ผักตระกูล แครอท

เบบี้แครอท (Baby Carrot)

เบบี้แครอท (Baby Carrot) เบบี้แครอท (Baby Carrot) ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Daucas carota ลักษณะทั่วไปของ เบบี้แครอท เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Apiaceae(Umbelliferae) มีรูปทรงยาวรี โคนใหญ่ ปลายเรียวแหลม หัวมีสีส้ม เนื้อแข็งกรอบ ใช้ส่วนรากที่เติบโตเป็นหัวในการบริโภค ปลูกในพื้นที่ขนาดเล็กได้ ให้ผลตอบแทนสูง ใช้เวลาในการปลูกสั้น ต้องการการเอาใจใส่มาก

เบบี้แครอท (Baby Carrot) เจริญเติบโตได้ดีในเขตหนาว อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 25-28 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่า 26 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตทางใบจะลดลง สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหัว เบบี้แครอท จะอยู่ระหว่าง 18-21 องศาเซลเซียส หากมีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผิวดิน กับระดับดินที่ลึกลงไป 10-15 เซนติเมตร มาก จะทำให้รูปทรงของหัวไม่สม่ำเสมอ เบบี้แครอท เป็นพืชที่ต้องการแสงมาก โดยเฉลี่ยประมาณ 9-14 ชั่วโมง/วัน

เบบี้แครอท (Baby Carrot) เจริญได้ดีในดินละเอียด และร่วนซุย หน้าดินลึก มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำได้ดี ความเป็นกรด-ด่าง ของดิน 6.5-7.5 การปลูกในดินเหนียว หรือโครงสร้างดินแข็งจะทำให้หัวแตก มีรูปทรงผิดปกติ หากแปลงปลูกมีความชื้นสูง หัวจะมีแผลสีดำเน่า

เบบี้แครอท (Baby Carrot) เป็นพืชที่มีสาร Beta carotene มาก โดยเฉพาะบริเวณส่วนของเปลือกแก่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนวิตามินเอได้สูง(11,000 IU) นอกจากนี้ยังมีวิตามิน บี 1 บี 2 และวิตามินบี วิตามินเอ ช่วยทำให้ร่างกายมีภูมิต่อต้านโรคหวัด ป้องกันโรคมะเร็งป้องกันอาการผิดปกติในกระดูก โรคผิวหนังและรักษาสายตา

เบบี้แครอท (Baby Carrot) นิยมนำมารับประทานสด ในสลัด หรือนำมาประกอบอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ผัด ต้มซุป แกงจืด ช่วยเพิ่มสีสรรในจานอาหาร

การปลูก และดูแลรักษา เบบี้แครอท (Baby Carrot)

การเตรียมดิน ขุดดินตากแดดนาน 14 วัน ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร คลุกปูนขาวอัตรา 0-50 กรัม/ตร.ม. และปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. ลงในดิน ปรับหน้าแปลงให้เรียบ ขีดร่องหยอดเมล็ดลึก 1 เซนติเมตร กลบเมล็ดและรดน้ำ

การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวันในระยะต้นอ่อน แล้วลดเหลือ 2-3 วัน/ครั้ง

การถอนแยกและให้ปุ๋ย หลังจากเมล็ดงอก มีใบจริง 2-5 ใบ หรือประมาณ 15-20 วันหลังจากปลูก ให้ถอนแยกต้น ให้มีระยะห่างระหว่างต้น 3 เซนติเมตร หลักจากนั้น ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. พร้อมกำจัดวัชพืช หลังจากการใส่ปุ๋ยครั้งแรก 15-20 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. โรยในร่องลึก 2-3 เซนติเมตร

การเก็บเกี่ยว ทยอยเก็บเมื่ออายุได้ 6-90 วัน โดยการขุดต้นที่ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ ตัดแต่งให้เหลือก้านใบยาว 3 เซนติเมตร ล้างหัวให้สะอาด และผึ่งให้แห้งก่อนบรรจุส่ง

* ข้อควรระวัง

  • การหยอดเมล็ดอย่าให้เมล็ดติดกัน ระยะห่างประมาณ 1 เซนติเมตร
  • ควรให้น้ำสม่ำเสมออย่าให้แฉะเกินไป
  • ควรเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษในการเตรียมแปลงปลูก และตอนถอนแยก

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตต่างๆ ของ เบบี้แครอท (Baby Carrot)

ระยะหยอดเมล็ด-ถอนแยก 15-20 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม

ระยะตั้งตัว 21-28 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน

ระยะลงหัว 28-60 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, โรคหัวเน่า, เสี้ยนดิน

ระยะโตเต็มที่ 60-90 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, โรคหัวเน่า, เสี้ยนดิน

10 Comments

  1. physiotherapist

    This is such a great resource that you are providing and you give it away for free. I enjoy seeing websites that understand the value of providing a prime resource for free. I truly loved reading your post. Thanks!

  2. buy ativan online

    I just added your website on my blogroll. Really enjoyed reading through. Excellent information!

  3. keflex

    Great article with very interesting information. You are a very skilled blogger, thats for sure! =)

  4. buy plan b

    I’m really loving the contents of your blog. Hopefully you keep posting regularly. Thanks.

  5. buy plan-b

    I’m really loving the contents of your blog. Hopefully you keep posting regularly. Thanks.

  6. order topamax online

    “This article actually answered my problem, thanks a lot!”

  7. buy paxil

    Thank you for such interesting blog! I found it very useful =)

  8. buy seroquel online

    Thanks for tris interesting information! I found it very useful =)

  9. trazodone

    Thanks for tris interesting article! I found it very interesting. You really make it seem so easy with your presentation.

  10. buy flexeril online

    Thank you for this information! I used it for my diploma thesis =)

Leave a Reply

Vegetweb *สงวนลิขสิทธิ์ หากนำบทความไปใช้บนเว็บไซต์ต้องเชื่อมโยงลิ้งก์กลับมายังหน้านั้น