ผักตระกูล หญ้า

ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn)

ข้าวโพดฝักอ่อน Baby corn

ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn) เป็นผักอุตสาหกรรมและส่งออกที่สำคัญของประเทศ การส่งออกมีทั้งการแปรรูปบรรจุกระป๋อง การส่งออกฝักสด และการแช่แข็ง ซึ่งมีแนวโน้มการตลาดที่สดใสในปี 2534 ประเทศไทยสามารถทำรายได้จากข้าวโพดฝักอ่อน เป็นมูลค่ามากกว่า พันล้าน บาท สำหรับเกษตรกรแล้ว ข้าวโพดฝักอ่อน นับเป็นผักที่นิยมปลูก เนื่องจากมีเทคโนโลยีการผลิต ที่ไม่ยุ่งยากมีระบบตลาด ที่สะดวกและมั่นคงพอควร ไม่ต้องใช้สารเคมีอันตรายและเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นโดยมีอายุตั้งแต่ วันปลูกถึงวันเก็บเกี่ยว ประมาณ 45-50 วัน และมีช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวเพียง 7-10 วัน ดังนั้น ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวฝักอ่อนหมดจะใช้เวลาเพียง 60-70 วันเท่านั้น เกษตรกรสามารถปลูกได้ปีละ 4-5 ครั้ง ซึ่งสามารถปลูกเป็นพืชหลักที่ทำรายได้ที่ดี

การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนเพื่ออุตสาหกรรมหรือส่งออก สิ่งที่สำคัญที่สุด คือคุณภาพ และปริมาณของผลผลิต ทำอย่างไรให้ได้มาตรฐานมากที่สุด ดังนั้น เกษตรกรควรศึกษาข้อมูลต่างๆ ก่อนปลูก ซึ่งมีข้อที่เกษตรกรควรคำนึงถึงดังนี้
เกษตรกรควรรวมตัวเป็นกลุ่ม ซึ่งจะทำให้มีผลผลิตมากพอสำหรับผู้ซื้อ และสามารถทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และวางแผนการผลิต ร่วมกัน
การปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ต้องใช้แรงงานมากในช่วงการดึงช่อดอกตัวผู้และช่วงเก็บเกี่ยวทุกวัน ซึ่งจากการสำรวจพบว่า สามารถทำ ได้ครอบครัวละประมาณ 3-5 ไร่ เกษตรกรจึงควรทยอยปลูก ซึ่งต้องวางแผนการผลิตร่วมกับผู้ซื้อ

พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn)
พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ดี เป็นปัจจัยที่สำคัญข้อหนึ่งที่จะได้ผลผลิตคุณภาพดี คือมีปริมาณฝักเสียไม่ได้มาตรฐานน้อย ตามความต้องการของโรงงานแปรรูป ขณะเดียวกันพันธุ์นั้น ก็ควรให้ผลผลิตสูง และง่ายต่อการจัดการของเกษตรกรผู้ปลูกด้วย พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่เกษตรกรใช้มีดังนี้
พันธุ์ผสมเปิดต่างๆ ได้แก่ สุวรรณ 1 สุวรรณ 2 สุวรรณ 3 รังสิต 1 และเชียงใหม่ 90 เป็นต้น จะสังเกตได้ว่า นอกเหนือจากพันธุ์ รังสิต 1 เชียงใหม่ 90 และพันธุ์ข้าวโพดหวานแล้ว พันธุ์สุวรรณ 1, 2, 3 ต่างเป็นพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงและ พัฒนาเพื่อใช้ในการ ผลิต เป็นข้าวโพดไร่ มีข้อดีคือ มีความต้านทานโรคราน้ำค้าง การเจริญเติบโตและปรับตัวดี และเมล็ดพันธุ์มีราคาถูก แต่มีข้อควรระวัง คือ ฝักอ่อนจะโตเร็วควรเก็บเกี่ยวฝักอ่อนในระยะที่เหมาะสม มิฉะนั้นจะทำให้ฝักอ่อนมีขนาดโตเกินมาตรฐาน ที่โรงงานอุตสาหกรรม ต้องการ
พันธุ์ลูกผสมของทางราชการและบริษัทเอกชนต่างๆ พันธุ์ข้าวโพดอ่อนเหล่านี้มีข้อดี คือ มีความสม่ำเสมอของทรงต้น และอายุ เก็บเกี่ยวตลอดจนจำนวนฝักอ่อนได้มาตรฐานสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด ทั้งนี้ ต้องมีการดูแลรักษาที่ดีด้วย เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน ลูกผสม แม้จะมีราคาสูง แต่ในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน ปัจจุบันซึ่งเป็นการผลิตเพื่ออุตสาหกรรม ซึ่งต้องคำนึงถึงคุณภาพ ความสม่ำ เสมอ ของผลผลิต และปัญหาค่าแรงงานการเก็บเกี่ยวสูงแล้ว การใช้พันธุ์ลูกผสมก็มีความจำเป็นมากขึ้น

ตารางเปรียบเทียบพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน

การปรับปรุงดินสำหรับปลูก ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn)
ข้าวโพดฝักอ่อนสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่การที่จะปลูกข้าวโพอฝักอ่อนให้ได้ผลดีนั้น ควรปลูกในดิน ร่วนตั้งแต่ดิน ร่วนเหนียว และดินร่วนทราย พื้นที่ปลูกต้องเป็นดินที่ระบายน้ำดีเพราะข้าวโพดฝักอ่อนไม่สามารถ เจริญเติบโต ได้ในดินเปียกแฉะ และระบายน้ำยาก ข้าวโพดฝักอ่อนสามรถปลูกได้ในสภาพดินที่มีปฏิกิริยาตั้งแต่ pH 5.5-7.0 และสามารถปลูกในดินที่เป็นกรด ค่อนข้างจัด

การปรับปรุงและบำรุงดินสำหรับ ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn) ควรทำดังนี้
ใส่ปูน กรณีที่ดินเป็นกรด เช่น ในท้องที่ภาคกลาง ถ้าเกษตรกรยังไม่ได้วิเคราะห์ดิน ก็อาจทำได้โดยการใส่ปูนขาว ในอัตราต่ำ เช่น 100-200 กก./ไร่ การใส่ปูนขาวนอกจากจะช่วยแก้ความเป็นกรดให้แก่ดินแล้ว ยังสามารถให้ธาตุอาหารแคลเซี่ยมแก่พืชด้วย สิ่งที่ควรปฏิบติอีกประการหนึ่งคือ การใส่หินฟอสเฟตบด เพราะจะสามารถเป็นปุ๋ยแก่ข้าวโพดฝักอ่อนอย่างดี นอกจากแก้ความเป็น กรดแล้ว ยังมีธาตุฟอสฟอรัสแล้ว ธาตุอาหารรองและอาหารเสริมปนอยู่อย่างเพียงพอด้วย
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้โครงสร้างของดินดี ชุ่มน้ำและระบายน้ำดีอย่างสม่ำเสมอ ผลผลิตสูง และเปอร์เซ็นต์ฝักมาตรฐาน สูง ปุ๋ยอินทรีย์สามารถใช้ได้ถึง 5 ตันต่อไร่ แต่เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรจัดซื้อหรือหาปุ๋ยอินทรีย์ไม่สะดวกนัก การใส่ขึ้นกับกำลังซื้อ ของเกษตรกร แต่อย่างน้อยเกษตรกรควรใส่ประมาณ 200-300 กก./ไร่ และใส่ทุกปี นอกจากนี้ ต้นข้าวโพดฝักอ่อน หากไม่นำไป ใช้ เป็น อาหารสัตว์ ก็สามารถจะใช้ไถกลบบำรุงดินได้อย่างดี

