ผักตบไทย (Arrow-leaf Monochoria)

ผักตบไทย ภาษาอังกฤษ คือ Arrow-leaf Monochoria

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผักตบไทยคือ : Monochoria hastate (Linn.) Solms

ผักตบไทย หรือผักตบเขียดมีชื่อเรียกใน : จังหวัดอุดรธานีเรียกว่า ผักตบ ภาคกลางเรียกว่า ผักตบไทย

ถิ่นกำเนิดของผักตบไทย : มีขึ้นทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักตบไทย : ผักตบไทย เป็นพืชไม้น้ำ มีอายุหลายปี ต้นมีลักษณะเป็นกอลำต้นอยู่ใต้ดิน ทั้งต้นกอบน้ำ ก้านใบ กลมยาวและอวบน้ำ ใบเดี่ยว เป็นรูป คล้ายหัวลูกศรหรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบฐานใบเว้า กิ่งก้านอวบน้ำสีขาวใส ดอกออกเป็นช่อ มีสีม่วง แทงจากราก แต่ละช่อมีดอกย่อย ออกเป็นกระจุก ดอกย่อย มีขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วง

ฤดูกาลของผักตบไทย :  ดอกอ่อนใบอ่อนและต้นอ่อน จะออกในช่วงฤดูฝน

แหล่งปลูกของผักตบไทย : สามารถ พบได้ตาม ทุ่งนา ที่มีน้ำขัง และ แหล่ง แหล่งน้ำจืด ทุกภาค ในประเทศไทย

การกินของผักตบไทย :  ดอกคอน ก้านอ่อนและยอดอ่อนสามารถนำมาทำแกงเลียงแกงส้ม ผัด หรือกินเป็นผักสด กับน้ำพริกปลาและส้มตำได้

สรรพคุณทางยาของผักตบไทย : ผักตบไทย สามารถ นำมาตำผสมกับผักกระเฉด เอาแต่น้ำดื่มแก้เบื่อเมา ขับเสมหะขับพิษร้อน ได้

คุณค่าทางอาหารของผักตบไทย 100 กรัม

  1. ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่ (Kcal) ประกอบด้วย
  2. แคลเซียม 31 มิลลิกรัม (mg)
  3. ฟอสฟอรัส 28 มิลลิกรัม (mg)
  4. เส้นใย 0.7 กรัม (g)
  5. เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม (mg)
  6. Vitamin A 327
  7. วิตามินบี 1 0.01 มิลลิกรัม (mg)
  8. Vitamin B2 0.30 มิลลิกรัม (mg)
  9. วิตามินซี 5 มิลลิกรัม (mg)
  10. เบต้าแคโรทีน 1961 ไมโครกรัม (µg)
  11. ไนอะซิน 3.1 มิลลิกรัม (mg)