เผือก (Taro)
เผื่อ ภาษาอังกฤษ : Taro
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของเผือกมีดังนี้ : Colocasia esculenta Schott.
เผือกมีชื่อเรียกได้หลายอย่างดังนี้ : บอนเขียว บอนน้ำ บอน หรือตุน ถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเผือก : เผือกเป็นพืชล้มลุกมีอายุหลายปี หัวและเหง้าอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหาร ลำต้นสั้น และใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่รูปหัวใจ ก้านใบยาว ตั้งชูเหนือพื้นดิน สีเขียวแกมม่วง ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านช่อดอกสั้นกว่าก้านใบ รากที่แตกแขนงออกไป ประกอบด้วยหัวเล็กๆหลายหัว เรียกว่าลูกเผือก ดอกออกเป็นช่อ โดยมีลักษณะเป็นแท่ง ด้านล่าง เป็นดอกตัวเมียส่วน ด้านบนเป็นดอกตัวผู้ หัวเผือกแก่เปลือกสีน้ำตาลดำ ถ้าหัว เผือก อ่อน แต่ถ้าเผือกดิบ จะมีเนื้อกรอบ โดยมีกาบหุ้มดอกสีเหลืองอมเขียวจนถึงส้ม เมื่อนำไปปรุงสุก เนื้อในจะมีสีขาวครีมอมม่วง โดย จะมีเนื้อร่วน รสชาติออกหวานนิดๆ เมล็ดมีน้อย เผือกจะมีหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่นเผือกตาแดง และเผือกหอมเป็นต้น
ฤดูกาลของเผือก : เผือกให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี
แหล่งปลูกของเผือก : เผือกปลูกได้ทั่วไป ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย
การกินเผือก : ก้านใบ ใบอ่อนและหัว สามารถนำมากินได้ ต่อเมื่อได้ปรุงสุกแล้ว เพราะเผือกดิบจะมีสารแคลเซียม ออกซาเลต ซึ่งถ้ากินเข้าไปแล้ว จะทำให้เกิดอาการคันในลำคอ สารชนิดนี้ จะถูกทำลายไป ได้โดยใช้ความร้อน คน นิยมนำเปลือกมาทำเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่นทำเป็นขนมหวาน คือ เผือกฉาบ เผือกทอด เผือกน้ำกะทิตะโก้เผือก ลูกชุบเผือก เผือกแกงบวด หรือทำเป็นข้าวอบเผือกและนำมาต้มกินคู่กับสลัดก็ได้
สรรพคุณทางยาของเผือก :
- ลำต้นนำมาตำพอกแผล
- ต้นใช้เป็นยาขับพยาธิ
- หัวนำมาใช้เป็นยา ยาระบายหรือ ยาขับปัสสาวะ และ
- ยังช่วยขับน้ำนมในผู้หญิงที่พึ่งคลอดลูก
- ส่วนน้ำในก้านใบ สามารถนำมาคั้นใช้ห้ามเลือดได้
คุณค่าทางอาหารเผือก 100 กรัม
- ให้พลังงาน 117 กิโลแคลอรี่ (Kcal) ประกอบด้วย
- คาร์โบไฮเดรต 8 กรัม (g)
- โปรตีน 1 กรัม (g)
- แคลเซียม 84 มิลลิกรัม (mg)
- ไขมัน 1 กรัม (g)
- ไทอะมีน 15 มิลลิกรัม (mg)
- ฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม (mg)
- ไรโบฟลาวิน 04 มิลลิกรัม (mg)
- น้ำ 73 กรัม (g)
- vitamin C 2 มิลลิกรัม (mg)
- ไนอาซิน 0 มิลลิกรัม (mg)