ไผ่ตง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrocalamus asper Backer อยู่ในวงศ์ Gramineae สกุล Dendrocalamus Nees ไผ่ตงเป็นไม้ที่ให้ประโยชน์ ทั้งในแง่ของอาหาร และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นๆ โดยรสชาติ และคุณสมบัติ เฉพาะด้านของ ไผ่ตงทำให้ผู้บริโภค นิยมรับประทาน
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกไผ่ตง
ควรปลูกในพื้นที่ราบ น้ำท่วมไม่ถึง ลักษณะดินที่เป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี
ดิน มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมประมาณ 5.5-6.5
สภาพภูมิอากาศ ไผ่ตงขึ้นได้ดีเกือบทุกสภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไปต้อง มีความชื้นเหมาะสม คือ มีฝนตกเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี แต่ควรมีน้ำสะอาดเพียงพอสำหรับช่วงแล้ง
พันธุ์ไผ่ตง
พันธุ์ไผ่ตงที่นิยมปลูกมี 2 พันธุ์คือ พันธุ์ตรงดำและพันธุ์ตรงเขียว
- ไผ่ตงดำ ตงจีน หรือตงกลาง หรือตงหวาน พันธุ์ไผ่ตงชนิดนี้ลำต้นจะมีสีเขียวเข้มอมดำ ขนาดเล็กกว่าไผ่ตงหม้อ มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 9-12 เซนติเมตร ใบจะมีสีเขียวเข้ม หนาใหญ่และมองเห็นร่องใบได้ชัดเจน หน่อจะมีขนาดปานกลาง น้ำหนักโดยเฉลี่ย 3-6 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสหวาน กรอบ เนื้อเป็นสีขาวละเอียดและไม่มีเสี้ยน จึงเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อผลิตหน่อและทำตงหมก ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มคุณภาพของหน่อให้ดีขึ้นไปอีก
- ไผ่ตงเขียว พันธุ์ไผ่ตงเขียวนี้จะมีขนาดลำต้นเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5-12 เซนติเมตร สีของลำต้น จะเป็นสีเขียว เนื้อไม้บาง ไม่ค่อยแข็งแรง ใบมีขนาดปานกลาง บางและสีเขียวเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีน้ำหนัก 1-4 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสหวานอมขื่นเล็กน้อย เนื้อเป็นสีขาว
อมเหลือง ไผ่ตงเขียวมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี
การปลูกไผ่ตง
การเตรียมพื้นที่
ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบ ถ้าเป็นพื้นที่ลุ่มทำการขุดร่องระบายน้ำ หรือยกร่องปลูกเพื่อให้การระบายน้ำได้ดี
การเลือกต้นพันธุ์
ถ้าเป็นต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรเป็นต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์ มีอายุไม่น้อยกว่า 14 เดือน หรือความสูง ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร มีระบบรากฝอยแผ่กระจายและสมบูรณ์ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง สำหรับการคัดเลือกต้นกล้า ไผ่ตง ที่ได้จากการชำกิ่งแขนงนั้น ควรเป็นต้นกล้าที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง
ระยะปลูก
ระยะปลูก คือ 6-8×6-8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ ทั้งนี้ระยะปลูกควรพิจารณาจากพันธุ์ไผ่ตง และสภาพความ สมบูรณ์ของดิน ถ้าปลูกไผ่ตงดำ ควรปลูกห่างกว่าไผ่ตงเขียว เพราะขนาดลำของไผ่ตงดำจะใหญ่กว่า ไผ่ตงเขียว และถ้าสภาพดินเลว ไผ่ไม่ค่อย เจริญเติบโต ควรใช้ระยะปลูกที่ถี่กว่าสภาพดินดี
การเตรียมหลุมปลูก
– ขุดหลุม กว้างxยาวxลึก ประมาณ 50x50x50 เซนติเมตร
– ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตประมาณ 300-500 กรัมต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว ประมาณ 1 กิโลกรัม และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิม เล็กน้อย เผื่อสำหรับ ยุบตัวภายหลัง
การพรางแสง
สำหรับต้นเล็ก ใช้ทางมะพร้าวหรือตาข่ายพรางแสง ช่วยพรางแสงแดด
การให้น้ำต้นไผ่ตงปลูกใหม่
่ในระยะแรกนั้น ต้องคอยดูแลรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ หลังจากนั้นเมื่อไผ่ตงตั้งตัวได้ดีแล้ว อาจเว้นระยะห่างออกไปบ้าง ปริมาณ และความถี่ของการให้น้ำขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นของดิน และเมื่อถึงฤดูแล้งควรหาวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางแห้ง คลุมบริเวณ โคนต้น เพื่อรักษาความชื้นให้กับดิน
