ดอกหมากผู้หมากเมีย
ดอกหมากผู้หมากเมียมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ : Cordyline fruticosa (L.) Gopp.
ดอกหมากผู้หมากเมียมีชื่อเรียกแตกต่างกันดังนี้ : ชื่อเรียกตามภาคเหนือ มักเรียกกันว่า หมากพู้, ชู้หมาก หรือหมากพู้
ถิ่นกำเนิดหมากผู้หมากเมีย : หมากผู้หมากเมียนั้นเป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือของประเทศไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์หมากผู้หมากเมีย : หมากผู้หมากเมียเป็นพืชไม้พุ่ม ใบหนาออกตรงส่วนบนของลำต้น ลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีความสูงประมาณ 1 ถึง 3 เมตร แต่ ใบแตก เป็นวงสลับกันรอบๆด้าน ใบรูปหอก เนื้อใบอ่อนนุ่มใบแหลมกว้าง 5-15 cm ยาวประมาณ 30 ถึง 40 cm สีม่วงสลับสีเหลืองอ่อน ดอกออกเป็นช่อ สีขาว ที่ปลายยอดต้น หรือเป็นช่อสีเหลือง ผลทรงกลมฉ่ำน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 mm เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเมล็ด 1-3 เมล็ด
ฤดูกาลที่เหมาะสมกับดอกหมากผู้หมากเมีย : ดอกหมากผู้หมากเมียจะออกดอกตลอดทั้งปีแต่จะมีมากที่สุดในฤดูฝน
แหล่งปลูกของดอกหมากผู้หมากเมีย : พบเห็นมาก แถบจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดนนทบุรี
การกินของดอกหมากผู้หมากเมีย : ดอกตูมนำไปลวกทั้งแบบสด กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก ชาวเหนือนิยมนำไปใส่แกงแค
คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของดอกหมากผู้หมากเมีย :
- ดอกและราก ใช้สมานแผลในลำไส้
- แก้ไข้เหือดหัดสุกใสดำแดง
- ใบ ใช้ขับพิษ, ไข้ แก้ตัวร้อน
- แก้พิษ แก้ร้อนในกระหายน้ำหรือ
- ใช้ต้มอาบแก้เม็ดผดผื่นคัน