ผักตระกูล ถั่ว

ถั่วลันเตา (Garden Pea)

ถั่วลันเตา (Garden Pea)

ถั่วลันเตา ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisum sativum จัดอยู่ในตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิด แถบประเทศ เอธิโอเปีย ต่อมา แพร่กระจายปลูก ในแถบ เมดิเตอร์เรเนียน และเอเชีย และเขตอบ อุ่นต่างๆ ของโลก ถั่วลันเตา เป็นพืชฤดูเดียว มีใบแบสลับ ปลายใบเปลี่ยน เป็นมือเกาะ การเจริญ เติบโตแบบพุ่ม หรือขึ้นค้าง บางสายพันธุ์ อาจมีเฉพาะ ใบบางพันธุ์ อาจมีเฉพาะ มือเกาะ ใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีเขียวเข้ม ลำต้นเล็ก เป็นเหลี่ยม รากเป็นระบบ รากแก้ว ดอกเป็นแบบ ดอกสมบูรณ์เพศ ผสมตัวเอง สามารถแบ่ง ประเภทของ ถั่วลันเตาเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท ฝักเหนียว และแข็ง เมล็ดโต นิยมปลูกเพื่อ รับประทานเมล็ด ส่วนอีกชนิดปลูก เพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมี ขนาดใหญ่ มีปีก เป็นต้น

สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

ดินที่เหมาะสม สำหรับการะปลูกถั่วลันเตา ควรมีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึก และควรมี pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5
อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 13-18’C หากอุณหภูมิต่ำกว่า 4’C หรือสูงกว่า 29’C จะทำให้การเจริญเติบโตชะงัก และในกรณีที่อุณหภูมิสูงกว่า 30’C ดอกและฝักร่วง ไม่ควรปลูกในสภาพอากาศเย็น มีน้ำค้างแข็ง โดยเฉพาะในระยะ ที่ดอกบาน และเริ่มติดฝัก และควรได้รับแสงตลอดทั้งวัน

การใช้ประโยชน์

ถั่วลันเตาเป็นถั่วฝักแบน สีเขียวอ่อน มีเมล็ดเล็กๆ เรียงอยู่ภายใน มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมาก เหมาะอย่างยิ่งต่อการบำรุงกระดูกฟัน เวลานำมาผัดจะมีรสหวานและกรอบ ควรผัดไฟแรงอย่างรวดเร็ว จะทำให้คุณค่าวิตามินยังคงอยู่ หรือนำไปลวกรับประทานได้อร่อยเช่นกัน นอกจากนี้เราสามารถนำส่วนของยอดต้นถั่วลันเตาพันธุ์รับประทานยอด ซึ่งมีลักษณะอวบและรสชาติหวาน นิยมนำมาผัดน้ำมันไฟแรงอย่างรวดเร็ว หรือต้มจืดกับหมูสับ

ต้นถั่วลันเตา

การปฎิบัติดูแลรักษาถั่วลันเตาในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน ขุดแปลงตากดินไว้ 2 สัปดาห์ ใส่ปูนขาวตามคำแนะนำจากการวิเคราะห์ดินอัตร 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ 10 วัน ก่อนปลูกคลุกปุ๋ย 0-4-0 อัตรา 40 กรัม/ตร.ม. กับ 12-24-12 อัตรา 25-30 กรัม/ตร.ม. ลงในดินแปลงกว้าง 1 ม.(แถวคู่)
การปลูก ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ตร.ม. รองพื้นก่อนปลูกและโรยตามร่องแถวปลูก พรวนดิน และหยอดเมล็ดโดยขีดร่องยาวตามแปลงลึก 5 ซม. หยอดเมล็ด 1 เมล็ด ห่างกัน 10-20 ซม. แถวห่าง 50 ซม. (ปลูกแถวคู่) กลบดินแล้วรดน้ำ ราดแปลงด้วยเซฟวิน 85 บนแปลงป้องกันมดกินหรือขนย้ายเมล็ด
ข้อควรระวัง
1. หยอดเมล็ดลึกจะทำให้เน่า
2. ควรคลุกเมล็ดด้วยไตรโคเดอร์ม่าหรือเอพรอน 35
การทำค้าง เมื่อปลูกได้ 10 วัน โดยปักไม้ค้างสูง 2 ม. ระยะห่าง 1 ม. ผูกเชือกช่วงบะ 20 ซม. ของค้าง
การให้น้า ให้น้ำทุก 2-3 วัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก หากขาดน้ำจะไม่ติดฝัก
การใส่ปุ๋ย
1. ถั่วลันเตาอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม.
2. ถั่วลันเตาอายุ 30 วัน ให้ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. กลบดินบางๆ แล้วรดน้ำตาม ควรกำจัดวัชพืชพร้อมการให้ปุ๋ย
การเก็บเกี่ยว เริ่มเก็บผลผลิตถั่วลันเตา เมื่อมีอายุได้ประมาณ 45-70 วัน เก็บ 3 วัน/ครั้ง เป็นเวลา 15-25 วัน (ถ้าดูแลรักษาดี) ปลิดให้มีขั้วติดฝักไม่ควรล้างน้ำ คัดฝักเสียทิ้งและผึงให้แห้ง 1 คืน ก่อนบรรจุลงในตระกล้าพลาสติก

โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของถั่วลันเตาในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะปลูกซ่อม 0-10 วัน โรคเหี่ยว, หนอนชอนใบ,
ระยะเริ่มติดดอก 25-30 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไป
ระยะฝักเจริญเติบโต 35-45 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไป
ระยะเก็บเกี่ยว 45-70 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไป

7 Comments

  1. แกนด์น่ารักกกกกกกกกกก

  2. ปาย

    555555555+++++

  3. ployjung

    ขอบคุณคะ

  4. G.สุดตีน 2010

    สวัดดีผมสนุกสุดตีนเลยครับ

  5. โอ็ต

    สนุกมากๆๆๆๆ

  6. เต้

    โอ๊ส

Leave a Reply

Vegetweb *สงวนลิขสิทธิ์ หากนำบทความไปใช้บนเว็บไซต์ต้องเชื่อมโยงลิ้งก์กลับมายังหน้านั้น