ขอขอบคุณสำหรับ Comments นี้นะครับ
แคนตาลูป คนทั่วไป จะคุ้นเคย ในฐานะ ที่เป็นผลไม้มากกว่า แต่ทราบหรือไม่ว่า ในประเทศไทย แคนตาลูป ถูกยกย่องให้เป็น “ราชาแห่งพืชผัก” เชียวนะครับ
เพราะอะไรน่ะหรือ คำตอบก็คือว่า แคนตาลูป เป็นพืชที่ต้องการ การเอาใจใส่ดูแลรักษามากๆ จึงไม่แปลกที่ จะมีเกษตรกร เพียงไม่กี่ราย ที่จะสามารถปลูกแคนตาลูป ให้ได้ผลดี และในทุกวันนี้ แคนตาลูป เป็นหนึ่งใน ผลผลิตทางการเกษตร ไม่กี่ชนิด ที่ยังคงมีมูลค่าสูงอยู่ ในท้องตลาด โดยไม่มีแนวโน้ม ว่ามูลค่าจะลดลง เหมือนผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ
การดูแลเอาใจใส่ คือ หลักเกณฑ์อย่างหนึ่ง ในการให้ คำจำกัดความ(definition) ของคำว่า “พืชสวน” ให้แตกต่าง (แต่ยังไม่เชิงสิ้นเชิง) จากคำว่า “พืชไร่” เพราะเป็นเพียงหนึ่งในเหตุผล ที่ว่าพืชสวนนั้น ต้องการดูแลเอาใส่ในการปลูก มากกว่าพืชไร่
ในความเป็นพืชสวน(Horticultural ) นั้น เมื่อแยกจากพืชไร่(Agronomy) โดยดูจากลักษณะ การเอาใจใส่ดูแลรักษาแล้ว ในพืชสวนยังแบ่งแยกได้อีก เป็น พืชสวนประดับ(Ornamental) ไม้ผล(Pomology) และพืชผัก(Vegetable)
พืชสวนประดับ , ไม้ผล และ พืชผัก จัดอยู่ในหมวดเดียวกัน โดยลักษณะของ การเอาใจใส่ดูแลรักษา แบบพืชสวน ที่ต่างจากพืชไร่
- พืชสวนประดับ คือ พวกพืชที่ให้ดอกสวยงาม หรือเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงามเท่านั้น ย้ำว่าจุดประสงค์ คือ “เพื่อความสวยงาม” บริโภคเป็นอาหารตา
- ไม้ผล คือ พืชให้ผลเพื่อการบริโภค และการนำไปบริโภคนั้น ต้องบริโภคเพื่อเป็น “ของหวาน” คือรับประทานเพื่อเป็น อาหารว่าง เท่านั้น ถ้านอกเหนือจากนี้ คือนำไปประกอบอาหาร เช่น เอาสัปปะรดไปผัดเปรี้ยวหวาน เอาแตงโม ฝรั่ง แก้วมังกร องุ่น มาทำเป็นสลัด ผลไม้เหล่านี้ จะมีความหมายเป็น “ผัก” ไปโดยปริยาย
- ในส่วนของพืชผัก นั้นคือพืช ที่นำส่วนต่างๆ ไ่ม่ว่าจะเป็น ลำต้น ใบ ดอก ผล ราก ยอดอ่อน ซึ่งโดยหลักการแล้ว ส่วนต่างๆ ของพืชนั้น จะเป็นส่วนที่มี ลักษณะ อวบน้ำ จุดประสงค์เพื่อการบริโภค โดยต้องนำไป ประกอบอาหาร หรือนำมาเป็นผักกับ เป็นเครื่องเคียง กับอาหาร หรือประดับตกแต่งจานอาหาร ถึงแม้จะแค่ประดับ แต่ก็ยังสามารถประดับทานได้จริง
จากเหตุผล ของคำว่า “ผัก” แล้ว จะเห็นได้ว่า พืชผักนั้นความหมายกว้างมาก ครอบคลุมทั้งพืชสวนประดับ และไม้ผล
ยกตัวอย่าง ดอกเฟื่องฟ้า ซึ่งตามหลักแล้วมันคือพืชสวนประดับ ที่ปลูกเพื่อให้ความสวยงามเท่านั้น แต่ว่าถ้าเกิดนำส่วนของดอก มาชุปแป้งทอด แล้วเฟื่องฟ้านั้นจะกลายมาเป็นผักได้เหมือนกัน
ยกตัวอย่างผลไม้ เช่น แตงโม ที่โดยหลักการแล้ว เราจะนำผลแก่ของแตงโม มาบริโภค ในรูปแบบของการเป็นผลไม้ แต่ถ้าเรานำส่วนของผลอ่อนแตงโม ไปผัด หรือนำไปแกง แตงโมนั้น ก็จะกลายเป็นพืชผักได้เช่นกัน
มีเรื่องตลกของนักวิชาการ ทางด้านพืชผัก กับนักวิชาทางด้านเห็ดรา ที่ต้องมาถกเถียงกัีนว่า เห็ด ที่เรานำมาประกอบอาหารบริโภคกันนั้น จะให้เป็น “ผัก” หรือจะให้เป็น “รา”
แต่ว่านักวิชาการพืชผักชนะครับ เห็ดจึงถูกจัดว่าเป็นผัก และยังคงเป็นผักมาจนทุกวันนี้ ทั้งๆที่ในความเป็นจริง เห็ดมันต่างจากผักกาดกวางตุ้ง หรือผักคะน้า โดยสิ้นเชิง แต่ด้วยเหตุผล เช่นเดียวกับที่ดอกไม้ หรือผลไม้ โดยความหมาย แล้วกลายมาเป็นผักดังข้างต้นที่ ผมได้อธิบายไว้
” เห็ดจึงไม่ใช่พืช แต่เป็นผัก เพราะว่า มันต้องถูกนำมาบริโภค โดยที่ต้องนำมาประกอบเป็นอาหาร ในทำนองเดียวกกันกับผัก “
เมื่อพูดถึงราชาของพืชผัก คือแคนตาลูป แล้ว “ราชินี” ของพืชผักล่ะ คืออะไร?
อยากรู้กันใช่ไหมครับ คำตอบก็คือ…. ก็คือ…. เอาไว้ตอนหน้านะครับ แล้วผมจะมาเล่าให้ฟัีงต่อ.
Leave a Reply