่นภาคเหนือ) การตัดใช้มีดคมตัดที่โคนต้น ตัดแต่งใบที่เป็นโรคถูกแมลง ทำลาย ออกบ้างพอสมควร แต่ไม่มากนัก ควรเหลือใบนอก ๆ ไว้สัก 2-3 ใบ เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกในระ หว่างการขนส่ง

โรคของผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage)

โรคเน่าเละของกะหล่ำปลี

  1. โรคเน่าเละ (Soft rot) สาเหตุ เกิด จากเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการ เริ่มอาการของโรคเป็นจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยและเป็นน้ำภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่า ยุบตัวหมดทั้งต้นและหัว หรือฟุบแห้ง เป็นสีน้ำตาลอยู่ที่ผิวดิน อาการเน่าจะเกิดส่วนใดก่อนก็ได้ แต่โดยปกติจะเริ่มที่โคนกาบใบ หรือตรงกลางต้นก่อน สันนิษฐานว่าเชื้อราบางชนิดทำลายไว้ก่อน
    การป้องกันกำจัด

    1. ป้องกันมิให้เกิดแผลในระหว่างเก็บเกี่ยวขนส่ง และการเก็บรักษา
    2. ฉีดยาป้องกันแมลงและหนอน
    3. ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุโบรอนผสมด้วย โดยใช้ปุ๋ยบอแรกซ์ อัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
    4. อาจใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น พวกสเตร์ปโตมัยซิน อากริไมซิน ฉีดพ่นโรคเหี่ยว
  2. โรคเหี่ยวของผักกาดขาวปลี (Fusarium wilt to Chinese Cabbage) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Fusarium Oxysporum ลักษณะอาการ ผักจะมีใบล่างเหลือง และเริ่มสังเกตได้ง่าย คือ มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทำให้ใบเบี้ยว งอไปข้างที่ใบเหี่ยว ต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหี่ยวเพิ่มขึ้น และเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา หรือผักเจริญเติบโตแต่เพียงซีกเดียวก่อนแล้วเหี่ยวตาย เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลำต้น เพราะผุเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ในดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก
    การป้องกันกำจัด

    1. ก่อนปลูกผักควรมีการเตรียมดินให้ดี มีการใส่ปูนขาวแก้ไขดินเป็นกรดก่อนปลูก
    2. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากในระยะต้นกล้า
    3. ควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับพื้นที่ดังกล่าว
    4. ใช้ยาป้องกันกำจัดในโรคนี้มักได้ผลไม่คุ้มค่าโรคเน่าคอดิน
  3. โรคเน่าคอดิน (Damping off) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pythium SP. ลักษณะอาการ โรคนี้จะเกิดเฉพาะในแปลงกล้าเท่านั้น การหว่านที่แน่นทึบอับลมและต้นเบียดกันมากมักจะเกิดโรค ต้นกล้ามักจะเกิดอาการเป็นแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็วเมื่อถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหักพับ เพราะมีแผลซ้ำที่โคนต้นระดับดิน ต้นเหี่ยวแห้งตาย บริเวณที่เป็นโรคจะค่อย ๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลม
    การป้องกันกำจัด

    1. ไม่ควรหว่านเมล็ดผักแน่นเกินไป
    2. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายน้ำในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆ ราดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง เช่น เทอราคลอเบนฟอร์ด ซึ่งเป็นยาป้องกันกำจัดเชื้อราในดินโดยตรงจะมีผลยิ่งขึ้น หรือจะใช้ริคโดมิล เอ็มแซด72 ละลายน้ำรดก็ได้ผลดี หรือใช้ปูนใส่รดแทนน้ำในระยะที่เป็นต้นกล้าก็จะช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรง และไม่ต้องใช้ยาอีกเลยโรคใบด่าง
  4. โรคใบด่างของผักกาดขาวปลี สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Turnip mosaic Virus ลักษณะอาการ ต้นที่เป็นโรคแสดงอาการใบด่างเขียว สลับเขียวเหลือง แคระแกรนตามบริเวณเส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่ เมื่อเป็นโรครุนแรงขึ้น ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบ และมีลักษณะบิดงอเล็กน้อย
    การป้องกันกำจัด

    1. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค
    2. กำจัดต้นที่แสดงอาการของโรคในระยะแรก โดยการเผาทำลาย
    3. ป้องกันกำจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อนด้วยสารเคมี ไดเมทไทเอท ในอัตรา 30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตรโรคราน้ำค้าง
  5. โรคราน้ำค้าง สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Peroros Pora SP.) ลักษณะอาการ ด้านบนใบเป็นรอยด่างสีเหลืองซีด ต่อมาแสดงอาการไหม้ทับใต้ใบปรากฏเส้นใยสีขาวเจริญขึ้นมา อาการลุกลามจากใบรอบนอกเข้าสู่ใบด้านใน หากเป็นรุนแรงทำให้ใบไหม้
    การป้องกันกำจัด
    -เมื่อเริ่มพบอาการให้ใช้สารเคมี ไดเมทเอ็ม หรือ อาโคนิล ฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้เอพรอน 35 ฉีดพ่น 1 ครั้งโรคใบจุด
  6. โรคใบจุด สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Altennaria SP.) ลักษณะอาการ เป็นจุดค่อนข้างกลมสีน้ำตาล ลักษณะแผลเป็นวงซ้อนกัน
    การป้องกันกำจัด
    -ห้ามใช้สารเคมี เบนเลท ฉีดพ่น หากมีระบาดมากให้ใช้สารเคมรอฟรัล สลับกับแอนทราโคลตามฉลากข้างภาชนะบรรจุ

