นุ่น (Kapok)

นุ่น ภาษาอังกฤษ คือ Kapok

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของนุ่น คือ Ceiba pentandra

นุ่นมีชื่อเรียกได้หลายแบบ ทางภาคเหนือเรียกว่า งิ้วสร้อย งิ้วสาย งิ้วน้อย ง้าว

ถิ่นกำเนิดของนุ่น : นุ่น มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางประเทศแถบอันดามัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของนุ่น : นุ่นเป็นพืชไม้ยืนต้น ซึ่งมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีลำต้นเลียบ และลำต้นจะเป็นสีเขียว โดยบางสายพันธุ์จะมีหนาม และจะมีกิ่งขึ้นตั้งฉากกับลำต้น ใบจะประกอบกันเหมือนรูปหอก ซึ่งจะมีใบย่อย ประมาณ 5 ถึง 11 ใบ ดอกช่อออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 1 ถึง 5 ดอก แต่ละดอกจะมีกลีบ 5 กลีบ ดอกจะเป็นสีขาวนวล ผลเดี่ยวสีเขียวเข้ม ยาวรีเหมือนกระสวย เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล โดยภายใน แบ่งได้ 5 ช่อ ซึ่งแต่ละช่อ จะตีปุยสีขาวอยู่ด้านใน และมีเมล็ดสีดำกลมจำนวนมาก

ฤดูกาลของนุ่น : นุ่นจะออกผลได้ดีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน

แหล่งปลูกของนุ่น : นุ่น สามารถขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

การกินของนุ่น : ดอกของนุ่น น้ำมันลวก จิ้มน้ำพริก แต่ถ้าผลอ่อน สามารถใส่ในแกงส้ม หรือกินดิบ จิ้มน้ำพริกได้ ส่วนเกสรตัวผู้ นำมาตากแห้ง ทำขนมจีนน้ำเงี้ยวแกงกะหรี่เนื้อ หรือแกงส้มก็ได้

คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของนุ่น :

  1. ต้นนุ่น สามารถใช้แก้ไอ
  2. เเก้ไข้ (ต้นนุ่น)
  3. เปลือก ช่วยแก้ร้อนใน
  4. ขับปัสสาวะ (เปลือก)
  5. ใบ ช่วยแก้ไข้
  6. ราก ช่วยแก้ท้องเสียขับปัสสาวะ

คุณค่าทางอาหารของนุ่นอ่อน 100กรัมประกอบด้วย:

  1. เบต้าแคโรทีน 10 ไมโครกรัม (µg)
  2. โปรตีน 1.6 กรัม (g)
  3. น้ำ 91.7 กรัม (g)
  4. วิตามินเอ 2 ไมโครกรัม (µg)