ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma aeruginosa Roxb. / Curcuma sessilis Gage.
ชื่ออื่น: ภาคเหนือเรียกว่า อาวแดง
ถิ่นกำเนิด: จะพบในทวีปเอเชีย
ลักษณะทางพฤกศาสตร์: กระเจียวนั้นมี2ชนิด คือ กระเจียวแดงและกระเจียวขาว โดยทั้ง2ชนิดเป็นพืชป่า
กระเจียวแดงกับกระเจียวขาวจะรูปทรงต่างกันตรงกะเจียวแดงจะทรงต้นสูง กระเจียวขาวจะเป็นพุ่ม
ใบจะมีลักษณะคล้ายๆกับกระชาย โดยจะมีความยาวประมาณ 30-50 ซม.
โดยลักษณะการออกใบจะคล้ายถ้วยเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆซ้อนกัน โดยภายในถ้วยก็จะมีดอกย่อยๆ
โดยดอกจะค่อยๆบานจากโคนถึงยอด ดอกจะมีสีขาวหรือสีแดงชมพูแล้วแต่พันธุ์
ส่วนเมล็ดมีขนาดประมาณ 0.5ซม. รูปร่างคล้ายหยดน้ำ
สถานที่นิยมปลูก: ส่วนใหญ่จะพบมากที่จ.ชัยภูมิ ตามป่า แต่ถ้าจะให้แบ่งระหว่างกระเจียวแดงกับกระเจียวขาว
กระเจียวขาวจะพบมากในภาคอีสานและกระเจียวแดงจะพบมากในภาคเหนือ
ฤดูกาลที่เหมาะสม : ส่วนใหญ่จะพบหน่ออ่อนและดอกอ่อนในช่วงฤดูฝน
รสชาติและการกิน: สามารถกินสดๆหรือลวกจิ้มกับน้ำพริกได้ โดยรสชาติของหน่ออ่อนและดอกอ่อนจะมีรสซ่าๆและเผ็ดเล็กหน่อย
โดยภาคเหนือนิยมนำไปต้มและนำมาจิ้มกับน้ำพริก และนำไปแกงรวมกับผักอื่นๆ
สรรพคุณทางยา: เป็นยาระบายและช่วยขับลม
คุณค่าทางอาหาร: ในกระเจียว 100กรัม ให้พลังงานประมาณ 35กิโลแคลอรี โดยประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต 6กรัม
โปรตีน 1.3กรัม ฟอสฟอรัส40มิลลิกรัม แคลเซียม 45 มิลลิกรัม เหล็ก 2มิลลิกรัม และวิตามินเอ วิตามินบี1,2