อบเชย (Cinnamon)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของอบเชย : Cinnamomum spp

อบเชยมีชื่อเรียกตามภาค: ภาคกลางมีชื่อเรียกว่า อบเชยต้น หรือมหาปราบ เรียกตามจังหวัดต่างๆ ดังนี้ ลำปาง เรียกว่า บอกคอก พิษณุโลกเรียกว่า ฝักดาบสุโขทัยเรียกว่า สุรมิส กาญจนบุรี เรียกว่า กระดังงา นครราชสีมาเรียกว่าพญาปราบยะลาเรียกว่า เจียดกระทัง หัน หรือกระเจียด ปราจีนบุรีเรียกว่าสะวง ชลบุรีเรียกว่า โมงหอมหรือกระแจะโมง ถิ่นกำเนิด อบเชยเป็นพืชไม้พื้นเมือง ของประเทศศรีลังกา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของอบเชย : อบเชย มี 2 แบบคือแบบ ซินนามอน หรืออบเชยเทศ เป็นพืชไม้ขนาดกลาง ลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งก้านแตกแขนงมาก อบเชยเป็นเนื้อไม้ ด้านในของต้น ที่ไม่ติดเปลือก ด้านนอก มีสีน้ำตาลเนียน เนื้อบางเปราะง่าย กลิ่นหอมรสหวาน และเผ็ด มีน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ แบบที่ 2 แบบแคสเซีย หรืออบเชยจีน เป็นเนื้อไม้ ด้านใน ถึงชั้นนอก กาบขนาดใหญ่ สีของเนื้อด้านในสีน้ำตาล ส่วนด้านนอกสีน้ำตาลปนเทา แผ่นจะแข็งกว่า อบเชยเทศ และกลิ่นหอมน้อยกว่า แต่ให้รสหวานและเผ็ดซ่ามากกว่า มีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 1 ถึง 8 เปอร์เซ็นต์ อบเชยแคสเซีย ยังมีสายพันธุ์ย่อยย่อย อีกดังนี้ 1.อบเชยชวา  2.อบเชยอินโดนีเซีย 3.อบเชยไทย 4.อบเชยเวียดนาม

แหล่งปลูกของอบเชย : ขึ้นเองตามธรรมชาติในป่าดงดิบ พบมากที่จังหวัดกาญจนบุรีและพิษณุโลก แต่อบเชย ที่ดีที่สุด ในโลกมีแหล่งปลูกอยู่ที่ประเทศศรีลังกา

การกินอบเชย : เปลือกใบ และกิ่งก้านของอบเชย มีทั้งแบบ ป่นเป็นผงและแบบแท่ง มีกลิ่นหอมและให้รสหวานอมเผ็ดปลายลิ้น โดยนำมาแต่งเป็นกลิ่นอาหาร เช่นข้าวหมกไก่ เบคอนไส้กรอกและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ หรือ แต่งกลิ่นขนมหวาน ก็ได้เช่น ขนมเค้กคุกกี้ แยม เยลลี่ลูกกวาด เครื่องดื่ม หรือใช้เป็นส่วนผสม ในเครื่องพะโล้ แกงมัสมั่น เนื้อตุ๋น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ เนื้อเปื่อย หรือผงกะหรี่ก็ได้และเป็นส่วนผสมในอาหาร ประเภทซอส ผักดอง หรือใช้แต่งกลิ่นยาเป็นต้น

คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของอบเชย :

  1. อบเชย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ให้ความสดชื่น หรือ
  2. ช่วยขับเหงื่อ
  3. น้ำมันอบเชยเทศ ใช้เป็นส่วนผสม ทำยาขับลม แก้อาการ ท้องเฟ้อ ท้องอืด ฆ่าเชื้อรา หรือเชื้อจุลินทรีย์ เป็นต้น และ
  4. ใช้เป็นส่วนผสมในยา ที่ใช้ ลดอาการปวด ตามข้อ หรือ ข้ออักเสบ
  5. ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง แก้จุกเสียดได้
  6. ใบและราก นำมาต้มให้หญิงที่คลอดลูกใหม่ๆ กินและรักษา อาการไข้และอาการอักเสบได้
  7. นำอบเชยตรงส่วนเปลือกของต้นมาปรุงเพื่อใช้เป็นยาดมเพื่อแก้อาการวิงเวียนศรีษะได้
  8. โดยส่วนใบเชยนั้นมีสรรพคุณเป็นยาฆ่าเชื้อได้
  9. ถอนพิษของยางน่องได้โดยการใช้ยางจากใบของต้นอบเชย
  10. โดยเปลือกของอบเชยช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรีได้อีกด้วย

คุณค่าทางอาหารของอบเชย 100 กรัม :

  1. ให้พลังงาน 329 kcal ประกอบไปด้วย
  2. ไขมัน 1.1 g
  3. โปรตีน 3.3 g
  4. แคลเซียม 17 mg
  5. คาร์โบไฮเดรต 76.6 g
  6. โพแทสเซียม 46 mg
  7. ไทอะมิน1.69mg
  8. เหล็ก 22.2 mg