ดอกข้าวสาร

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Raphistemma hooperianum Decne.

ดอกข้าวสารมีชื่อเรียกตามภาคต่างๆดังนี้ ภาคกลางเรียกว่า ข้าวสาร เครือ ข้าวสาร ชุมพรเรียกว่า เมื่อยสารสกลนครเรียกว่าเคือคิกอุดรธานีเรียกว่าปลายสารและกรุงเทพฯเรียกว่าข้าวสารดอกเล็ก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของดอกข้าวสาร : ดอกข้าวสารเป็นพืชไม้เลื้อย ใบออกเป็นคู่ขนาน รูปลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่ แถบขอบขนาน ปลายใบแหลมสีเขียวขอบใบเรียบ เนื้อใบบาง ฐานใบเว้า ก้านใบเล็กดอกจะออกเป็นช่อตามง่ามใบ แต่ละช่อจะมีดอกย่อยย่อยขนาดเล็กๆ 4 ถึง 7 ดอก มีกลิ่นหอม กลีบดอก หรือกลีบรองดอก จะเป็นรูปไข่ ปลายมน ยาวประมาณ 3-4 cm มีกลีบดอกสีขาว 5 กลีบ เมื่อดอกแก่จะกลายเป็นสีเหลืองนวล หรือสีเหลืองอ่อน ผลจะมีสีเขียว เป็นฝักรูปไข่ ยาวประมาณ14cmแถบขอบขนาน

ฤดูกาลของดอกข้าวสาร : ผลอ่อนจะออกช่วงปลายฤดูฝน ถึงต้นฤดูหนาว แต่ดอกจะออกช่วงฤดูฝน

แหล่งปลูกของดอกข้าวสาร : ดอกข้าวสารสามารถพบได้ ตาม บริเวณสวนที่รกร้าง หรือ ตามชายป่า ธรรมชาติ

การกินของดอกข้าวสาร : ดอกตูมผลอ่อนและยอดอ่อนสามารถนำไปลวกต้มหรือนึ่งกินเป็นผักกินกับน้ำพริกได้ ส่วนดอกที่บานแล้ว นำไปแกงร่วมกับเนื้อสัตว์ต่างๆได้ เช่น ผัดกับน้ำมัน ยำ หรือ แกงส้ม ส่วนเมล็ดข้าวสาร ห้ามกิน เพราะมีสารcardiac glycoside ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย

คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของดอกข้าวสาร : ราก ปรุงเป็นยารักษา โรคตาแดงตาแฉะตามัว และช่วยทำให้อาเจียน

คุณค่าทางอาหารของดอกข้าวสาร 100 กรัม ประกอบด้วย

  1. ให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี่ (Kcal)
  2. โปรตีน 34 กรัม (g)
  3. คาร์โบไฮเดรต 4.4 กรัม (g)
  4. ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม (mg)
  5. แคลเซียม 0.7 มิลลิกรัม (mg)
  6. เส้นใย 1.4 กรัม (g)
  7. เหล็ก 0.6 มิลลิกรัม (mg)
  8. Vitamin B102 มิลลิกรัม (mg)
  9. Vitamin B 20.07 มิลลิกรัม (mg)
  10. Vitamin C 5 มิลลิกรัม (mg)