ผักกูดน้ำ (Edible Fern)

ผักกูดน้ำ ภาษาอังกฤษ คือ Edible Fern

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผักกูดน้ำ คือ Ceratopteris thalictroides (Linn.) Brongn

ผักกูดน้ำมีชื่อเรียกตามภาคต่างๆดังนี้ จังหวัดจันทบุรี เรียกว่า ผักหนวดปลาดุก จังหวัดตรังเรียกว่า ขาเขียดน้ำเค็ม และภาคอื่นๆ เรียกว่าผักกูดกิน, ผักกูดมอญ และผักกูดขาว

ถิ่นกำเนิดของผักกูดน้ำ : ผักกูดน้ำ เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ใน เขตร้อน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักกูดน้ำ : ผักกูดน้ำ เป็นพืชจำพวกเฟิร์นชนิดหนึ่ง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ก้านใบแตกจากเหง้า ใบมีสีเขียวขอบใบหยัก ก้านใบยาวขึ้นเป็นแผงแบบขนนก ปลายยอดม้วนงอ และปลายใบหงิกงอ

ฤดูกาลของผักกูดน้ำ : ผักกูดน้ำแทงยอดอ่อนได้ตลอดทั้งปี แต่นิยมกินกันในช่วงฤดูแล้ง เพราะจะมีรสชาติอร่อยกว่า

แหล่งปลูกของผักกูดน้ำ : ผักกูดน้ำสามารถขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ โดยชอบขึ้นในบริเวณที่ชื้นแฉะ หรือมักขึ้นตามริมน้ำในทุกภาคของประเทศไทย

การกินของผักกูดน้ำ : นำยอดอ่อนไปทำแกงส้ม, ยำแกงเลียงหรือผัดไฟแดง และยังสามารถกินเป็นผักสด จิ้มน้ำพริกก็ได้

สรรพคุณทางยาของผักกูดน้ำ : ผักกูดน้ำมีสารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย และบำรุงสายตา อีกทั้งยังมีธาตุเหล็กสูงซึ่งช่วยบำรุงร่างกายไม่ให้ซีดเซียวหรืออ่อนเพลีย

คุณค่าทางอาหารของผักกูดน้ำ 100 กรัม ประกอบด้วย

  1. ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี่ (Kcal)
  2. แคลเซียม 5 มิลลิกรัม (mg)
  3. เส้นใหญ่ 1.4 กรัม (g)
  4. เหล็ก 36.3 มิลลิกรัม (mg)
  5. ฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม (mg)
  6. Vitamin B1 0.34 มิลลิกรัม (mg)
  7. วิตามินบี 2 0.08 มิลลิกรัม (mg)
  8. vitamin c 15 มิลลิกรัม (mg)
  9. ไนอะซิน 0.5 มิลลิกรัม (mg)
  • วิตามินเอ 17167 IU