การเตรียมดินปลูก ข้าวโพดฝักอ่อน ขุดดินหรือพรวนดินให้ร่วนโปร่ง และมีความลึกประมาณ 25 เซนติเมตร แล้วยกร่องเป็นลูกฟูกสูง 25 เซนติเมตร ให้ร่องระบายน้ำได้ สำหรับฤดูฝนให้พื้นที่นาใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักตามที่หาได้เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย

วิธีปลูกข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn) การผลิต ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn) ผลผลิตข้าวโพดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้คือ

  1. จำนวนต้นต่อพื้นที่ (ในกรณีที่มีปัจจัยอื่นๆ เหมาะสม)
  2. พันธุ์
  3. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  4. ปริมาณปุ๋ยที่ใส่
  5. การชลประทาน

ระยะปลูกและอัตราปลูก ขึ้นอยู่กับปริมาณปุ๋ยที่ใส่ ระยะปลูกที่เหมาะสมโดยทั่วๆ ไปใช้ 50×50 จำนวน 3 ต้นต่อหลุม (19,000 ต้นต่อไร่) หรือ 50x40x3 จำนวน 3 ต้นต่อหลุมขึ้นไป แต่ถ้าเพิ่มอัตราปลูกไปถึง 26,000 ต้นต่อไร่ ก็ได้แต่ไม่ควรเพิ่มมากกว่านี้ไม่มีประโยชน์ อาจเพิ่มโดย วิธีจำนวนต้นต่อหลุม อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจำนวนผลผลติจะขึ้นอยู่กับจำนวนต้นพืชต่อพื้นที่ปลูก แต่ถ้าหากว่าเพิ่มจำนวนต้นต่อ พื้นที่ มาก จนเกินความพอดี ก็อาจทำให้เกิดผลต่างๆ ตามมา

  1. น้ำหนักของฝักจะลดลง
  2. ขนาดของฝักจะลดลงทั้ความยาวและความกว้าง
  3. ทำให้จำนวนฝักต่อต้นลดลง
  4. ทำให้ปริมาณของต้นที่ไม่มีฝักมากขึ้น
  5. ทำให้ต้นล้มและเกิดโรคเน่าคอดินมากขึ้น
  6. ทำให้เจริญเติบโตช้าและต้นเตี้ยกว่าปกติ

อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn) ที่ใช้ในการปลูก
ถ้าเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ เช่น รังสิต 1 สุวรรณ 1 หรือ 2 จะใช้เมล็ดพันธุ์ 6-7 กก.ต่อไร่ แต่ถ้าเป็นข้าวโพดหวานจะ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3-5 กก.ต่อไร่ ส่วนการหยอดจำนวนเมล็ดต่อหลุมนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของจำนวนต้นต่อหลุม เช่น หากต้องการ 3 ต้นต่อหลุมก็จะหยอดเมล็ด 4-5 เมล็ดต่อหลุมเป็นต้น (ในกรณีนี้เมล็ดจะต้องมีความงอกไม่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์)

การใส่ปุ๋ยข้าวโพดฝักอ่อน
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อข้าวโพดฝักอ่อน ได้แก่ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ส่วนโปแตสเซี่ยมสำคัญเป็นอันดับรอง ดังนั้น ในท้องที่มี ความอุดมสมบูรณ์สูง ปุ๋ยที่จะใช้ในการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนนั้นไม่จำเป็นต้องใส่ครบทุกธาตุอาหาร แนวทางปฏิบัติในการ ใช้ปุ๋ย สรุปกว้าง ๆ ได้ดังนี้

