ดาวอินคา
ชื่อสามัญ: Sacha inchil, Sacha peanut, Inca peanut, Supua หรือ Mountain peanut
ชื่อวิทยาศาสตร์: Plukenetia volubilis L.
ถั่วดาวอินคา จัดว่าเป็นพืชวงศ์ยางพารา Euphobiaceae โดยผลดาวอินคาจะมี กรดไขมันโอเมก้า 3-6-9 มากกว่าน้ำมันปลา 50.72% (โอเมก้ารวม 88%) ซึ่งมีประโยชน์มากมายต่อการดูแลสุขภาพ จนได้รับฉายาว่าโอเมก้าบนดิน และอีกหนึ่งประโยชน์ที่โดดเด่นซึ่งมาช่วยแก้ปัญหาโรคกลุ่ม NCD ของคนไทยก็คือ โรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน โอเมก้าจากถั่วดาวอินคา จึงเป็นความหวังใหม่ของคนไข้ และกลุ่มเสี่ยง ซึ่งกำลังมองหาวิธีการรักษาด้วยธรรมชาติ ไม่ต้องรับประทานยาที่เสี่ยงต่อผลข้างเคียง
ถิ่นกำเนิดของดาวอินคา: ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบอยู่ในประเทศเปรู และถือว่าเป็นพืชเฉพาะในป่าอะเมซอน แต่ในไทยก็ยังสามารถพบได้ชนิดเดียวนั่นก็คือ Plukenetia corniculata Sm.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของดาวอินคา
ดาวอินคา จัดได้ว่าเป็นไม้เลื้อยที่มีอายุได้ 10-50ปี และส่วนของลำต้นนั้นจะสูงได้ประมาณ5เมตร โดยโครงสร้างจะเป็นไม้เลื้อยที่พันตามต้นอื่นๆ
ใบนั้นเป็นใบเดี่ยว ยาวประมาณ 10-15ซม.และมีความกว้างประมาณ 8-10ซม. ส่วนของก้านของใบจะยาวประมาณ 2-7ซม. ปลายใบมีรูปทรงเรียวแหลม เรียงสลับกัน ส่วนขอบใบเป็นรูปร่างคล้ายๆเลื่อย
ดอก จะเริ่มออกเมื่อดาวอินคามีอายุประมาณ 5เดือนและจะเริ่มติดเมล็ดหลังจากเริ่มปลูกได้8เดือน การออกของดอกนั้นจะออกมาเป็นลักษณะของช่อกระจะ โดยจะมีทั้ง2เพศ โดยถ้าเป็นดอกเพศผู้จะมีสีขาวและเรียงกันตลอดช่อเป็นกระจุก ส่วนดอกเพศเมียจะมีเพียง2ดอก และอยู่เฉพาะตรงโคนของช่อดอก
ผลจะมีลักษณะคล้ายๆดาว 4-7แฉก ส่วนสีจะเริ่มจากสีเขียว และสีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นสีน้ำตาลดำเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5ซม. ส่วนใหญ่จะปล่อยไว้ให้แห้งคาต้นก่อนค่อยเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นจึงนำไปตากแดดก่อนเป็นเวลา 24ชม. จึงสามารถนำไปขายได้
เมล็ด จะมีลักษณะรูปทรงไข่ มีสีน้ำตาลออกดำ มีขนาดความกว้างตั้งแต่ 1.5-1.8ซม. ยาวประมาณ 2-2.5ซม. น้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 1-2กรัม เมล็ดที่ยังดิบอยู่จะไม่สามารถนำมารับประทานได้ แต่ถ้าคั่วจนสุกแล้วจะมีความอร่อยมันมาก
ฤดูกาลที่กระโดนเจริญเติบโต: ยอดอ่อนของต้นกระโดนจะออกมาในช่วงประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นฤดูแล้ง
แหล่งปลูก: สามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย
เมนูจากดาวอินคา:
- ผลอ่อนเมื่อฝานออกบางๆนำไปผัดกับยอดและใบ จะมีลักษณะคล้ายๆผักบุ้งไฟแดง
- แกงเลียง
- นำดาวอินคาไปสกัดเป็นน้ำมันก็ได้ และเป็นน้ำมันที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงด้วย
สรรพคุณทางยาและประโยชน์น้ำมันจากเมล็ดดาวอินคา
- ใช้ในการประกอบอาหารได้เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีโอเมก้า3 เพราะมีกรดไขมันโอเมก้า 3-6-9 มากกว่าน้ำมันปลา 50.72% (โอเมก้ารวม 88%)
- ช่วยลดคอเลสเตอรอลHDLได้ หากรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ
- ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือดได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจลงได้
- ช่วยลดอาการซึมเศร้าลงได้
- ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
- ในน้ำมันจากเมล็ดดาวอินคาจะมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งจะช่วยควบคุมความดันในตาได้
- ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและทำหน้าที่เป็นสื่อกลางช่วยในการขนส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อของไตเพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม
- ย่อยง่าย และมีโปรตีนที่มีคุณภาพสูงพร้อมทั้งกรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบด้วย ซึ่งจะเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอของร่างกายได้เป็นอย่างดี
- ป้องกันการเป็นโรคเบาหวานได้
- ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ส่งผลต่อสุขภาพจิตที่แจ่มใส