พริกไทย (Pepper)

 

พริกไทย ภาษาอังกฤษคือ Pepper

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของพริกไทย คือ Piper nigrum Linn.

โดยทั่วไปจะเรียกว่า : พริกไทย แต่ทางภาคเหนือจะเรียกพริกน้อย ประเทศจีนจะเรียกว่าโฮ่วเจีย

ถิ่นกำเนิดของพริกไทย : มาจากแถบ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย เกาะมาลาบา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกไทย : พริกไทยเป็นพืชไม้เถาเลื้อย มีราก ฝอยออกบริเวณข้อ เพื่อการยึด เกาะติด ลำต้นสูงประมาณ 5 เมตรเถาจะเกาะ พัน กับต้นไม้อื่น หรือค้าง มีข้อปล้องเห็นได้ชัด ดอกออกเป็นช่อจากข้อ ช่อดอกสีขาวยาวประมาณ 10 cm ใบจะเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปร่างรีใหญ่ ขอบใบเรียบ ท้อง ใบ เป็นสีเขียวออกเทา ปลายใบแหลม หลังใบสีเขียวเข้ม และเส้นใบนูน ดอกออกเป็นช่อ จากข้อ ก้านดอกยาวก็พอๆกับก้านใบ ช่อดอกสีขาว ยาวประมาณ 10 cm ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงและเหลือง ผลรวมออกเป็นช่อยาว ภายในมีเมล็ดกลมสีขาวนวล

ฤดูกาลของพริกไทย : พริกไทย จะออกดอกชุบ ในช่วง เดือนพฤษภาคม ส่วนฤดูเก็บเกี่ยว จะประมาณเดือนมกราคม

แหล่งปลูกของพริกไทย : นิยมปลูก กันในแถบ ภาค ตะวันออก เช่น จังหวัด ระยอง จันทบุรี ตราด ชลบุรี และภาคใต้ เช่น จังหวัด ชุมพร ระนอง และ สุราษฎร์ธานี

การกินของพริกไทย : พริกไทยป่น ใช้แต่งกลิ่นอาหาร และนำมาหมัก เพื่อ ดับกลิ่นคาว เนื้อสัตว์ ส่วนเมล็ดพริกไทยสด นำมาใส่ เป็นเครื่องปรุง ผัดฉ่า   หรือผัดเผ็ด

คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของพริกไทย :

  1. เมล็ดพริกไทย ใช้แก้ลมอัมพฤกษ์
  2. แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ (เมล็ดพริกไทย)
  3. แก้อาการมีเสมหะ (เมล็ดพริกไทย)
  4. แก้มุตกิด (เมล็ดพริกไทย)
  5. แก้อาการมีลมมากในท้อง (เมล็ดพริกไทย)
  6. บำรุงธาตุ (เมล็ดพริกไทย)

คุณค่าทางอาหารของเมล็ดพริกไทยอ่อน 100 กรัม

  1. ให้พลังงาน 94 กิโลแคลอรี่ (Kcal) ประกอบไปด้วย
  2. คาร์โบไฮเดรต 13.2 กรัม (g)
  3. แคลเซียม 152 มิลลิกรัม (mg)
  4. เส้นใย 6.1 กรัม (g)
  5. ฟอสฟอรัส 23 มิลลิกรัม (mg)
  6. น้ำ 72 กรัม (g)
  7. vitamin C 14 กรัม (g)
  8. Vitamin A 6209 IU และ
  9. เหล็ก 3.1 มิลลิกรัม (mg)