บัวบก (Indian Pennywort)

บัวบก ภาษาอังกฤษ คือ Indian Pennywort

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urban

มีชื่อเรียกของบัวบกได้ตามภาคต่างๆดังนี้ ภาคอีสานและภาคเหนือเรียกว่า ผักหนอก กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน เรียกว่าประหนะ เอขาเด๊าะ ลำปางเรียกว่ากะบังนอกหรือจำปาเครือฉะเชิงเทราเรียกว่า แว่นโคกส่วนภาคใต้เรียกว่าผักแว่นคนจีนเรียกว่าฮัมคัก เตียกำเช้า

ถิ่นกำเนิดของบัวบก : บัวบกนั้นมีถิ่นกำเนิด ในแถบทวีปเอเชีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบัวบก : บัวบกเป็นพืชไม้ล้มลุกตระกูลเดียวกับ ขึ้นฉ่าย และผักชี โดยมีลำต้นเลื้อยไปตามดินเรียกว่า ไหล ซึ่งจะขึ้นรวมกันเป็นกอติดดิน ใบและรากจะออกตามข้อใบเป็นใบเดี่ยว รูปกลม หรือรูปร่างคล้ายไต ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านล่าง มีขนสั้นๆขอบใบหยัก มีรอยเว้าลึกที่ฐานใบ ก้านใบยาว ดอกออกเป็นช่อคล้ายร่ม ซึ่งจะบอกครั้งละ 2-3 ช่อจากข้อ ออกช่อละ 3-4 ดอก ซึ่งแต่ละดอกจะมีกลีบดอกสีม่วงเข้ม 5 กลีบ มีเมล็ดขนาดเล็กสีดำ แต่ผลมีเปลือกแข็งสีม่วงหรือเขียว

ฤดูกาลของบัวบก : บัวบกเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน

แหล่งปลูกของบัวบก : บัวบก สามารถขึ้นเองได้ตาม ธรรมชาติพบได้ตามที่ลุ่มและชื้นแฉะริมหนองน้ำหรือตามคันนา

การกินของบัวบก : บัวบกสามารถกินได้ ทั้งสดและสุก โดยจะใช้ ใบและเถา นำมาต้มเป็นเครื่องดื่มได้ นอกจากนี้ บัวบกยังกินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกเครื่องจิ้มเครื่องหลนต่างๆกะปิคั่วผัดไทยแกงเผ็ดหมี่กะทิ ลาบก้อย หรือ ยำแหนมกับหัวปลี กะทิก็ได้

สรรพคุณทางยาของบัวบก :

  1. นำต้นบัวบกมาต้ม ดื่มแก้อาการ ช้ำใน
  2. แก้ท้องอืด ท้องเสีย (ต้นบัวบกมาต้ม)
  3. แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด (ต้นบัวบกมาต้ม)
  4. ช่วยขับปัสสาวะ (ต้นบัวบกมาต้ม)
  5. แก้อาการเจ็บคอและลดอาการอักเสบ (ต้นบัวบกมาต้ม)
  6. ใบบัวบกช่วยบำรุงหัวใจ (ต้นบัวบกมาต้ม)
  7. ใบบัวบกบำรุงสมอง
  8. ลดความดันเลือด (ใบบัวบก)
  9. ลดอาการแพ้ (ใบบัวบก)
  10. ในใบบัวบกยังมีสาระสำคัญชื่อ Asiaticoside ซึ่งมีคุณสมบัติ ช่วยในการสมานแผล กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ แก้อาการบาดเจ็บและบำรุงผิวพรรณ

คุณค่าทางอาหารของบัวบก 100 กรัม

  1. ให้พลังงาน 44 กิโลแคลอรี่ (Kcal) ประกอบด้วย
  2. คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม (g)
  3. ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม (mg)
  4. แคลเซียม 146 มิลลิกรัม (mg)
  5. โปรตีน 1.8 กรัม (g)
  6. เหล็ก 3.9 มิลลิกรัม (mg)
  7. วิตามินบี 10.24 มิลลิกรัม (mg)
  8. วิตามินบี 2 0.09 มิลลิกรัม (mg)
  9. วิตามินซี 4 มิลลิกรัม (mg)
  10. ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม (mg)
  11. เบต้าแคโรทีน 238.23ไมโครกรัม (µg)
  12. ไขมัน 0.9 กรัม (g)