ขมิ้น

ชื่อสามัญ: Turmeric

ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma longa Linn.

ชื่อทั่วไปที่คนเค้าเรียกกันก็คือขมิ้น แต่ละภาคก็อาจจะเรียกไม่เหมือนกันเช่น ภาคใต้เรียกว่า หมิ้น, ขี้มิ้น แถวภาคเหนือเรียกว่า ขมิ้นหยวก, ขมิ้นแกง

โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดีย

ต้นขมิ้น

มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ดังนี้

ขมิ้นมีเหง้าอยู่ใต้ดิน จึงจัดว่าเป็นพืชล้มลุกวงเดียวกับข่าและขิง โดยเนื้อในจะมี 2 ชนิดมี สีขาวและสีเหลืองเข้ม จะมีกลิ่นหอมโดยเหง้าของขมิ้นนั้นจะมีแง่งเล็กๆแตกแขนงออกไป โดยตามแง่งก็จะมีตาออกตามลำต้นและใบ โดยจะมีความสูงประมาณ 30 ถึง 85 cm ที่อยู่เหนือพื้นดิน โดยมีลักษณะเป็นกาบใบซ้อนทับกันตั้งแต่โค้งจนถึงปลาย ใบจะมีรูปทรงเรียวปลายแหลม ดอกมีรูปทรงกระบอกสีขาวออกเป็นช่อ

เหง้าขมิ้น

ฤดูกาลที่ขมิ้นจะสามารถเก็บเหง้าได้นั้น จะอยู่ในช่วงของเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

โดยแหล่งปลูกในประเทศไทย ส่วนมากจะพบที่ภาคเหนือและภาคอีสานเป็นส่วนใหญ่

โดยวิธีการกินขมิ้นนั้น สามารถกินได้หลากหลายวิธี คนใต้ส่วนใหญ่จะใช้หัวขมิ้นเป็นเครื่องเทศเพื่อมาปรุงรสและดับกลิ่นคาวของอาหาร อาหารที่นิยมทำกันก็คือแกงเหลือง, ข้าวหมกไก่, ปลาทอด

ผงขมิ้น

ขมิ้นนั้นมีสรรพคุณทางยา เพราะมีสารที่ชื่อว่าสารเคอร์คิมิน(Curcumin) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาอาการโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้ และขมิ้นยังมีคุณสมบัติในการต้านจุลินทรีย์ เมื่อนำไปผสมกับน้ำแล้วนำไปดื่มจะช่วยขับลม ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้เป็นอย่างดี และยังสามารถ แก้อาการมีเสมหะท้องร่วงและยังสามารถขจัดกลิ่นและสิ่งสกปรกออกจากร่างกายได้ ถ้านำไปพอกตามจุดที่ปวดยังสามารถแก้อาการปวดข้อได้อีกด้วยและที่สำคัญยังต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย

คุณค่าทางอาหารในขมิ้น 100 กรัม

ประกอบไปด้วยพลังงาน 65 กิโลแคลอรี่

น้ำ 84 g

คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม

ไขมัน 1 กรัม

เส้นใย 1 กรัม

ฟอสฟอรัส 41 มิลลิกรัม

โปรตีน 1.7 กรัม

วิตามินเอ 187 IU

วิตามินบี 1 และบี 2 อย่างละ 0.02 และ 0.03 mg

วิตามินซี 10 mg