ฟักเขียว (Wax Gourd)

ฟักเขียว ภาษาอังกฤษ คือ Wax Gourd

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของฟักเขียว คือ Benincasa hispida (Thunb.) Cogn

มีชื่อเรียกได้ตามภาคต่างๆดังนี้ ภาคเหนือ เรียกว่า บ่าฟักหม่น ภาคอีสานเรียกว่าบักฟัก และภาคใต้ เรียกว่า ขี้พร้า

ถิ่นกำเนิดของฟักเขียว : ฟักเขียวมาจากทางแถบทวีปเอเชีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของฟักเขียว : ชาเขียวเป็นพืชไม้ล้มลุก ตระกูลแตง ใบสีเขียวขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นเถาเลื้อยบนค้าง มีหนวดเป็นมือจับไปตามค้าง ก้านใบมีขน สั้นๆ พอสากมือ ผมอยู่โดยรอบ ผลทรงกระบอก เนื้อในเป็นสีขาวแน่นและชุ่มน้ำ ดอกสีขาวมี 5 กลีบ ผิวสีเขียว มี สีขาว นวล เคลือบ ภายในมีเมล็ด สีขาวจำนวนมาก

ฤดูกาลของฟักเขียว : มีผลผลิต ตลอดทั้งปี

แหล่งปลูกของฟักเขียว : ฟักเขียว สามารถปลูกได้ ทุกภาคของประเทศไทย

การกินของฟักเขียว : ฟักเขียว สามารถทำอาหาร ได้หลายชนิด เช่นแกงจืดแกงเผ็ดแกงคั่วแกงส้ม แกงเลียง ผัด ตุ๋น หรือแม้กระทั่งนำมาต้ม จิ้มกับน้ำพริกก็ได้ และยังสามารถ ทำเป็นขนมหวานได้อีก เช่น ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมเปี๊ยะไส้ รักและ ฟักเชื่อม เป็นต้น

คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของฟักเขียว :

  1. ฟักเขียว สามารถกินแก้ร้อนใน
  2. แก้พิษแมงกะพรุน และ
  3. ขับปัสสาวะ หรือ
  4. กินถอนพิษ ที่เกิดจากเนื้อสัตว์และแอลกอฮอล์
  5. โดยเฉพาะเนื้อฟักแห้ง ยังนำมาบด กินแก้กระหายร้อนใน หรือ
  6. แก้บวมน้ำได้ (เนื้อฟักแห้ง)
  7. ส่วนเมล็ด ใช้แก้ไอแก้ไข้เป็นต้น

คุณค่าทางอาหารของฟักเขียว 100 กรัม

  1. ให้พลังงาน 11 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
  2. คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม (g)
  3. เส้นใย 1.7 กรัม (g)
  4. แคลเซียม 8 มิลลิกรัม (mg)
  5. โปรตีน 0.4 กรัม (g)
  6. วิตามินบี 1 0.01 มิลลิกรัม (mg)
  7. วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม (mg)
  8. เหล็ก 0.3 กรัม (g)
  9. วิตามินซี 26 มิลลิกรัม (mg)
  10. ฟอสฟอรัส 1 มิลลิกรัม (mg)
  11. ไนอะซิน 0.3 มิลลิกรัม (mg)