ผักขะแยง/ผักกะแยง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ผักขะแยงคือ : Limophila aromatic (Lamk) Merr.
ผักขะแยงมีชื่อเรียกแต่ละภาพดังต่อไปนี้ : ทางภาคเหนือ คือ “ผักพา” อีสานเรียกว่า “ผักขะแยง” เขมรเรียกว่า “มะออม”
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักขะแยง : ผักขะแยงเป็นพืชล้มลุก มีอายุประมาณ 1 ปี ลําต้นกลวงสีเขียว ซึ่งมีขนาดเล็ก สูงประมาณ 30 ถึง 40 cm มีกลิ่นหอม หรือกลิ่นฉุนรุนแรง ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรี หรือรูปหอก หรือรูปขอบขนาน ใบมีขนาดเล็ก ออกรอบข้อลำต้น เป็นคู่ตรงกันข้าม อาจมี 3 ใบ ฐานใบจะหุ้มลำต้นไว้ ไม่มีก้านใบ ใบมีต่อมเล็กๆ กระจายทั่วผิวใบ ขอบใบหยัก เป็นฟันเลื่อย ดอกมีสีม่วง สีชมพูอ่อน หรือสีแดง เป็นดอกเดียว ออกเป็นช่อหรือ ออกตรงซอกใบ
ฤดูกาลที่ดีในการปลูกผักขะแยง : ผักขะแยง จะเติบโตดี และมีมาก ในฤดูฝน จนถึงฤดูหนาว ช่วงฤดูฝน ลำต้นจะอวบใหญ่ ใบดก ส่วนช่วงฤดูหนาว ใบจะมีน้อย มีดอกปะปน เล็กน้อย
แหล่งปลูกของผักขะแยง : ส่วนใหญ่ จะพบขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามริมคูน้ำนาข้าว และบริเวณที่ชื้นแฉะ
การกินขะแยง : ลำต้นอ่อนและยอด กินเป็นผักสดจิ้มกับแจ่ว และลาบก้อย, ส้มตำ หรือ ซุปหน่อไม้ได้ หรือใช้เป็นเครื่องปรุงรสแต่งกลิ่นในแกงอ่อม
คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของผักขะแยง :
- ใช้ กินแก้ขับลม
- แก้คัน
- ลดไข้ และ
- แก้อาการบวมได้
- มีรสเผ็ดร้อนช่วยให้เจริญอาหาร
คุณค่าทางอาหารผักขะแยง 100 กรัม
- ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี่ (Kcal) ประกอบด้วย
- แคลเซียม 5 5 มิลลิกรัม (mg)
- เส้นใย 1.5 กรัม (g)
- เหล็ก 5.2 มิลลิกรัม (mg)
- ฟอสฟอรัส 6 12 มิลลิกรัม (mg)
- วิตามินเอ 5.86 2 IU
- วิตามินบี 0.02 มิลลิกรัม (mg)
- vitamin c 5 มิลลิกรัม (mg)
- ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม (mg)