คูน (Giant Elephant’s Ears)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของคูน : Colocasia gigantean Hook.f. / Colocasia indica Hassk. (Syn.)

โดยชื่อคูนแต่ละภูมิภาคก็จะเรียกต่างกันเช่น : ภาคเหนือ เรียก “ตูน. ภาคใต้ เรียก “เอาะดิบ” “ออดิบ” หรือ ออกดิบ ชุมพร เรียกว่า กะเอาะขาว, นครศรีธรรมราชและยะลาเรียกว่า “ออดิบ” ภาคกลางและภาคอีสาน เรียกว่า หัวคูนหรือคูน ประจวบคีรีขันธ์ เรียกว่า “บอน” กาญจนบุรี เรียกว่า “กระดาดขาว”

ถิ่นกำเนิดของคูน : อยู่แถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของคูน : คูนเป็นพืชไม้ล้มลุกคล้ายเผือก มีหัวอยู่ใต้ดิน รูปร่างเป็นลูกศร ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ก้านใบ ยาวกลมมีนวลเคลือบ แผ่นใบ คูนมี 2 ชนิด คือชนิดสีม่วง ใบและก้านใบจะมีสีม่วง ชนิดที่มีสีเขียวอ่อนก้านใบสีเขียวอมขาว ใบมีสีเขียวอ่อน ดอกออกเป็นช่อเชิงลด ก้านช่อดอกยาวกลม มีกาบหุ้มอยู่จนมิด เมื่อดอกยังไม่บาน ช่อดอก จะมีรูปทรงกระบอกส่วนกลุ่มช่อดอกเพศผู้ อยู่ด้านบน ช่อดอกเพศเมียอยู่ด้านล่าง ส่วนตรงกลางเป็น กลุ่มช่อดอกไม่มีเพศ

fruiting body of Xanthosoma (undipes), the elephants ear

ฤดูกาล : ใบและก้านจะออกตลอดทั้งปี
แหล่งผลิต/ปลูกของคูน : พบได้ตามป่าโปร่งแถบภาคอีสาน

ลักษณะการกิน/ทำอาหาร : กินก้านที่โตเต็มที่เป็นผัก โดยการลอกเอาเปลือกเขียว ที่หุ้มอยู่ ออก นำมาทำเป็นอาหารได้เช่นส้มตำหรือทำเป็นผักสด จิ้มกับน้ำพริกแกล้มแกงรสจัดได้ ปรุงเป็นผักในแกงกะทิหรือแกงแค ชาวเหนือ นำทำแกงส้มใส่ปลาเป็นต้น

คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของคูน :

  1. ลำต้นใต้ดินสด รักษาแผล
  2.  ลำต้นใต้ดินสด กัดหนอง กัดฝ้า
  3.  แก้โรค เถาดานในท้อง
  4.  ภาคเหนือ ใช้ผลสด ฝนผสมกับน้ำ ผึ้ง กินละลายเสมหะ
  5.  ลำต้นใต้ดินสุมเป็นถ่านแก้พิษไข้ พิษตานซาง หรือพิษร้อนได้