มะรุม (Horse Radish Tree)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lamk.
ชื่ออื่นๆของมะรุม : มะรุมมีชื่อเรียกอื่นๆหลายชื่อตามภาคต่างๆดังต่อไปนี้ ภาคใต้เรียกว่ารุม ส่วนภาคเหนือเรียกว่าผักอีรุม, มะค้อนก้อม หรือ ผักอีฮุม ฉาน-แม่ฮ่องสอน เรียกว่า ผักอีฮุม เขมร-แม่ฮ่องสอนเรียกว่า เสซอยะ ยโสธรเรียกว่า บักอีฮุม

ถิ่นกำเนิดมักรุม : ถิ่นกำเนิดของมะรุมอยู่ในทวีปเอเชีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะรุม : มะรุมจัดได้ว่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง โดยส่วนใบจะประกอบกันแบบขนนก ชนิดแตกใบย่อย 3 ชั้น เปลือกต้นจะมีลักษณะเรียบ และมีสีเทาอ่อน โดยความสูงจะประมาณ 15 ถึง 20 เมตร
ส่วนปลายใบและฐานใบมน ใบจะเป็นสีเขียวเป็นรูปทรงไข่ ผิวใบด้านล่างมัสีอ่อนกว่าและมีขน เกสรดอกจะมีสีเหลืองเข้มดอกสีขาวจะออกเป็นช่อ ผลของมะรุมเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียว แบ่งเป็นข้อยาวเป็นระยะตามยาวของฝัก เมล็ดจะมีปีกบางๆหุ้ม 3 ด้านและเป็นรูปสามเหลี่ยม

 ฤดูกาลของมะรุม : มะรุมจะมีมากในฤดูหนาว
แหล่งเพาะปลูกของมะรุม : สถานที่ปลูก จะสามารถปลูกมะรุมได้ทุกภาคของประเทศไทย
ส่วนที่กินได้ของมะรุม : จะเป็น ฝักอ่อน,ดอกอ่อน และยอดอ่อน

โดยวิธีการกินมะรุม : ต้องนำไปลวกด้วยน้ำร้อนกินกับน้ำพริก หรือนำไปแกงใส่ปลาหรือทำแกงส้มก็ได้ บางท้องถิ่นจะนำฝักมะรุม อ่อนกิน แกล้มกับลาบ ก้อย หรือส้มตำ
สรรพคุณทางยาของมะรุม :
1. ส่วนดอกเป็นยาบำรุงขับปัสสาวะ โดยนำส่วนดอกมาต้มน้ำและกรองออก ทำน้ำมะรุมกินจะช่วยบำรุงขับปัสสาวะได้ดี
2. เมล็ดเป็นยาแก้ไข้ แก้ปวดตามข้อ แก้บวมได้

3. ฝักใช้แก้ไข้ได้
4. เปลือกใช้ขับลมในลำไส้คุมธาตุอ่อนๆ แก้ลมอัมพาต นำมาต้มน้ำใช้รับประทานช่วยขับลมได้
5. ใบแก้เลือดออกตามไรฟัน นำมาต้มกับน้ำหรือทำอาหารกินก็ได้
6. รากแก้อาการบวมบำรุงไฟธาตุ นำมาต้มน้ำแล้วกรองกับผ้าขาวบาง นำน้ำมารับประทานได้

7.ถ้ารับประทานบ่อยๆช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้นเปล่งปลั่ง เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ

8.มีสารช่วยเรื่องบำรุงหัวใจ

9.มีสารช่วยลดคอเลสเตอรอลและยังช่วยลดไขมันอีกด้วย

10. มีวิตามินและสารอาหารที่ดีช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย