บอน (Elephant Ear)
บอนภาษาอังกฤษ คือ : Elephant Ear
บอนมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ : Colocasia esculenta (L.) Schott
บอนมีชื่อเรียกหลากหลาย : โดยทางทางภาคเหนือแถวจ.เชียงใหม่เรียกว่า “ตุน” ภาคใต้ เรียกว่า บอนท่า, บอนน้ำ, บอนจีน, บอลจีนดำ, บอนเขียว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบอน : บอนเป็นพืชล้มลุกหลายฤดู ลำต้นเป็นหัวเล็กๆอยู่ใต้ดิน ชอบขึ้นตาม ที่ลุ่ม มีน้ำขังหรือตามชายน้ำ มีไหลที่สามารถเลื้อยไปขึ้นเป็นต้นใหม่ได้ ใบเป็นใบเดี่ยวมีรูปร่างคล้ายหัวใจก้านใบอวบน้ำขนาดใหญ่ยาว สีเขียวแกมม่วงโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ มีน้ำยางเหนียวสีขุ่นขุ่น หากโดนผิวหนังจะทำให้คันได้ ดอกสีขาวนวลออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกสั้นกว่าก้านใบ โคนป่องมีช่องเปิดมองเห็นช่อดอกเป็นกระเปาะตรงกลางมีกลิ่นหอม มีกาบยาวรูปรีสีเหลืองนวลหุ้มดอก ส่วนโคน ของช่อดอกเป็นดอกตัวเมีย และ ส่วนปลายของช่อดอกเป็นดอกตัวผู้ ชาวบ้านจะจำแนกบอนออกเป็น 2 ชนิดคือ บอนคันแล้วบอนหวาน ซึ่งมีวิธีสังเกตจากต้นและใบ บอนคัน มีสีเขียวนวล และมีนวลเกาะก้านใบ ส่วน บอนหวาน มีต้นและใบสีเขียวสดหรือสีเขียวอมน้ำตาล ไม่มีนวลสีขาวเคลือบอยู่ตามก้านใบ มีอีกวิธีหนึ่งที่ใช้แยกชนิดของบอน คือใช้มีดตัดก้านบอลแล้วทิ้งไว้สัก 5 นาที ถ้าเป็นบอนหวานจะไม่มีสี ส่วนหาดกลายเป็นสีเขียวแกมน้ำเงิน แสดงว่าเป็นบอนคัน สิ่งที่ทำให้ เมื่อสัมผัสถูก บอนคัน ก็คือผลึกของแคลเซียมออกซาเลตซึ่งจะทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองต่อผิวหนังลิ้น และทางเดินอาหารได้
ฤดูกาลของบอน : บอนสามารถเจริญเติบโตได้ตลอดทั้งปี
แหล่งปลูกของบอน : พบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะลุ่มน้ำหรือริมน้ำ
การกินบอน : บอนเป็นผักที่ไม่นิยมกินดิบ เพราะจะทำให้เกิดอาการคันได้ ก่อนที่จะนำใบอ่อน หรือก้านใบ ของบอนมาปรุงเป็นอาหาร ต้องลอกผิวที่ก้านใบออกก่อน โดยเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้คัน และไม่ให้มือดำจากยางบอน ก้านบอลนิยมนำมาทำแกงกะทิหรือแกงส้ม หากจะนำมาแกงต้องนำมาต้มเคี่ยวและคั้นน้ำทิ้งก่อนสัก 2-3 ครั้ง ขณะปรุงมักจะใส่ผักที่มีรสเปรี้ยวลงไปด้วยเพื่อช่วยล้างพิษคัน ของบอน เช่น ยอดมะขามน้ำมะกรูด ส้มมะขาม ส้มป่อย เป็นต้น และในบางท้องถิ่นอาจนำมาดอง จิ้มกินกับน้ำพริกก็ได้
คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยา : โดยในตำราไทยโบราณจะใช้ส่วนไหล ตำกับเหง้าขมิ้นอ้อย ผสมเหล้าโรงเล็กน้อยใช้พอกฝี ส่วนรากนำมาต้ม กินแก้ท้องเสีย แก้เจ็บคอและแก้เสียงแหบได้
*ข้อควรระวัง สตรีมีครรภ์ไม่ควรกิน บอน เพราะคนโบราณเชื่อว่า จะทำให้สายรกเปื่อย ซึ่งเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
คุณค่าทางอาหารของบอน 100 กรัม
- ให้พลังงาน 18 กิโลแคลอรี่ (Kcal)ประกอบด้วย
- คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม (g)
- น้ำ 95 กรัม (g)
- ไนอะซิน 3 มิลลิกรัม (mg)
- เบต้าแคโรทีน 618 ไมโครกรัม (µg)
- Vitamin C 3 มิลลิกรัม (mg)
- Vitamin E 5.2 ไมโครกรัม (µg)