โรคเมล่อน และศัตรูของเมล่อน

ต้องบอกก่อนว่า การแก้ปัญหาโรคหรือแมลงที่มาทำลายเมล่อน หรือพืชผลตระกูลแตงนั้น

ถ้าหากใช้วิธีการพ่นด้วยสารเคมี ควรคำนึงถึงสภาพอากาศด้วย โดยช่วงที่เหมาะสมคือช่วงที่มีอากาศเย็น

ความรุนแรงของโรคและแมลง แล้วก่อนเก็บเกี่ยว 1-2 สัปดาห์ ไม่ควรพ่นด้วยสารเคมี

โดยโรคและ ศัตรูของเมล่อนนั้น มีดังต่อไปนี้

1. โรคเหี่ยวจากเชื้อรา (Fasarium Wilt)

เป็นโรคที่มีในพืชตระกูลแตง โดยเชื้อที่ว่านี้คือ Fusarium oxysporum f.sq. melonis

อาการของโรคคือ : ใบเหี่ยว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง จะเริ่มเหี่ยวจากส่วนยอดลงมาเรื่อยๆ เพราะเชื้อจะเข้าจากทางราก

อาการเริ่มแรก ต้นจะเริ่มแตกและเห็นเชื้อรา โคนและซอกใบเริ่มเน่า เมล่อนจะเริ่มตาย

วิธีกำจัด และป้องกัน

  • สำหรับต้นที่เป็นโรค ให้ทำการถอนและเผาทิ้ง และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำด้วยการใช้ ไตรโคเดอร์มาซึ่งเป็นสารจุลินทรีย์
  • 15วัน ก่อนปลูก และหลังปลูก ให้ใช้ เทอร์ลาคลอร์ ก่อน โดยราดที่โคน
  • เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินโดนการใส่ปุ๋ย
  • ปรับสภาพดิน โดยดินที่เหมาะกับเมล่อนจะอยู่ที่ pH 6-7
  • ลดความรุนแรง โดยใส่ ไนโตรเจน หรือปุ๋ยไนเตรท หรือใส่ทั้ง2

2. โรคราน้ำค้าง (Downy Mildew)

เป็นโรคที่มีในพืชตระกูลแตงในเขตร้อน โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุคือ Pseudoperonospora cubensis (Berkeley & Curtis) Roslowzew

อาการของโรคคือ : โดยตอนต้นจะพบจุดสีน้ำตาลหรือเหลือง จุดเล็กๆและค่อยๆขยายใหญ่ขึ้น ส่วนใหญ่จะพบที่ใบล่าง และในเช้ามืดใต้ใบจะเป็นเส้นใยเชื้อราสีออกขาวๆ ขอบใบจะม้วนและร่วง

วิธีกำจัด และป้องกัน

  • วิธีที่ง่ายสุดคือ เลือกพันธุ์ที่มีความทนต่อโรคนี้
  • พ่นด้วย ริดโดมิลโกลด์ เอ็มแซด , เทอรานิล หรือ เอคโค ให้เร็วที่สุดเมื่อเกิดโรคแล้ว
  • หากอาการรุนแรง ให้ผสมใช้น้ำ 20ลิตรกับลอนมิเนต 1-2ช้อน และพ่นทุกๆ 7วัน ประมาณ 3ครั้ง  หรือ ผสม น้ำ 20ลิตร และแทนเอ็ม 15กรัม และโนมิลดิว(No Mildew) 25กรัม

3. โรคราแป้ง (Powdery Mildew)

เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคราแป้งในเมล่อนคือ Erysiphe cichoracearum De candolle Sphaerotheca fuliginea

อาการของโรคคือ : เริ่มแรกจะเริ่มเป็นจุดเหลือง ที่ยอดอ่อน ลำต้น ในขั้นถัดไป จะเริ่มใหญ่ขึ้น และจะเห็นมีสปอร์ขาวๆคล้ายแป้ง

ต่อมา ใบจะเริ่มแห้งและตายในที่สุด

วิธีกำจัด และป้องกัน

  • วิธีที่ง่ายสุดคือ เลือกพันธุ์ที่มีความทนต่อโรคนี้
  • พ่นเบเลตัน ,ทอปซิน ตามที่ฉลากกำหนด
  • พ่นด้วยส่วนผสม น้ำ20ลิตร/กำมะถัน 40กรัม พ่นในตอนอุณหภูมิไม่สูง ไม่อย่างนั้นใบจะไหม้ได้
  • พ่นด้วยส่วนผสม น้ำ20ลิตร/บาวีซาน 20กรัม

