melon

เมล่อน อยู่ในตระกูล Cucurbitaceae ได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งพืชตระกูลแตง”กันเลยทีเดียว เพราะเป็นพืชที่มีรสหวาน กลิ่นหอม อร่อย โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบทวีปแอฟริกา

โดยเมล่อนจะสามารถแบ่งออกเป็น 5กลุ่ม

  1. C. melon var.cantaloupensis กลุ่ม Cantaloupe โดยสีของเนื้อเป็นสีส้ม เปลือกจะมีลักษณะผิวขรุขระ เป็นร่องยาว มีน้ำหนักประมาณ 1 – 3 กก.
  2. C. melon var. recticulatus กลุ่ม Persian melon, musk melon โดยสีของเนื้อเป็นสีส้ม หรือ สีเขียว เปลือกจะมีลักษณะเป็นตาข่ายสานกัน เป็นลายนูน และจะมีขนาดเล็กกว่าแคนตาลูป
  3. C. melon car.conomon กลุ่ม oriental picking melon
  4. C. melon var.inodorus กลุ่ม winter melon เป็นเมลอนผิวเรียบ
  5. C. melon var,flexuosus กลุ่ม snak melon เป็นกลุ่มของแตงไทย ที่เราคุ้นเคยกัน

โดยเมล่อนจัดว่าเป็นพืชที่โตได้ในดินหลากหลายชนิด แต่ด้วยความที่เมล่อนไม่สามารถอยู่ในน้ำขังได้
แต่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ สภาพดินที่เหมาะสมเลยเป็นดินร่วนปนทราย เพราะระบายน้ำได้ดี และไม่อมน้ำ
แต่ในเมลอนที่มีอายุมากจะต้องการน้ำที่ลดน้อยลง

และค่า pH ที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 6.5 – 7 หรือเป็นกลาง และเหมาะกับสภาพอากาศ

โดยรากของเมล่อนจะมีระบบรากแก้วที่อาจลงไปในดินลึกถึง 120ซม.

และมีรากอยู่เยอะในแนวนอน ซึ่งอยู่ลึกลงไปในดินประมาณ 30ซม.

ไม่ร้อนจนเกินไป อุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 25 – 35 องศาเซลเซียส
ต้องการแสงแดดที่เพียงพอให้อบอุ่น และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ

การเตรียมดิน

  • ดินที่ปลูก ควรเป็นดินร่วนปนทราย
  • หลังจากได้ดินแล้ว ก็เริ่มไถหน้าดิน ให้ลึกประมาณ 20-30ซม.
  • ตากแดดทิ้งไว้ เพื่อฆ่าเชื้อโรค 13 – 15วัน โดยจำต้องปิดโรงเรือนที่ปลูกให้สนิท

พยายามไม่ให้มีอากาศถ่ายเท เพราะเราต้องการเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น

  • หลังจากนั้น ดูค่า pH ที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 6.5 – 7 ถ้าดินเป็นกรดให้ใส่ปูนขาวช่วย
  • ให้ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก และปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 ประมาณ 40-60 กิโลกรัม/ไร่ และทำการไถแปร
  • หลังจากนั้นให้พรวนดิน พร้อมกับยกแปลงให้สูงขึ้น 35 ซม. สันแปลงห่างกัน 1.5เมตร
  • วางสายน้ำหยด ในลักษณะหงาย ให้น้ำ เพื่อความชุ่มชื่นของดิน
  • คลุมด้วยพลาสติก เพื่อรักษาความชื้นให้กับดินและกับวัชพืข พร้อมกับเจาะหลุมปลูกไว้ให้ห่างกันประมาณ 50 x 60 ซม.

แต่ถ้าหากดินนั้น เคยปลูกเมล่อนมาหลายครั้งติดต่อกัน

ควรทำตามขั้นตอนดังนี้ก่อน

  • ควรจะ พักการเพาะปลูกประมาณ 2-4เดือน
  • เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นบ้าง เช่นพืชตระกูลถั่ว
  • ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา พร้อมกับปุ๋ยคอก ในการช่วยปรับปรุงสภาพของดิน

ดินปลูกเมล่อน

วิธีการเพาะกล้าเมล่อน

1.การบ่มเมล็ด

  • การบ่มเมล็ดให้เริ่มเหมือนการบ่มทั่วๆไปคือ แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำผสมอโทนิค (ต้องไม่แช่จนมากเกินปริมาณน้ำ) โดยอัตราส่วนคือ น้ำ1ลิตรกับอโทนิค 1 cc. แช่เมล็ด20นาที
  • เมื่อแช่จนครบกำหนดเวลาแล้ว ให้วางบนผ้าขาวบาง หรือกระดาษเพาะกล้า
  • นำถุพลาสติกมาห่ออีกครั้งและเก็บไว้ในที่มิดชิด และอยู่ในอุณหภูมิประมาณ 27-30 องศาเซลเซียส ใช้เวลา1วัน

2. เพาะกล้า

  • นำดินใส่ลงไปในถาดเพาะกล้า โดยให้วางทำมุม 45องศา ในแนวนอน โหยให้รากแทงลงในดิน ต้องระวังไม่ให้รากอ่อนเสียหาย และกลบด้วยดินเล็กน้อย พร้อมกับรดน้ำให้ชุ่ม
  • หลังจากนั้น นำถาดเพาะกล้าไปเก็บในที่ๆมีแสงแดด หรือเก็บโรงเพาะกล้า
  • ในระยะ 10-15วัน ต้องรดน้ำให้ชุ่มอยู่ตลอดทุกวัน

