กระสัง
ชื่อสามัญ: Pellucoid-leaved Pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์: Peperomia pellucida Korth.
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ: โดยทั่วไปโดยเฉพาะภาคกลางจะเรียกกันว่า กระสัง แต่กระสังก็มีภาษาท้องถิ่นเป็นของตัวเองแต่ละภาคด้วย เช่น
- ในแถบภาคเหนือ จะเรียกว่า ผักฮากกล้วย
- ในแถบภาคอีสาน จะเรียกว่า ผักตาโค้ง, ผักตาก้ง
- ในแถบภาคใต้ จะเรียกว่า ชากรูด
- เขมรแถวแม่ฮ่องสอนก็จะเรียกว่า ตาฉี่โพ
- แถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี จะเรียกว่า ผักสังเบา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกระสัง
ผักกระสังถือว่าเป็นพืชล้มลุกซึ่งมีขนาดเล็ก ที่มีส่วนสูงเพียง 10-20ซม. ลำต้นจะเปราะหักได้ง่าย อุดมไปด้วยน้ำ สีเขียวใส
ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว มีลักษณะคล้ายรูปหัวใจแผ่นใบจะหนาและขอบใบจะเรียบทำให้เห็นเส้นใบได้ชัด
ดอก ส่วนใหญ่จะออกที่ตามปลายยอดเป็นช่อที่มีสีครีมหรือสีเขียวอ่อน
ฤดูกาลที่กระสังเจริญเติบโด: กระสังนั้นสามารถเจริญเติบโตได้ตลอดทั้งปี
แหล่งปลูก: เราจะสามารถปลูกกระสังได้ทุกภาคทั่วทั้งประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นตามสนามหญ้าหรือแปลงผักต่างๆก็สามารถปลูกได้
เมนูที่ทำจากกระสัง:
กระสังนั้นสามารถกินได้แบบสดๆและแบบปรุงสุก วิธีที่ง่ายที่สุดคือการนำต้นอ่อนและยอดอ่อนไปลวกแล้วจิ้มกับน้ำพริกกินได้เลย แต่ส่วนใหญ่จะไม่นิยมกินต้นที่เพิ่งงอกใหม่
สรรพคุณทางยาและประโยชน์ของกระสัง
- ผักกระสังจัดได้ว่าเป็็นผักที่มีเบต้า-แคโรทีนอยู่มาก จึงช่วยเรื่องของภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆได้
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้
- จะสามารถรักษาแผลและฝีได้ ถ้านำใบมาคั้นน้ำแล้วเอามาใช้ทาแผลและฝี
- มีสรรพคุณช่วยรักษาและลดอาการเลือดออกตามไรฟันได้
- มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปวดท้องได้
- เมื่อบดใบกระสังแล้วจะสามารถนำมารับประทานจะช่วยลดอาการปวดศรีศะได้
- นำต้นกระสังมาผสมข้าวสาวกับขมิ้น แล้วทำการบดให้ละเอียดหลังจากนั้นนำไปพอกสำหรับคนที่มีอาการเริม จะสามารถใช้เป็นยารักษาเริมได้
- ในบางประเทศ เชื่อว่าการรับประทานใบจะช่วยรักษาอาการต้อในตาได้
- ทั้งต้นและใบเมื่อนำมาแช่น้ำ สามารถนำไปใช้ทารักษาอาการผื่นคันได้
คุณค่าทางอาหารของต้นกระสัง
โดยในกระสัง 100กรัม จะประกอบไปด้วย
- พลังงานประมาณ 10 กิโลแคลอรี่
- น้ำ 60กรัม
- โปรตีน 0.5กรัม
- แคลเซียม 60มิลลิกรัม
- คาร์โบไฮเดรต 1.5กรัม
- ไขมัน 0.2กรัม
- เหล็ก 0.5มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.6มิลลิกรัม
- เบต้า-แครอทีน 285ไมโครกรัม
- วิตามินบี2 0.2มิลลิกรัม
- วิตามินซี 15มิลลิกรัม