น้ำเต้า (Bottle Gourd)
น้ำเต้า ภาษาอังกฤษ คือ Bottle Gourd
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของน้ำเต้า คือ Calabash Gourd, Flowered Gourd
ถิ่นกำเนิดของน้ำเต้า คือ น้ำเต้านั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบทวีปเอเชีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของน้ำเต้า : น้ำเต้าเป็นพืชไม้เถาเลื้อย ซึ่งนิยมจะทำค้างให้เลื้อย ใบของน้ำเต้าจะสาก แล้วมีขนอ่อนปกคลุม ใบมีรูปร่างทรงสามเหลี่ยม ขอบหยัก ดอกออกตามซอกใบ และใกล้บริเวณยอดจะมีดอกสีขาว ผลของน้ำเต้า จะมีรูปร่างลักษณะคล้ายขวด ซึ่งมีรูปทรงหลายแบบ เช่น ทรงลูกแพร์ ทรงรูปกระบอก, ทรงรูปแป้น, ทรงกลม และมีขนสั้นๆปกคลุม เมื่อผลแก่เปลือกจะเกลี้ยงหนาและแน่น ในผลอ่อนจะมีเมล็ดสีขาว รูปทรงยาวรีและแบน เมื่อผลสุก เมล็ดจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน
ฤดูกาลของน้ำเต้า : น้ำเต้าสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
แหล่งปลูกของน้ำเต้า : น้ำเต้าสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย
การกินของน้ำเต้า : ผลอ่อน ของน้ำเต้า สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลายชนิด เช่น ทำแกง ทำสตู ผัดกับเนื้อสัตว์ หรือต้ม จิ้มกับน้ำพริกก็ได้ ส่วนเมล็ด ต้องใช้เมล็ดแก่ สามารถนำ ไปสกัดน้ำมัน หรือทำเป็นอาหาร ประเภทขบเคี้ยวก็ได้
คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของน้ำเต้า : โดยในน้ำเต้านั้น สามารถช่วยขับปัสสาวะและลดอาการบวมน้ำ ได้
คุณค่าทางอาหารของน้ำเต้า 100 กรัม
- ให้พลังงาน 10 กิโลแคลอรี่ (Kcal) ประกอบด้วย
- คาร์โบไฮเดรต 2 กรัม (g)
- ฟอสฟอรัส 1 มิลลิกรัม (mg)
- โปรตีน 3 กรัม (g)
- แคลเซียม 6 มิลลิกรัม (mg)
- วิตามินบี 1 0.02 มิลลิกรัม (mg)
- วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม (mg)
- เหล็ก 1 มิลลิกรัม (mg)
- เส้นใย 7 กรัม (g)
- ไนอะซิน 1 มิลลิกรัม (mg)
- วิตามินซี 35 ไมโครกรัม (µg)