ผักเสี้ยน (Wild Spider Flower)

ผักเสี้ยน ภาษาอังกฤษ คือ Wild Spider Flower

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผักเสี้ยน คือ Gynandropsis gynandra Linn. หรือ Cleome gynandra Linn.

ผักเสี้ยนมีชื่อเรียกทั่วไปว่า : ผักเสี้ยนตัวผู้, ผักเสี้ยนขาว ภาคเหนือเรียกว่า “ผักส้มเสี้ยน”

ถิ่นกำเนิดของผักเสี้ยน : มาจากทวีปอเมริกา ตอนใต้ ตั้งแต่ รัฐเท็กซัส ลงมาถึง ประเทศอาร์เจนตินา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักเสี้ยน : ผักเสี้ยน เป็นพืชไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง ใบ และตามลำต้น จะมีขนปกคลุม และมียางเหนียว มีรากแขนง และรากแก้ว จำนวนมาก ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย ลักษณะ ขอบขนาน หรือรูปไข่ มีใบย่อย 3 ถึง 5 ใบ ปลายแหลม ขอบใบเป็นคลื่น โคนใบสอบ ดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อนหรือขาว กลีบดอก 4 กลีบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เป็นรูปไข่ เกสรตัวผู้มี 6 อัน ผลเป็นฝักเรียวยาว สัตว์เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล ดอกมีก้าน ของเกสรตัวเมีย และเกสรตัวผู้ เมล็ด เป็นรูป ไต เรียงอยู่ในฝัก

ฤดูกาลของผักเสี้ยน : ใบอ่อน ดอกอ่อน และยอดอ่อน จะออกในช่วงฤดูฝน

แหล่งปลูกของผักเสี้ยน : สามารถขึ้นเอง ในป่าละเมาะ ที่รกร้าง หรือบริเวณริมทาง ได้ตามธรรมชาติ

การกินของผักเสี้ยน : ผักเสี้ยน นิยมกิน เฉพาะใบอ่อน ยอดอ่อน หรือดอกอ่อน โดยนําไปดองจิ้มกับน้ำพริก แต่ไม่นิยม กิน สด เพราะมีกลิ่นฉุน เฉพาะตัว และมีสารไฮโดรไซยาไนท์ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง จึงควรต้มหรือดองก่อนกิน ทางภาคใต้นิยม นำไปปรุ่งเป็นแกงส้ม หรือต้มกินเป็นผักร่วมกับขนมจีน

สรรพคุณทางยาของผักเสี้ยน :

  1. ผักเสี้ยนดอง แก้เมาสุรา
  2. น้ำคั้นจากใบนำมาผสมกับน้ำมันใช้เป็นยาแก้ปวดหูได้และ
  3. ใบ นำมาตำหรือบด ใช้พอกฝีกันไม่ให้เป็นหนองหรือ
  4. ทาแก้ปวดเมื่อย

คุณค่าทางอาหารของผักเสี้ยนดอง 100 กรัม

  1. ให้พลังงาน 88 กิโลแคลอรี่ (Kcal) ประกอบด้วย
  2. คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม (g)
  3. แคลเซียม 124 ลลิกรัม (mg)
  4. ไขมัน 3 กรัม (g)
  5. โปรตีน 4 กรัม (g)
  6. เหล็ก 3 ลลิกรัม (mg)
  7. Vitamin B1 0.08 ลลิกรัม (mg)
  8. Vitamin B2 0.25 ลลิกรัม (mg)
  9. Vitamin c 5 ลลิกรัม (mg)
  10. ไนอะซิน 5 ลลิกรัม (mg)
  11. เบต้าแคโรทีน 0 3 ไมโครกรัม (µg)
  12. ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม (mg)