ผักแว่น (Water Fern)
ผักแว่น ภาษาอังกฤษ : Water Fern
ผักแว่นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ : Marsilea crenata Presl.
ชื่อเรียกกันทั่วไป : คือผักแว่น แต่ทางภาคใต้เรียกว่าผักลิ้นปี่
ผักแว่นมีถิ่นกำเนิดดังนี้ : ถิ่นกำเนิกอยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักแว่น : ผักแว่น เป็นพืชประเภทเฟิร์น มีลำต้นเลื้อยขนานยาวไปกับพื้นดิน สามารถเกาะติดอยู่บนพื้นดินหรืออยู่ในน้ำก็ได้ ลักษณะค่อนข้างกลม ซึ่งลำต้นอ่อนจะเป็นสีเขียว แต่เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล มีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม ลำต้น และ มีรากงอก ที่ลำต้น ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย 4 ใบ ใบย่อยจะมีรูปร่างลักษณะคล้าย รูปลิ่ม หรือ รูปสามเหลี่ยม ใบย่อยไม่มีก้านใบ มีสปอร์สีดำรูปรี คล้ายเมล็ดถั่วเขียว หรือรูปขอบขนาน ออกที่โคนก้านใบ โคนใบสอบ ขอบใบหยักเล็กน้อยหรือขอบใบเรียบ ก้านใบยาวแผ่นใบเรียบไม่มีขน ใบแตกออกจากตรงกลาง ตำแหน่งเดียวกันทั้งหมด ซึ่งรวมกันเป็นลักษณะกลม
ฤดูกาลที่ดีของผักแว่น : เถาอ่อนและยอดอ่อน จะ ออกใน ช่วง ฤดูฝน โดยเฉพาะ ช่วง เดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน
แหล่งปลูกส่วนใหญ่ : ผักแว่นสามารถขึ้นเองตามธรรมชาติ ในร่องสวน ในน้ำ ที่ชื้นแฉะ หรือตามท้องนา
การกินผักแว่น ดังนี้ : เถาอ่อนและยอดอ่อน กินเป็นผักสด แกล้มกับลาบ ส้มตำ และจิ้มน้ำพริก หรือนำใบอ่อนมาแกงก็ได้
คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของผักแว่น : ทั้งต้น กินแก้ไข้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ดีพิการ และดับพิษ หรือ ใช้สมานแผลในช่องปากและลำคอ
คุณค่าทางอาหารของผักแว่น 100 กรัม
- ให้พลังงาน 15 กิโลแคลอรี่ (Kcal)ประกอบด้วย
- แคลเซียม 48 มิลลิกรัม (mg)
- เส้นใย 3.3 กรัม (g)
- เหล็ก 25.2 มิลลิกรัม (mg)
- วิตามินบี 1 0.10 มิลลิกรัม (mg)
- วิตามินเอ 12166 IU
- วิตามินบี 2 0.27 มิลลิกรัม (mg)
- วิตามินซี 3 มิลลิกรัม (mg)
- ไนอะซิน 3.4 มิลลิกรัม (mg)
ผักแว่น,ผักแว่น ภาษาอังกฤษ,ผักแว่น คุณค่าทางอาหาร,ผักแว่น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์,การปลูก ผักแว่น,ผักแว่น ชื่อทางวิทยาศาสตร์,ผัก พื้นบ้าน ภาค เหนือ,เฟิร์น สาย พันธุ์ ต่างๆ,ใบ clover