9ผักกาดแก้ว (Iceberg Lettuce)

ผักกาดแก้วมืชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์คือ : Lactuca sativavar var. capitata

ผักกาดแก้วมีชื่อเรียกได้หลายชื่อดังนี้ : คือ ผักสลัด ผักสลัดแก้ว ผักกาดหอม

โดยผักกาดแก้วมีถิ่นกำเนิดมาจาก : ทวีปยุโรป และ ทวีป เอเชีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักกาดแก้ว : โดยผักกาดแก้วเป็นพืชชนิดล้มลุก ใบสีเขียวอ่อน ลำต้นเป็นกอ ขอบใบ หยักและบางกรอบ ม้วนห่อเป็นหัว แบบหลวมๆ ทางทวีปยุโรป เรียกว่า lceberg ก็เนื่องมาจาก ที่กรุบกรอบ เหมือนอย่างก้อนน้ำแข็ง ไอซ์เบิร์กนั่นเอง

ฤดูกาลที่เหมาะสมของผักกาดแก้ว : ส่วนมากจะมีในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม

โดยแหล่งปลูกของผักกาดแก้ว : จะปลูกได้ดี ในพื้นที่อากาศเย็น เช่น ทางภาคเหนือของประเทศไทย เช่นโครงการเกษตรพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้ส่งเสริมให้ชาวเขา ปลูกผักกาดแก้ว โดยใช้ตราสัญลักษณ์ ดอยคำ เป็นเครื่องหมายการค้า และมีการปลูก ตามดอยต่างๆ

การกินผักกาดแก้ว : นิยมกินเป็นผักสด แกล้มกับ ยำ ลาบ หรือสาคูไส้หมู เป็นต้น หรือนำมา ใส่ ใน แฮมเบอร์เกอร์ และ แซนวิช หรือ ผักกาดแก้วนำมาผัดไฟแดงได้ แต่ส่วนใหญ่ คนจะนำผักกาดแก้ว มาใช้ในการทำสลัดมากที่สุด จึงได้ชื่อว่า”ราชาแห่งสลัด” และใช้เป็นผักตกแต่ง หัวจานอาหาร ส่วน เมล็ด นำมาทำเป็นน้ำมัน ผสมน้ำสลัดได้

คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของผักกาดแก้ว :

  1. น้ำผักกาดแก้ว ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น
  2. น้ำผักกาดแก้ว ยังเป็นยากล่อมประสาท หรือยานอนหลับ และ
  3. น้ำผักกาดแก้ว แก้เมาเรือ
  4. น้ำผักกาดแก้ว แก้ไอ และ
  5. ในผักกาดแก้ว ยังมีฮีโมโกลบิน ที่ช่วย ต้านมะเร็ง และ รักษาโรคโลหิตจางโดยเฉพาะในหญิงมีครรภ์ อีกทั้งยัง
  6. ช่วยแก้อาการท้องผูก ได้อีกด้วย และ
  7. ผักกาดแก้ว ยังเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะมีคาร์โบไฮเดรตเพียง 3 เปอร์เซ็นต์หรือน้อยกว่า

คุณค่าทางอาหาร ผักกาดแก้ว 100 กรัม

  1. ให้พลังงาน 27 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
  2. คาร์โบไฮเดรต 3.8 กรัม (g)
  3. แคลเซียม 16 มิลลิกรัม (mg)
  4. โปรตีน 2 กรัม (g)
  5. ไขมัน 0.4 กรัม (g)
  6. เหล็ก 4.9 mg
  7. ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม (mg)
  8. น้ำ 92.7 กรัม (g)
  9. ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม (mg)
  10. ไทอะมิน 0.06 มิลลิกรัม (mg)
  11. ไรโบฟลาวิน 0.18 มิลลิกรัม (mg)
  12. วิตามินเอรวม 393
  13. วิตามินซี 24 มิลลิกรัม (mg)
  14. วิตามินอี 1.82 มิลลิกรัม (mg)
  15. เบต้าแคโรทีน 2356 ไมโครกรัม (µg)