ตาล (Palmyra Palm)
ตาล ภาษาอังกฤษ : Palmyra Palm
ตาลมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ : Borassus flabellifer Linn.
ตาลมีชื่อเรียกตามภาคต่างๆดังนี้ : ภาคใต้เรียก “โหนด” ภาคกลางเรียกว่า ตาลใหญ่, ตาลโตนด กะเหรี่ยงใกล้จ.แม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ทอถู” กะเหรี่ยงใกล้จ.ตากเรียกว่า “ท้าง” ฉานใกล้แม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ตาล” เขมรเรียกว่า “ทะเนาต์”
ถิ่นกำเนิดของตาล : ตาลนั้นขึ้นอยู่แถบประเทศอินเดีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของตาล : ตาลเป็นพืชไม้ยืนต้น ชนิดหนึ่ง ลำต้น กลมเรียว สูงประมาณ 30 เมตรไม่แตกกิ่งก้านสาขาใบเดี่ยวเรียงสลับหนาแน่นบริเวณเรือนยอด เปลือกเป็นเสี้ยนแข็งรูปร่างคล้ายพัด ไปแยกเป็น 2 แฉก แต่ละแฉกคล้ายดาบยาวได้ถึง 140 cm ก้านใบเป็นก้านหนาแข็งขอบหยักเป็นหนามแบนคมสีดำ ดอกย่อยจะแยกเพศอยู่คนละต้น ซึ่งดอกออกเป็นช่อแตกแขนงขนาดใหญ่ดอกตัว เมียเป็นช่อเรียกว่า จั่นให้น้ำตาล ดอกตัวผู้เป็นช่อทรงกระบอกยาว เป็นงวงสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล ช่อดอกแทงออกจากต้นระหว่างก้านใบผลดิบสีเขียวเปลือกเรียบผลทรงกลมขนาดใหญ่ประมาณ 6 ถึง 8 นิ้ว ติดเป็นทะลาย เมื่อสุก หัวเป็นสีเหลือง ก้นเป็นสีดำ มีกลิ่นหอม ภายนอกมีขนเป็นเส้นใยส่วนภายในมีเมล็ดใหญ่และแข็งอยู่ ประมาณ 2-3 เมล็ด รูปกลมแบน
ฤดูกาลของตาล : ลูกตาลอ่อนจะมีในช่วง เดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน
แหล่งปลูกของตาล : ตาลสามารถพบได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย
การกินตาลที่นิยม : นำตาลไปจั่นให้น้ำตาลใช้ทำน้ำตาลปี๊บ และน้ำตาลปึก ดอกอ่อนทั้งตัวผู้และตัวเมียนำไปแกง หัวลูกตาลอ่อนนำมาต้ม กับปลาร้าเรียกว่าปลาร้าหัวตาลหรือต้มจิ้มน้ำพริกตาลสุกนำมาทำขนมตาล
คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของตาล :
- ใบแก้อาการ กระสับกระส่าย
- หลังคลอดคั่วให้เหลืองแล้วบดเป็นผงใช้ สูบหรือเป่า ลดความดันโลหิต
- ราก ใช้แก้ไข้ ร้อนในกระหายน้ำ
- รากแก้ทอนซิลอักเสบ
- รากช่วยขับพยาธิ แก้ซางเด็กและชูกำลัง
- ก้านใบสดหรือกราบตั้งไฟแล้วบีบเอาแต่น้ำอมแก้ปากเปื่อย และ
- แก้ท้องเสียท้องร่วงได้
- งวง แก้พิษตานซางขับพยาธิทำให้สดชื่น
คุณค่าทางอาหารลูกตาล 100 กรัม
- ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ประกอบด้วย
- โปรตีน 0.6 กรัม (g)
- คาร์โบไฮเดรต 5.6 กรัม (g)
- แคลเซียม 14 มิลลิกรัม (mg)
- เส้นใย 0.3 กรัม (g)
- เหล็ก 0.3 มิลลิกรัม (mg)
- โพแทสเซียม 18 มิลลิกรัม (mg)
ขอบคุณรุปภาพจาก : flickr, By Bernard DUPONT