ผักโขม (Amaranth)

ผักโขมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ :  Amaranrhus licidus Linn.

ผักโขมมีชื่อเรียกตามภาคต่างๆดังนี้ : ภาคเหนือเรียกผักโหมเกลี้ยง, กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก กระเหม่อลอเดอ

ถิ่นกำเนิดของผักโขม : ผักโขมมีถิ่นกำเนิดจากหลายที่ เช่นประเทศแอฟริกาตะวันตก อเมริกา เม็กซิโก กรีซ และจีน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักโขม : ผักโขมเป็นพืชชนิดล้มลุกปีเดียว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยม ขอบใบเรียบออกแบบสลับลำต้นตรงสีเขียว แตกกิ่งก้านสาขามาก ดอกเป็นช่อสีม่วงปนเขียวออกตามซอกใบ ส่วนเมล็ด เป็นสีน้ำตาลเกือบดำ

ฤดูกาลที่เหมาะสมในการปลูกผักโขม : ใบอ่อนและยอดอ่อนออกในฤดูฝน

แหล่งปลูกของผักโขม : มักพบได้ทั่วไป ตามธรรมชาติ หรือขึ้น ตามสวน สวนผลไม้ หรือสวนผัก และตามป่าละเมาะ

การกินผักโขม : ยอดอ่อนและใบอ่อน ลวกหรือต้ม จิ้มกับน้ำพริก ทำเป็นแกงจืด หรือผัดกับกระเทียมได้

คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของผักโขม :

  1. ต้นแก้อาการแน่นหน้าอก และไอหอบ
  2. ส่วนใบสดใช้รักษาแผลพุพอง
  3. ราก ใช้แก้คัน ถอนพิษไข้
  4. ราก ช่วยดับร้อน ขับเสมหะ และขับปัสสาวะ
  5. ในผักโขมมีสารที่ชื่อว่า ซาโปนิน ซึ่งจะช่วยลดคอเรสเตอรอล
  6. ในผักโขมมีเบต้าแคโรทีนสูงช่วยป้องกันมะเร็งได้เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ
  7. ในผักโขมมีวิตามินเอสูง ช่วยเรื่องบำรุงสายตาได้ดี
  8. ช่วยเรื่องการขับถ่าย เพราะในผักโขมมีกากใยอยู่มาก ทำให้ขับถ่ายได้ดีลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ได้
  9. ช่วยบำรุงผิวและป้องกันเลือดออกตามไรฟันได้ เพราะนอกจากวิตามินเอแล้วในผักโขมยังมีวิตามินซีสูงด้วย
  10. ช่วยชลอความเสื่อมของเซลล์และบำรุงเลือด

คุณค่าทางอาหาร ผักโขม 100 กรัม

  1. ให้พลังงาน 43 kcal ประกอบด้วย
  2. คาร์โบไฮเดรต 7 g
  3. ไขมัน 8 g
  4. โปรตีน 2 g
  5. แคลเซียม 341 mg
  6. เหล็ก1 mg
  7. ฟอสฟอรัส 76 mg
  8. Vitamin B1 0.01mg
  9. วิตามินบี 2 0.37 mg
  10. ไนอะซิน 8 mg
  11. เบต้าแคโรทีน 76 ไมโครกรัม(µg)