4. โรคยางไหลหรือต้นแตก (Gummy Stem Blight)

เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคยางไหลหรือต้นแตกคือ Mycosphaerella melonis

อาการของโรคคือ : ตอนแรกจะเริ่มที่ขอบของใบและค่อยๆขยายเข้าส่วนกลางใบ

โดยจะมีลักษณะกลม สีดำหรือน้ำตาล และจะเริ่มร่วง หือใบขาด ถ้าเป็นที่ลำต้น ตัวลำต้นจะสร้างเมือกเหนียวสีน้ำตาลอมแดง

วิธีกำจัด และป้องกัน

  • วิธีที่ง่ายสุดคือ เลือกพันธุ์ที่มีความทนต่อโรคนี้
  • พยายามอย่าปลูกแต่พืชซ้ำๆ ควรปลูกพืชหมุนเวียน
  • พ่นด้วย เอคโค หรือ เทอราคลอร์

แมลงที่เป็นศัตรูต่อการปลูกเมล่อน

Aulacopphola semilis Oliver

1.เต่าแตงแดง (Aulacopphola semilis Oliver)

โดยจะมีเต่าแตงอยู่2ชนิดและ2สี คือ เต่าแตงแดง(Aulacopphola semilis Oliver) และเต่าแตงดำ (Aulacopphola frontalis Baly)

ถือว่าเป็นศัตรูของพืชผลจำพวกแตง โดยเฉพาะแตงกวา โดยลักษณะของ เต่าแตงนั้น จะเป็นแมลงปีกแข็ง เคลื่อนไหวช้า ตัวเล็กประมาณ 8มิล

โอยส่วนใหญ่จะชอบแทะใบก่อน ทำให้เสียหาย และอาจเป็นพาหะของไวรัสได้

การกำจัดและป้องกัน

  • พ่นด้วยส่วนผสม น้ำ 20ลิตร/ น๊อคทริน 35 20cc.

แมลงวันทอง

2. แมลงวันทอง (Melon Flies)

โดยแมลงวันทอง มักจะทำอันตรายกับผลเมล่อนโดยตรง โดยการเจาะเข้าไปในผลพร้อมกับวางไข่

โดยผลจะแก่ก่อนที่ควรจะเป็น ถ้ารุนแรงมากผลจะเน่า

การกำจัดและป้องกัน

  • ผสม มาลาไทออน และ ยูจินอล 2 : 1 แล้วฉีดเป็นจุด โดยห่างกันจุดละ 1เมตร
  • ห่อผลด้วยกระดาษ หลังจากผสมเกสรดอกแล้ว

3. แมลงหวี่ขาว

โดยแมลงหวี่ขาวนี้ เป็นตัวพาหะของไวรัสในแตง โดยจะสามารถสังเกตได้ตรงบริเวณใต้ใบอ่อนของแตง

การกำจัดและป้องกัน

  • พ่นส่วนผสม น้ำ 1ลิตร/ เมธาโดฟอส 30กรัม

เพลี้ยไฟ

4. เพลี้ยไฟ (Haplothrips floricola Priesner)

เพลี้ยไฟ จัดว่าเป็นศัตรูกับพืชตระกูลแตง เพราะเพลี้ยไฟจะทำการดูดน้ำเลี้ยง โดยการทำให้ผลเป็นรอยก่อนดูด

การดูดน้ำเลี้ยงของเพลี้ยไฟ จะทำให้ผลออกมาแคระ ต้นอ่อนแอ หรืออาจจะแห้งตายได้เลย

โดยเพลี้ยไฟนั้น แพร่กระจายได้ง่ายมาก โดยการลมพัดไปเกาะ จึงทำให้รวดเร็วและกระจายเป็นวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว

การกำจัดและป้องกัน

  • ใช้สารเคมีผสม น้ำ 20ลิตร/ดี.ซี.พลัส 50 cc.  หรือ เมซูโรล ไปพร้อมกับการให้น้ำ

เพียงเท่านี้ พืชผลของเรา ก็จะปราศจากโรคและแมลงมาก่อกวน และทำให้ผลผลิตออกมาในความน่าพอใจเป็นอย่างมากครับ

ขอให้ทุกท่าน ที่ทำการปลูกเมล่อนได้ผลผลิตโดยไม่มีโรคและแมลงมายุ่งครับ