ผักเซียงดา (Gurmar)

ผักเซียงดาภาษาอังกฤษ : Gurmar

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผักเซียงดา : Gymnema inodorum Dencne.

ชื่ออื่นของผักเซียงดา : คือ ผัก จินดา ผักเจียงคา

ถิ่นกำเนิดของผักเซียงดา : ถิ่นกำเนิกของผักเซียงดานั้นอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านของทางเหนือ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักเซียงดา : ผักเชียงดา เป็นพืชไม้เถาเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม หน้าใบเขียวเข้ม มากกว่าหลังใบ ลำต้น สีเขียว และ ขนาดของลำต้น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ถึง 5 cm ส่วนของลำต้น ที่อยู่เหนือดินขึ้นมา จะมียางสีเขียว ดอกสีขาวอมเขียว ขนาดเล็ก รูปร่างกลม ออกเป็นช่อ ขอบใบ มีคลื่นเล็กน้อย หรือ ขอบใบเรียบ ใบกลมรี ฐานใบ และปลายใบจะแหลม ผิวใบเรียบ ไม่มีขน ใบออกจาก ข้อเรียงกันเป็นคู่ ตรงข้าม และ มีก้านยาว

ฤดูกาลที่เหมาะสมของผักเซียงดา : ผักเซียงดา สามารถ แตกยอดได้ตลอดปีและแตกแขนงได้มาก ช่วงเวลา ที่ยอดผักอร่อยที่สุด คือช่วงหน้าแล้ง

แหล่งปลูกที่นิยมของผักเซียงดา : ผักเซียงดานิยมปลูกกันทางภาคเหนือในสวนครัว หรือปล่อยให้เลื้อยไปตามริมรั้ว หรือ ตามค้างที่เตรียมไว้

การกินผักเซียงดา : มักจะนิยมนำใบอ่อนและยอดอ่อน มาทำแกง แค แกงเลียง หรือแกงใส่ปลาแห้ง และยังนำมากินเป็นผักสด แกล้มกับ ลาบ น้ำตก หรือ กินกับน้ำพริกต่างๆได้

คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของผักเซียงดา : ชาวบ้านทางเหนือ นิยมนำ ใบ เซียงดา มาตำให้ละเอียด พอกที่กระหม่อม แก้หวัด และลดไข้ และยังนำ ไป เป็นส่วนผสม ในตำรายา แก้ลดไข้

คุณค่าทางอาหารของผักเซียงดา 100 กรัม

  1. ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่ (Kcal) ประกอบด้วย
  2. คาร์โบไฮเดรต 8.6 กรัม (g)
  3. ไขมัน 1.5 กรัม (g)
  4. โปรตีน 5.4 กรัม (g)
  5. แคลเซียม 78 มิลลิกรัม (mg)
  6. น้ำ 82.9 กรัม (g)
  7. ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม (mg)
  8. เบต้าแคโรทีน 5905 ไมโครกรัม
  9. เหล็ก 2.3 มิลลิกรัม (mg)
  10. ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม (mg)
  11. ไทอะมีน 0.12 มิลลิกรัม (mg)
  12. วิตามินเอรวม 984 ไมโครกรัม (µg)
  13. vitamin c 153 มิลลิกรัม (mg)
  14. ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม (mg)