ผักหวานบ้าน (Star gooseberry)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผักหวานบ้าน คือ Sauropus androgunus Merr.
ผักหวานบ้านมีชื่อเรียกตามภาคต่างๆดังนี้ : ภาคเหนือเรียกว่าผักก้านตง,จ๊าผักหวาน, ผักหวาน ภาคกลางและภาคอีสานเรียกว่า ผักหวานบ้าน สตูลเรียกว่าผักหวานใต้ใบประจวบคีรีขันธ์เรียกว่ามะยมป่า
ถิ่นกำเนิดของผักหวานบ้าน : ผักหวานบ้าน เป็นพืชไม้พื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักหวานบ้าน : ผักหวานบ้าน เป็น ไม้พุ่ม สูงประมาณ 0.8 ถึง 2 เมตร ใบเดี่ยว ออกแบบสลับรูปร่างกลม รูปขอบขนานหรือขอบค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูน กิ่งก้านค่อนข้างเล็ก สีเขียวปนเทา ปลายแหลมยาว ขอบใบเรียบ โคนใบมน ที่ โคน ก้านใบ มีหูใบเป็นแผ่นเล็กๆ ดอกเป็นสีแดงเข้ม หรือสีม่วงแดง เป็นดอกเดี่ยวออกตรงซอกใบ เป็นกลุ่มกลุ่มละ 2 ถึง 4 ดอก ดอกตัวเมีย และดอกตัวผู้แยกเพศกัน ผลมีรูปร่างคล้ายลูกมะยม ใน 1 ผลมี 3พู สีออกชมพูเล็กน้อย หรือสีขาวนวล เรียงติดกันอยู่ใต้ใบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0 ถึง 1.5 เซนติเมตร มนุษย์เป็นสามเหลี่ยมขนาดเล็ก
ฤดูกาลของผักหวานบ้าน : ใบอ่อนและยอดอ่อนมีมากในฤดูฝน ส่วนลูกอ่อน จะออกช่วงปลายฤดูฝน
แหล่งปลูกของผักหวานบ้าน : ผักหวานบ้าน สามารถพบได้ตามธรรมชาติทั่วไป
การกินใบอ่อนและยอดอ่อนนำมาผัดกับน้ำมัน หรือนำมาลวกใส่ก๋วยเตี๋ยว นึ่งหรือต้มกินเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกและนำไปแกงก็ได้
สรรพคุณทางยาของผักหวานบ้าน :
- รากผักหวาน นำมาฝนรวมกับแก่นในของฝักข้าวโพด รากมะแว้งและรากผักดีด ฝนรวมกันกับน้ำอย่างละเท่าๆกันใช้แก้ไข้หัดและไข้อีสุกอีใสหรือ
- นำรากฝน ใช้ระงับพิษไข้กลับ เนื่องจากกินของแสลง
- หมอพื้นบ้านใช้ รากฝน ทาแก้คางทูม
คุณค่าทางอาหารของผักหวานบ้าน 100 กรัม ประกอบไปด้วย
- มีแคลเซียมอยู่สูงถึง 225 mg และ
- ธาตุเหล็ก
- วิตามินเอ
- วิตามินบี 1
- วิตามินบี 2
- ฟอสฟอรัส
- ไนอะซิน
- โปรตีนคาร์โบไฮเดรต
- วิตามินซีและ
- ไขมัน