ข่าวเกษตร บทความเกษตร

พัฒนาผักไฮโดรโพนิคส์ แม่โจ้ก้าวหน้านำปลูกบน ไม้ไผ่

ผักไฮโดรโพนิคส์ “ไฮโดรโพนิคส์” เป็นเทคนิคการปลูกพืช ในรูปแบบหนึ่ง… ซึ่งไม่ใช้ดินเป็นส่วน ประกอบหลักเหมือนทั่วๆไป โดยส่วนใหญ่ มักถูกปรับใช้ กับสภาพ ข้อจำกัดด้านพื้นที่ หรือปัญหาสภาวะแวดล้อม

…ยกตัวอย่าง เช่น พื้นที่มีสภาพปัญหา เรื่องดินเลว หรือ แหล่งน้ำไม่สมบูรณ์ จึงมีการออกแบบโรงเรือน และระบบการใช้น้ำ รวมถึงวิธีการควบคุมปริมาณธาตุอาหาร ให้แก่พืชได้อย่างเหมาะสม กับสภาพแวดล้อม และความต้องการ ของพืชแต่ละชนิด

นักวิจัยด้านการเกษตร ได้สร้างวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้แห่ง ศาสตร์ของเกษตร สามารถปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์ แบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ การปลูกพืชในสารละลาย (Water Culture) ปลูกพืชในวัสดุปลูก (Sub strate Culture) และ ระบบปลูกให้รากลอยอยู่กลางอากาศ (Aeroponics)

รศ.ดร.เทพ พงษ์พานิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ บอกว่า ทีมงานวิจัยได้พยายามศึกษาเปรียบเทียบการปลูกพืชทั้ง 3 แบบนี้ เพื่อต้องการให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและลดต้นทุนการผลิต โดยร่วมมือกับ โครงการหลวง สร้างชุดสาธิต…ปลูกผัก ไฮโดรโพนิคส์ขนาดใหญ่ มีความสูงกว่า 3 เมตร ซึ่ง ถือว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้ไม้ไผ่ที่นำมาจาก สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆมาร่วมออกแบบระบบ เพื่อเน้นให้เห็นว่าสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาประยุกต์เพื่อประหยัดต้นทุนโรงเรือน และนำไปใช้ได้จริงในระดับครัวเรือนชุมชน เมื่อ ปลูกผักแล้วนำมาบริโภคเองอย่างปลอดภัยสอดคล้องกับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ได้เป็นอย่างดี

รศ.ดร.อานัฐ ตันโช หัวหน้าโครงการปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์ กล่าวว่า คนส่วนใหญ่มักคิดว่า
ค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือน ไฮโดรโพนิคส์มีราคาสูง หากเทียบเปรียบกับการปลูกพืช ในดินตามปกติ อีกทั้งผู้ปลูกจะต้องมีความรู้ ด้านการจัดการและเทคโนโลยีที่สูงกว่า ทั้งที่จริงแล้วเป็น การควบคุมใช้ธาตุอาหารของพืช ได้ง่ายกว่าการปลูกในดิน สามารถควบคุมผลผลิต และระยะเวลาได้ ค่อนข้างแน่นอน ทำให้ ผลผลิตของไฮโดรโพนิคส์ ออกเร็วกว่าการปลูกในดินประมาณ 1 สัปดาห์ และยังช่วยลดค่าแรงงาน ในการเตรียมแปลงปลูก ไม่ต้องเสียค่ารถไถ และ ค่ากำจัดวัชพืช หากต้องการปลูก เพื่อการค้าควรมีการศึกษาตลาด ผู้บริโภคหรือปลูกพืชชนิด ที่ไม่ค่อยมีวางจำหน่ายในท้องตลาด