3. ย้ายกล้า

  • เริ่มย้ายตั้งแต่อายุไม่เกิน 15วัน หรือ เห็นใบแท้ออกมาได้ประมาณ 2ใบ

สิ่งที่ควรทำและต้องระวังในระหว่างย้ายกล้า

  1. ก่อนย้ายกล้าลงแปลงปลูก ต้องรดน้ำแปลงปลูกให้ชุ่มเป็นเวลา 2วัน
  2. ควรระวังไม่ให้รากขาดหรือได้รับการกระทบกระเทือนมาก เพราะจะทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี
  3. ฉีดยาป้องกันเชื้อรา
  4. หากต้องย้าย ไปที่ห่างกันมากๆ เมื่อไปถึง ต้องพักต้นกล้าก่อนอย่างน้อย 1-2วัน
  5. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายกล้า คือช่วงเย็น เพราะอากาศจะไม่ร้อน
  6. ความกว้างของหลุมปลูก ควรมรขนาดพอๆกับหลุมถาดเพาะกล้า
  7. กลบดินต้นกล้าเมื่อย้ายเสร็จแล้ว

การขึ้นยอดและเตรียมค้าง

  • ช่วงเวลาที่ควรใช้ในการขึ้นยอดที่สุดคือช่วงเช้า
  • การจัดเถาของเมล่อนคือ 1เถา ต่อ เมล่อน 1ต้น และเมื่อเริ่มออกยอด ให้ทำการพันยอดไว้กับเชือก พยายามอย่าปล่อยให้ยอดเลื้อย ควรทพอย่างน้อย 2วัน/ครั้ง

การเด็ดแขนง

  • หลังย้ายแปลงปลูกเสร็จแล้วประมาณ 9-1วัน ให้เด็ดแขนงข้อที่ 1-8ออก
  • ช่วงเวลาที่ควรทำคือช่วงเช้า และควรทำในช่วงที่ขนาดยังไม่ใหญ่ เพราะแผลจะแห้งเร็วกว่า หลังจากนั้น พ่นกันเชื้อราในตอนเย็น
  • การเด็ดแขนงมีส่วนช่วยทำให้ ยอดเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น

ไว้แขนงก่อนผสม และ การตัดแต่งแขนง

 

  • เด็ดยอดแขนงให้เหลือ 2ใบ
  • เลี้ยงแขนงข้อ 9-12 เพื่อไว้ผสม เหนือจากข้อ 12 ให้เด็ดแขนงย่อยออก
  • ในข้อ 25 ให้เด็ดใบให้เหลือประมาณ 22- 25 ใบ

ดอกเมล่อน

ผสมเกสร

  • ช่วงเวลาท่ี่เหมาะสม แก่การผสมเกสรคือ ช่วง 7โมง ถึง 10โมง เช้าของวัน
  • ให้เลือกผสมดอก 2-3 แขนง/ต้น
  • ผสมน้ำกับนูริช อัตราส่วน 15 cc. ต่อน้ำ 20ลิตร โดยพ่นทุกๆ 3วัน เป็นเวลา 2อาทิตย์
  • โดยดอกตัวผู้จะอยู่บริเวณข้อบนของลำต้น
  • จดบันทึกจำนวนดอกที่ผสม อาจจะหาอะไรพันไว้เพื่อกำหนดวันที่จะเก็บเกี่ยวของแต่ละต้น

การแขวนผล และการคัดเลือก

  • ยึดผลกับค้างที่ไว้ใช้ยึดต้นเมล่อน และใช้เชือกคล้องที่ขั้วผล เพื่อรองรับน้ำหนัก
  • ให้เลือกผลที่มีรูปทรงไข่ ผลสมบูรณ์, ใหญ่, ไร้รอยขีดข่วน
  • ไม่มีโรคและแมลง
  • เมื่อคัดได้ลูกที่ดีที่สุดแล้ว ควรตัดที่เหลือทิ้ง ให้เหลือเพียงแค่ ผลเดียวเท่านั้น
  • ภายหลังที่ผสมเกสร 18วัน ควรเพิ่มปุ๋ยและน้ำ เพื่อให้ผลเจริญเติบโตได้เต็มที่
  • ควรให้ผลได้รับแสงสม่ำเสมอ และอยู่ในที่โปร่ง

ลายเมล่อน

การเก็บเกี่ยวและระยะเวลา

  • ระยะเวลาจะประมาณ 40-45วัน หลังจากผสมดอกแล้ว ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ และฤดูกาลด้วย
  • โดยในช่วงระยะผลเริ่มสุก ความต้องการน้ำของเมล่อนจะลดน้อยลง
  • ตาข่ายเริ่มขึ้นนูนเห็นได้ชัด สีเริ่มเขียวเข้ม
  • ดูที่ก้นผล ถ้าก้นผลนิ่ม แสดงว่าสุกมากเกินไป
  • ต้นต้องไม่มีโรค
  • ตรงขั้วของผลจะยกนูนขึ้น
  • ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ไม่ควรวางเมล่อนไว้บนพื้น ควรหาภาชนะมาใส่จะดีที่สุด
  • ควรเก็บไว้ในที่อุณหภูมิไม่สูงและไม่โดนแดด เพื่อลดการหายใจของตัวเมล่อน

ปลูกเมล่อน

การเก็บรักษา

  • ระยะเก็บรักษาจะอยู่ได้ประมาณ 2-3สัปดาห์
  • จะต้อง ไม่มีโรค และแมลง ติดมาด้วย
  • หลังจากเก็บให้ล้างทำความสะอาด และเก็บในอุณหภูมิประมาณ10 องศาเซลเซียส โดยไม่เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

เพียงเท่านี้ เพื่อนๆก็จะสามารถปลูกเมล่อนได้อย่างไม่มีปัญหากันแล้วครับ

สามารถกดเข้าไปชม

โรคเมล่อน และศัตรูของเมล่อน พร้อมวิธีกำจัดและป้องกัน