การดูแลรักษาไผ่ตง
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยจะใส่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ปุ๋ยที่นิยมคือปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักโดยจะใส่ในอัตรา 1-1.5 ตัน ต่อไร่ (40-50 กก./กอ) หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 2-4 กก./กอ ร่วมกับปุ๋ยคอก ในกรณีที่ต้องการเร่งการออกหน่อใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 1-2 กก. รอบ ๆ กอ ถ้าต้องการให้หน่อมี คุณภาพดียิ่งขึ้นควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพิ่มไปในอัตรา 1 กก. ต่อกอ โดยใส่ไปพร้อม ๆ กับยูเรีย
การตัดแต่งกอ
แต่งกอในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ควรตัดแต่งกอให้สะอาด ดังนี้
* ตัดกิ่งเป็นโรค และกิ่งแห้งออก
* กอไผ่ตงที่อายุ 1-2 ปี จะไม่มีการตัดหน่อ ทั้งนี้เพื่อไว้เป็นลำสำหรับเลี้ยงกอ ให้เจริญเติบโต และขยายกอใหญ่ขึ้น
* กอไผ่ตงที่มีอายุ 2 ปี ให้เลือกตัดหน่อที่ชิดลำอื่น หน่อที่ไม่สมบูรณ์ และหน่อตีนเต่าออก เหลือไว้เพียง 5-7 หน่อต่อกอ
* กอไผ่ตงที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป ให้เลือกตัดลำแก่อายุเกิน 3 ปีขึ้นไป ออกขายหรือใช้ประโยชน์ ตามความเหมาะสม โดยเหลือลำแม่ ที่สมบูรณ์ไว้ประมาณ 10-20 ลำต่อกอ เพื่อเลี้ยงกอ และเลี้ยงหน่อที่ออกใหม่ การตัดลำแก่ออกนี้ควรตัดจากลำที่อยู่กลางกอ กอไผ่ตงจะได้โปร่งและขยายออกกว้างขึ้น
เทคนิคการทำหน่อไผ่ตงหมก
การทำหน่อไม้ไผ่ตงหมก ใช้ดิน ขี้เถ้าแกลบ ใบไผ่ตงหรือวัสดุอื่น หมกพูนโคนกอไผ่ เมื่อไผ่ตงเริ่มแทงหน่อพ้นดินประมาณ 2-3 นิ้ว
โดยใช้วัสดุพูนโคนสูงประมาณ 50 เซนติเมตร
การตัดหน่อไผ่ตง
– การตัดหน่อควรตัดเมื่อหน่อยาวประมาณ 1 ฟุต โดยใช้เสียมหางปลาตัดหน่อบริเวณกาบใบที่ 3 จากโคนหน่อ ซึ่งจะเหลือตาไว้ 2-3 ตา สำหรับแตกหน่อในปีถัดไป สำหรับหน่อที่ไม่แข็งแรงให้ตัดออกทิ้งไป
– การตัดหน่อควรทำตอนเช้ามืด เพื่อจะได้หน่อไม้สดส่งตลาด หน่อไม้ไผ่ตงที่ตัดไว้นานจะทำให้ความหวานลดลง ดังนั้น ควรตัดหน่อ แล้วรีบขายทันที ในการตัดหน่อควรเริ่มตัดหน่อจากกลางกอก่อนแล้วขยายวง ออกมารอบนอกกอ ส่วนหน่อที่อวบใหญ่ ที่อยู่ด้าน นอก ควรมีการรักษาไว้เพื่อให้เป็นลำแม่เลี้ยงหน่อต่อไป
แมลงศัตรูของไผ่ตงที่สำคัญ ได้แก่
– แมลงประเภทเจาะไชหน่อ และปล้องอ่อน
เป็นแมลงที่มีอันตรายสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะในระยะที่ไผ่ตงกำลังเจริญเติบโต จากหน่ออ่อนเป็นลำต้น แมลงพวกนี้ เช่น ด้วงงวงปีกแข็ง จะเข้าทำลายกัดกินเนื้อเยื่อ ที่อ่อนของปล้องภายในกาบหุ้มหน่อที่กำลังเจริญเติบโต จะทำให้หน่อและปลายยอดอ่อน
เน่า และหักตาย
– เพลี้ยแป้ง
อาศัยอยู่ตามหน่ออ่อนหรือใบอ่อนเพื่อดูดน้ำเลี้ยง ทำให้กาบใบและยอดหงิกงอ ชะงัก การเจริญเติบโต ป้องกันกำจัด โดย
1. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ไม่เป็นที่สะสมของโรค-แมลง
2. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชราดที่หน่อและเหง้า
คนริมโขง
อยากได้เอกสารเกี่ยวกับการเกษตรที่ผู้ร้จัดทำตลอดทั้งวิธีป้องกันโรคต่างๆของพืชหากท่านจะอนุเคราะห์ช่วยลงให้อ่านได้ศึกาด้วยขอขอบคูณที่อนุเคราะห์ผู้อยากร้
รุ้ง
ควรจะมีประโยชน์ของไผ่ตงบ้างนะค่ะ
พลอย
อยากได้เกี่ยวกับ
ประวัติของหน่อไม้ตง
หน่อไม้ไผ่หวาน
และหน่อไม้ศรีสุข
มากกว่า
ไผ่ตง
เราชื่อไผ่ตง
ไผ่ตง
ไผ่ตงสามารถทำกระสุนM-16ได้เเละยิงทะลุกระดาษได้แรงใช่ปะหละ
เพชร
ฟังจากวิทยุมีคนปลูกแล้วเจ๊ง เพราะ ถึงช่วงทุก 80 ปี ไผ่ตง จะออกดอก แล้วตาย หมด เคยได่ยินมั้ยคับ
กิต
ผมชอบศึกษาเรื่องไผ่ตงมาก
f-style
หาสวนไผ่ตง จะไปซื้อไม่เข้าโรงงานทำ Flooring
t_trd@yahoo.com
banklovefern
@mail มา ที ดิ คับ อยาก หา เพิ่ล น่ะ นะ ๆ คับ ๆ