หัวหน้าโครงการปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์ กล่าวอีกว่า คำแนะนำสำหรับบางคนที่อาจมีความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องสารตกค้าง วิธีรับประทานผักไฮโดรโพนิคส์ ไม่ว่าจะเป็นผักที่ซื้อมาหรือปลูกเองจากแปลง ให้นำผักไปแช่น้ำทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ผักจะอิ่มตัวแล้ว คายสารที่ตกค้างออกมาได้หมด ทำให้สามารถบริโภค ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีรายละเอียดให้ท่านที่สนใจด้วยเช่นเดียวกัน

และนอกจากชุดสาธิตไม้ไผ่ขนาดยักษ์แล้ว ทีมงานวิจัยยังสร้างชุด ปลูกผักโฮโดรโพนิคส์ขนาดเล็ก จากไม้ไผ่ฝีมือของนักศึกษาใน ราคาต้นทุนไม่เกิน 500 บาท ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญยินดีให้ความรู้ และสอนวิธีการปลูกให้สามารถนำกลับไปปลูกที่บ้านได้ ดังนั้นหากต้องการปลูกผักกินเองก็สามารถซื้อชุดปลูกผักสำเร็จรูป ในแบบราคาย่อมเยานี้ไปปลูกหลังบ้านก็ได้เช่นกัน เพราะโรงเรือนไฮโดรโพนิคส์สามารถปลูกผัก ได้ทุกชนิดเหมือนการปลูกผักในดิน ทั้งผักพื้นบ้าน และ ผักเมืองหนาว ที่นำมาสาธิต เช่น ผักกาดแก้ว เนื่องจากเป็นที่นิยมในเมนูอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสลัดผักนานาชนิด

ใครสนใจต้องการชมชุดปลูกผักไฮโดรโพนิคส์ จากไม้ไผ่ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กริ๊งกร๊าง โดยตรงที่ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช หัวหน้ากองทุนปุ๋ย อินทรีย์และไฮโดรโพนิคส์ มูลนิธิโครงการหลวง ภาควิชาทรัพยากรดิน และสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 0-5387-3490 ต่อ 117,08-9956-9830 หรือคลิกที่ www.maejohydroponics.org

ไชยรัตน์ ส้มฉุน

ข่าวจาก:
ไทยรัฐ

4 Comments

  1. น้องว่า.......

    ขอดูรายละเอียดเกี่ยวกับการทำได้ไหมครับ

  2. farmer

    ขอดูรายละเอียดเกี่ยวกับการทำได้ไหมครับ
    และแหล่งซื้ออุปกรณ์และพันธ์พืช ครับ

  3. ศิริรัคน์

    ขอรายละเอียดในการปลูกผักด้วยไม้ไผ่และไม้ไผ่ชนิดไหน ปลูกผักได้ทุกอย่างหรือเปล่า หรือเฉพาะชนิดของผักเท่านั้น แล้วทำยากไหมคะ

  4. ก้อง

    กระผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์พืชมานาน…นาเสียดายที่เอ็นติดแต่ไม่มีตังค์เรียน พยายามศึกษาจากตำราที่หาได้เป็นประจำ..จนเมื่อหลายปีก่อน ได้ยินเรื่องราวของการปลูกพืชไม่ใช้ดิน แต่ก็ไม่รู้จะไปหาความรู้และรายละเอียดของเรื่องดังกล่าวที่ไหน เพราะ ได้ ยินผ่านหูผ่านตา แวปๆ ทางรายการทีวีเท่านั้น เข้าใจไปเองว่า ผักแทบทุกชนิดน่าจะทำได้ แต่เหนือสิ่งใดนั้น คือ เทคนิคพิเศษ ที่ใช้กับพืชที่คุณสมบัติต่างกัน (อยากได้ความรู้ที่แท้จริงขอรับกระผมเพราะติดตามมานาน การไม่รู้เทคนิคและวิธีการที่แท้จริง มันรู้สึกตะขิดตะขวางใจมากเลยขอรับ)

Leave a Reply

Vegetweb *สงวนลิขสิทธิ์ หากนำบทความไปใช้บนเว็บไซต์ต้องเชื่อมโยงลิ้งก์กลับมายังหน้านั้น