ผักหมุย

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผักหมุย คือ Clausena cambidiana Guill

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักหมุย : เป็นพืชทรงพุ่ม และเป็นไม้พื้นบ้าน สูงประมาณ 3 เมตรดอกออกเป็นช่อใบเป็นใบคู่ มีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์ ชื่อหมุยช้าง, หมุยขม, หมุยหอม และผักหมุย

ที่ส่วนใหญ่นิยมกินคือ “หมุยหอม” โดยจะเก็บใบอ่อนและยอดอ่อนกินเป็นผักสด จิ้มกับน้ำพริกและเป็นผักเหนาะ กินกับขนมจีนน้ำยาและแกงเผ็ดต่างๆ

ผักหมุยพบได้ ทุกภาคของประเทศไทย
โดยผักหมุยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละภาคต่างๆ คือ ภาคตะวันออกเรียกกันว่า ลิ้นชี่สาบกาฉี้และสาบแร้ง ภาคเหนือเรียกกันว่า หมอน้อยสามโชก, หวดจี้ย้อย ภาคตะวันตกเรียกว่า “มุยขาว” ภาคใต้เรียกว่าหมุยช้าง, สมุย และชมุย ในภาคอีสานเรียกว่า สมัครดง, ดอกสมัคร, สะแบกเพิ้นฟานดง

สรรพคุณทางยาของผักหมุย คือ รากของหมุย ใช้แก้ไข้แก้พิษ ผิวต้นหมุยใช้รักษาบาดแผล แก้พิษงู