แมลงศัตรูที่สำคัญของผักกาดขาวปลี (Chinese Cabbage)

  1. หนอนใยผัก หนอนใยผักเป็นหนอนผีเสื้อที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหนอนผีเสื้อศัตรูผักจะมีลักษณะหัวท้ายแหลม เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง และทิ้งตัวลงดินโดยการสร้างใยมักจะพบตัวแก่ตามใบเกาะอยู่ในลักษณะหัวยกขึ้น หนอนใยเกิดจากที่แม่ผีเสื้อวางไข่ไว้ ไข่มีขนาดเล็กค่อนข้างแบน สีเหลืองวางติดกัน 2-5 ฟอง อายุฟักไข่ประมาณ 3 วัน อายุดักแด้เพียง 3-4 วัน ตัวแก่เป็นสีเหลืองเทา ส่วนหลังมีแถบสีเหลือง ตัวแก่อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ การทำลายจะกัดกินใบอ่อน หรือดอก กัดกินใบที่หุ้มอยู่ทำให้ใบเป็นรูพรุน หนอนใยมีความสามารถในการทนต่อยาและปรับตัวต้านทานยาได้
    การป้องกันกำจัด

    1. ใช้สารเคมีพวกยาฆ่าแมลงกำจัดตัวหนอนโดยตรง
    2. การใช้เชื้อแบคทีเรีย (Bacillus thuringiensis Barinay)
    3. หมั่นตรวจดูแปลง เมื่อพบตัวหนอนควรรีบทำลายทันที
  2. หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้ผักมักพบบ่อยในพวกผักกาด จะกัดกินใบ, ก้าน หรือเข้าทำลายในหัวปลี มักจะเข้าทำลายเป็นหย่อม ๆ ตามจุดที่ผีเสื้อวางไข่ หนอนชนิดนี้สังเกตได้ง่าย ลำตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบคล้ายหนอนกระทู้หอม สีสันต่าง ๆ กัน แถบสีขาวข้างลำตัวไม่ค่อยชัดนัก เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด 3-4 เซนติเมตร เคลื่อนไหวช้า ระยะตัวหนอนกินเวลาถึงอาทิตย์เข้าดักแด้ตามใต้ผิวดิน ระยะดักแด้ประมาณ 7-10 วัน การทำลายจะกัดกินก้านใบและปลี ในระยะเข้าปลี
    การป้องกันกำจัด

    1. หมั่นตรวจดูสวนผัก เมื่อพบไข่ควรทำลายเสียจะระงับการระบาดมิให้ลุกลามต่อไป
    2. สารเคมีที่อาจใช้ Methomyl อัตรา 10-12 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรืออาจใช้ Triazophos อัตรา 50-60 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร
  3. เพลี้ยอ่อน ตัวอ่อนของแมลงชนิดนี้ออกจากท้องแม่ได้โดยที่เพศเมียไม่ต้องผ่านการผสมพันธุ์ ตัวอ่อนที่ออกจากตัวแม่ ใหม่ ๆ พบว่ามีลำตัวขนาดเล็กมากต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ลำตัวสีเหลืองอ่อนนัยตาสีดำ ขาทั้ง 3 คู่ สีเช่นเดียวกับลำตัวการทำลายเพลี้ยอ่อนชนิดนี้ทำลายพืชทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยการดูดน้ำเลี้ยงจากพืชทั้งยอด ใบอ่อน ใบแก่ ช่อดอก ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัด คือ ยอดและใบจะหยิกงอ เมื่อเพลี้ยอ่อนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พืชก็จะเหี่ยว ใบผักจะถูกทำลาย จะค่อย ๆ มีสีเหลืองและร่วงหล่น ลำต้นจะแคระแกรน ถ้าทำลายช่อดอกจะทำให้ดอกร่วงหล่นหลุด ทำให้ผลผลิตลดลง
    การป้องกันกำจัด
    ควรใช้สารเคมีกลุ่มมาลาไธออน มีชื่อการค้า เช่น มาลาเทนฒ มาลาไธออน 83% ในอัตรา 30-55ซีซี./น้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน นอกจากนั้นอาจใช้ในอัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทำการพ่นเป็นครั้งคราว ยาชนิดนี้เป็นยาที่เหมาะสำหรับสวนผักหลังบ้าน ปลอดต่อมนุษย์
  4. หมัดกระโดด พบตลอดปี ฉีดพ่นเซฟวิน 85 หรือแลนเนท เมื่อย้ายปลูก มดทำลายช่วงก่อนกล้างอก สังเกตจากทางเดินมด ป้องกันโดยใช้ เซฟวิน 85 และคูมิฟอสรดแปลงกล้า

1 Comment

  1. lorismtlan

    Pa res je ni kej za rec ,…

Leave a Reply

Vegetweb *สงวนลิขสิทธิ์ หากนำบทความไปใช้บนเว็บไซต์ต้องเชื่อมโยงลิ้งก์กลับมายังหน้านั้น