ผักตระกูล ผักกาดหอม

ผักกาดหอมใบแดง,สลัดใบแดง (Red Leaf Lettuce)

ผักกาดหอมใบแดง สลัดใบแดง Red Leaf Lettuce

ผักกาดหอมใบแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Lactuca sativa หรือสลัดใบแดง เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นกอ จัดเป็นผักกาดหอม พันธุ์ใบไม่ห่อหัวชนิดหนึ่ง ใบและขอบใบหยัก มีสีเขียวปนแดง การปลูกดูแลรักษาคล้ายกับผักกาดหอมห่อ พืชชนิดนี้ควรปลูกเฉพาะ ในฤดูหนาว และฤดูฝน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ผักกาดหอมใบแดง หรือผักสลัดใบแดงเป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-24’C ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญเติบโตทางใบจะลดลง และพืชจะสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูง เหนียว และมีรสขม
ดินที่เหมาะสมต่อการปลูก ควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีิอินทรีย์วัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 6-6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รัีบแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหอมใบแดงมีลักษณะบาง ไม่ทนต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควรปลูกใต้โรงเรือน

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

ผักกาดหอมใบแดง หรือสลัดใบแดง เป็นพืชที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด หรือกินกับยำ นำมาตกแต่งในจานอาหาร แต่สามารถประกอบอาหารได้ในบางชนิด ผักกาดหอมใบแดง มีน้ำเป็นองค์ประกอบ และมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังให้ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

การปฏิบัติดูแลรักษาผักกาดหอมใบแดง หรือสลัดใบแดง ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด และโรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้่ 14 วัน ให้วัชพืชแห้งตาย ขึ้นแปลงกว้าง 1 ม. ใส่ปุ๋ย 12-24-12 และ 15-0-0 อัตรา 50 กก./ไร่ สัดส่่วน 1:1 (รองพื้น) ปุ๋ยคอกอัตรา 2-4 ตัน/ไร่
การเตรียมกล้า เพาะกล้าในถาดหลุมแบบประณีต ดินเพาะควรมีระบบน้ำดี อายุกล้าประมาณ 3-4 อาทิตย์
การปลูก ระยะปลูก 30×30 ซม. 3 แถว ในฤดูร้อน และ 40×40 ซม. 3 แถว ในฤดูฝน (เพื่อป้องกันการระบาดของโรค)
ข้อควรระวัง

  1. อย่าปลูกในหลุมใหญ่หรือลึก เพราะน้ำอาจขังหากการระบายน้ำไม่ดี อาจทำใ้ห้เน่าเสียหาย
  2. อย่าเหยียบหลังแปลงเพาะ จะทำให้ดินแน่น พืชเติบโตได้ไม่ดี
  3. ต้นกล้าควรแข็งแรง อายุไม่เกิน 30 วัน เมื่อย้ายปลูก
  4. ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ตามคำแนะนำ
  5. ก่อนใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ ต้องวัย pH ก่อน ในช่องเตรียมดิน
  6. หลังย้ายกล้าในฤดูฝนให้ระวังหนอนกระทู้ดำและจิ้งหรีดปลูกผักกาดหอมใบแดง สลัดใบแดง

การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเีพียงพอ ต่อการเจริญเติบโต การให้ไม่ควรมากเกินไป อาจทำให้เกิด โรคโคนเน่า
การให้ปุ๋ย หลังปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 หรือผสม 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ อย่างละครึ่ง พร้อมกำจัดวัชพืช หลังปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 พร้อมกำจัดวัชพืช ขุดร่องลึก 2 -3 ซม. รัศมีจากต้น 10 ซม. โรยปุ๋็ย 1/2 ช้อนโต๊ะ กลบดินแล้วรดน้ำ
ข้อควรระวัง

  1. ควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้(Tipburn) บางพื้นที่มีปัญหาขาดธาตุรอง
  2. การพรวนดิน ระวังอย่ากระทบกระเทือนราก หรือต้นเพราะจะมีผล ต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์
  3. ควรเตรียมแปลงปลูกโดยใ่ส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักปริมาณที่มาก
  4. ไม่ควรปลูกซ้ำที่

การเก็บเกี่ยว เมื่อผักกาดหอมใบแดง หรือสลัดใบแดง มีอายุ ได้ประมาณ 30-60 วัน หลังย้ายปลูก ใช้มีดตัดและเหลือใบนอก 3 ใบเพื่อป้องกันความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนเปียกควรเก็บเกี่ยวตอนบ่าย หรือค่ำแล้วผึ่งลมในที่ร่ม และคัดเกรดป้ายปูนแดงที่รอยตัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัวอย่าล้างผัก บรรจุลงลังพลาสติด
ข้อควรระวัง

  1. ในฤดูฝนเก็บเกี่ยว เมื่ออายุ 30-35 วัน หลังย้่ายปลูก ก่อนที่ผักกาดหอมใบแดงจะขึ้นต้นแทงช่อดอก
  2. เก็บซากต้นนำไปเผา หรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการระบาด และสะสมโรคในแปลงปลูก

โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของผักกาดหอมใบแดง หรือสลัดใบแดง ในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะหยอดเมล็ด 0-25 วัน หนอนกระทู้ดำ, หนอนชอนใบ, โรครากปม,
ระยะการเจริญเติบโต 20-30 วัน หนอนกระทู้ดำ, หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ, โรครากปม, ปลายใบไหม้,
ระยะห่อหัว 30-35 วัน หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ, โรครากปม, ปลายใบไหม้,
ระยะเก็บเกี่ยว 35-36 วัน หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ, โรครากปม, ปลายใบไหม้,
ที่มา:

– คู่มือการปลูกผักบนพื้นที่สูง

6 Comments

  1. yams

    เมื่อวันก่อนเพิ่งไปตักสลัดบาร์ที่โลตัสมาหม่ำ เราชอบผักอันนี้นะ ยิ่งสดๆ นะ อร่อยดี ^_^

  2. love

    ได้ความรู้ดีจังค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ
    ถ้าอยากได้ข้อมูลทั้งหมดโดยไม่ต้องลิงค์ทีละหน้าต้องทำงัยคะ

  3. pleng palee

    เนื้อหาน้อไปหน่อยนะครับ รูปภาพเพิ่มเติมิกมากๆ

  4. แม่โจ้ 68

    หวัดดี….นายต้อม
    จำเราได้ป่าว สบายดีไหม??
    web ของนายมีประโยชน์มั่ก มั่ก เลยอ่ะ
    ทำต่อไปนะ เอาใจช่วย

  5. steveler

    ผมก็ชอบกินผัก แบบไฮโดรฯด้วย

  6. steveler

    ทำฟาร์มที่เชียงใหม่

Leave a Reply

Vegetweb *สงวนลิขสิทธิ์ หากนำบทความไปใช้บนเว็บไซต์ต้องเชื่อมโยงลิ้งก์กลับมายังหน้านั้น