ผักหวานป่า

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผักหวานป่า : Melientha suavia Pierre.

ชื่อเรียกต่างๆของผักหวานป่า : ภาคอีสาน จังหวัดสกลนครเรียกว่าต้นผักหวานและจังหวัดสุรินทร์เรียกว่าผักหวาน ชาวเขาเผ่าอาข่าเรียกว่าอาลองผักหวาน

ถิ่นกำเนิดของผักหวานป่า : ผักหวานป่ามีถิ่นกำเนิดทางคาบสมุทรมาเลเซียเวียดนามกัมพูชาไทยและลาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักหวานป่า : ผักหวานป่าเป็นพืชไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูงประมาณ5ถึง16เมตรใบรูปร่างไข่หรือรีขอบใบเรียบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้มหนา ไปๆป้านกลมหรือมน มีรอยเว้าแหลม หรือเป็นติ่งยื่นออกไป ฐานใบ เป็นรูปลิ่มยาว 6-12 เซนติเมตรผลเป็นพวงรูปรีสีเหลืองอมน้ำตาล กว้าง 1.5 ถึง 12 cm ยาว 2.3 ถึง 3 cm

ฤดูกาลของผักหวานป่า :  ผักหวานป่า ออกได้ดี ช่วงฤดูร้อนในช่วงระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม

แหล่งปลูกของผักหวานป่า :  ผักหวานป่า พพ มาก ที่ภาคอีสานและภาคเหนือ

การกินของผักหวานป่า : ใบอ่อนดอกอ่อนและยอดอ่อนกินเป็นผักสดหรือนำไปแกงใส่ไข่มดแดงหรือ นำไปลวกต้มจิ้มกับน้ำพริก หรือผัดกับน้ำมัน

สรรพคุณทางยาของผักหวานป่า :

  1. ยางจากใบ ใช้แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาวได้โดยการใช้กวาดลิ้น และ
  2. นำมาต้มน้ำดื่ม เป็นยาถอนพิษ แก้พิษลดไข้ หรือ
  3. แก้พิษร้อนกระสับกระส่าย ได้

คุณค่าทางอาหารของผักหวานป่า 100 กรัม

  1. ให้พลังงาน 39 กิโลแคลอรี่(Kcal) ประกอบด้วย
  2. คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม (g)
  3. ไขมัน 6 กรัม (g)
  4. โปรตีน1 กรัม (g)
  5. น้ำ1 กรัม (g)
  6. Calcium 24 มิลลิกรัม (mg)
  7. ไนอะซิน 6 มิลลิกรัม (mg)
  8. เส้นใย 1 กรัม (g)
  9. วิตามินเอ 8500 IU
  10. Vitamin B1 0.12 มิลลิกรัม (mg)
  11. Vitamin B2 1.65 มิลลิกรัม (mg)
  12. vitamin c 186 มิลลิกรัม (mg)
  13. ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม (mg)