ชะคราม (Seabite)
ชะครามมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ : Suaeda maritima
ชื่อเรียกของชะคราม : การเรียกของชะครามตามภาคต่างๆมีดังนี้ ภาคกลาง เรียกว่า “ชักคราม” ภาคใต้ เรียกว่า “ชีคราม” สมุทรสาครเรียกว่า “ส่าคราม”
ถิ่นกำเนิดของชะคราม : อยู่ในแถบ ประเทศออสเตรเลีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชะคราม : ชะคราม เป็นพืชไม้ล้มลุกแต่เมื่ออายุมากขึ้นจะพัฒนาลำต้นเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1 เมตรทรงพุ่มแผ่กระจายลำต้นเดี่ยว แต่กิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับไม่มีก้านใบมีรากงอกบริเวณข้อ ในระดับต่ำใบกลมยาวเรียว อวบน้ำ มีสีเขียวนวลสดหรือสีเขียวอมม่วง แต่ในฤดูแล้งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงอ่อน ดอกออกที่ปลายยอดเป็นช่อแบบแยกแขนง โดยแต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก รูปขอบขนาน มนต์โปร่งใสใบประดับยอดที่ฐานวงกลีบ รวมมี 2-3 กลีบ สีเขียวอ่อนอมม่วงหรือสีเขียวผลกลมขนาดเล็กอยู่ภายในวงกลีบ รวม แต่ละผล มีเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก
ฤดูกาลปลูกของชะคราม : จะเจริญเติบโตตลอดปี
แหล่งปลูกของชะคราม : ขึ้นได้เองตาม ธรรมชาติ ในบริเวณ ป่าชายเลน ที่มี แดดจัด การกิน ก้านและใบ น้ำมันใส่แกงส้มปู หรือแกงคั่วปู และ กินเป็นผักต้มจิ้มน้ําพริก แถวบางตะบูนจังหวัดเพชรบุรี
คุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาของชะคราม : ทั้งต้นรักษารากผม และแก้ผมร่วงได้
ขอบคุณที่มาภาพ: Picture taken with my IXUS 800 IS