ผักคราด (Para Cress)
ผักคราด ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Para Cress
มีชื่อเรียกของผักคราด : ตามภาคดังนี้ ภาคเหนือเรียกว่า ผักตุ้มหู หญ้าตุ้มหู หรือผักเผ็ด ภาคกลางเรียกว่า ผักคราด หัวแหวน หรือผักคราด ส่วนจีนแต้จิ๋วเรียกว่า ฮึ้งฮวยเกี้ย
ถิ่นกำเนิดของผักคราด : มาจากประเทศบราซิล
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักคราด : ผักคราดเป็นพืชชนิดล้มลุก ลำต้นกลมอวบน้ำ สีเขียวหรือม่วงปนเขียว มีลำต้น ตั้งตรง หรือ ทอด ตาม ดิน เล็กน้อย แต่ปลายชูขึ้น ลำต้นอ่อน จะมีลักษณะขนปกคลุมเล็กน้อยและถ้าลำต้นแก่จะมีรากงอกออกมา ใบ จะเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ขอบใบหยักเป็นฟันเฟือง และใบจะมีรูปร่างสามเหลี่ยม ผิวใบสากและมีขนก้านใบยาว ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อย จะ มี 2 วง วงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ แต่วงนอกเป็นดอกตัวเมีย ดอกย่อยจะเรียงอัดแน่น เป็นกระจุกสีเหลือง ตายดอก แหลม คล้าย หัวแหวน ก้านดอกยาว ผลรูปไข่มีสีดำ
ฤดูกาลของผักคราด : ใบอ่อนและยอดอ่อน จะมี ตลอดทั้งปี แต่จะ สามารถ แตกยอด ได้มาก ในช่วง ฤดูฝน
แหล่งปลูกของผักคราด : ผักคราด ชอบขึ้นใกล้แหล่งน้ำ หรือตาม บริเวณที่ชื้นแฉะ และ พบเห็น ได้ ตามป่าละเมาะ หรือในป่าธรรมชาติ ชอบขึ้นปะปน กับต้นไม้อื่น
การกินของผักคราด : ภาคใต้ชอบนำ ยอดอ่อน ไปแกง กับปลา หรือ หอย ส่วน ภาคอีสานและภาคเหนือ จะ ชอบ กิน เป็นผักสด จิ้มกับน้ำพริก ใส่แกงแค แกงอ่อมต่างๆ หรือ ลาบก้อย
สรรพคุณทางยาของผักคราด :
- ดอก ช่วยรักษาโรค แผลในคอ และในปาก
- ดอก ขับน้ำลาย แก้เลือดออกตามไรฟัน
- ดอก แก้ไอ แก้ไข้
- ดอก แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ
- ดอก แก้ริดสีดวงทวาร
- ดอก แก้บิด
- ส่วนใบ แก้โลหิตเป็นพิษ
- ส่วนใบ แก้ปวดศีรษะ ปวดฟัน
- ผลปรุงเป็นยาแก้ร้อนใน
- ต้น ใช้แก้ไขข้ออักเสบ
- ต้น แก้พิษตานซาง
- ต้น แก้เลือดออกตามไรฟัน
- ราก ใช้ต้มดื่มเป็นยาระบาย หรือ
- รากเคี้ยวแก้ปวดฟัน แก้คัน และ
- รากยังใช้อมและบ้วนปาก
- รากแก้อักเสบในช่องปากได้ด้วย
- ส่วนเมล็ด เคี้ยวแก้ปากแห้ง
- ช่อดอกและก้านดอก มีสาร spilanthol มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่
คุณค่าทางอาหารของผักคาด 100 กรัม
- ให้พลังงาน 11 กิโลแคลอรี่ (Kcal) ประกอบด้วย
- แคลเซียม 680 มิลลิกรัม (mg)
- โปรตีน 4.9 กรัม (g)
- เบต้าแคโรทีน 3708 ไมโครกรัม (µg)
- ไขมัน 1.4 กรัม (g)
- วิตามินเอ 618 มิลลิกรัม (mg)
- vitamin c 46 มิลลิกรัม (mg)