  1. ในสภาพสวนยกร่อง ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนติดต่อกัน ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ รองก้นหลุมตอนปลูกและโรยข้างแถว เมื่อข้าวโพดอายุ 25-30 วัน ครั้งละครึ่งของปริมาณทั้งหมด
  2. ในดินนาตามหลังข้าว ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว อัตรา 15-30 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีใส่เช่นเดียวกับข้อ 1
  3. ในพื้นที่ไร่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำ ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้มาก 1-2 ต้นต่อไร่ ปุ๋ยเคมีใช้ 15-15-15 อัตรา 75-100 กก.ต่อไร่ รองก้นหลุมตอนปลูกและปุ๋ยไนโตรเจน 10-15 กิโลกรัม ต่อไร่ โรยข้างแถวเมื่ออายุ 25-30 วัน ถ้าดินดีใช้ปุ๋ยไนโตรเจน อย่างเดียว 20 กก.ต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง

การให้น้ำกับข้าวโพดฝักอ่อน การให้น้ำกับข้าวโพดฝักอ่อน จะต้องเอาใจใส่ใกล้ชิด เพราะข้าวโพดฝักอ่อนจะเจริญเติบโตได้ดี มีฝักสมบูรณ์ พื้นดินที่ใช้ ปลูกต้องมี ความชื้นตลอดฤดูปลูกระมัดระวังอย่าให้ถึงกับแฉะจะชะงักการเจริญเติบโต การขาดน้ำหรือปล่อยให้ดินแห้ง ช่วงใดช่วงหนึ่งของการ เจริญ เติบโต จะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก เช่นกัน และมีผลกระทบถึงผลผลิตขนาดฝักอ่อนและคุณภาพของฝัก โดยเฉพาะ ฝักที่มีรูปร่างผิดปกติจะเกิดขึ้นมากถ้าขาดน้ำในช่วงติดฝักอ่อน อาจกล่าวได้ว่า ข้าวโพดฝักอ่อนต้องการน้ำโดยพิจารณาดินในระดับบน คือ 0-20 ซม. ตลอดฤดูปลูก ในการปฏิบัติทั่วไปการให้น้ำ ในฤดูแล้ง คือขณะที่ข้าวโพดยังเล็ก ให้น้ำทุก 2-3 วัน เมื่อต้นสูงประมาณ 50-60 เซนติเมตร หรือสูงประมาณหัวเข่า ให้น้ำทุก 5-7 วัน ต่อจากนั้นให้น้ำเมื่อดินในแปลงเริ่มแห้ง

การพรวนดิน และการกำจัดวัชพืช ข้าวโพดฝักอ่อนมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น แม้จะมีวัชพืชขึ้นแต่ไม่ทำให้ผลผลิตลดลง การใส่ปุ๋ญในช่วงข้าวโพดมีอายุ 15-20 วัน จะช่วย กำจัดวัชพืชเหมือนกับมีการพรวนดิน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง แต่ถ้าจะทำเพียงครั้งเดียวก็พอ หรือถ้าต้องการใช้สารเคมีกำจัด วัชพืช ก็ใช้ อลาคอร์ อัตรา 600-700 ซีซีต่อไร่ ฉีดพ่นหลังจากปลูกขณะที่ข้าวโพดและวัชพืชยังไม่งอก

การถอดยอด เมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 38 วัน หรือเมื่อมีใบจริงครบ 7 คู่ ช่อดอกตัวผู้จะเริ่มโผล่ออกมาจากใบธง (ใบยอด) ให้ดึงช่อดอกตัวผู้ทิ้ง โดย ใช้มือหนึ่งจับลำต้นไว้ อีกมือหนึ่งจับใบข้าวโพดที่บานอยู่ตรงกลางของยอด ดึงออกมาตรงๆ การถอดยอดเพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิด การผสมเกสร เพราะถ้ามีการผสมเกสรเกิดขึ้น ข้าวโพดฝักอ่อนจะมีคุณำาพด้อยลง เนื่องจากเมล็ดจะโป่งพอง และทำให้ข้าวโพด ไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ นอกจากนี้การถอดยอดยังช่วงเย่งให้สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น และยังช่วยให้ผลผลิต ข้าวโพด ฝักอ่อน เพิ่มขึ้นด้วย การถอดยอดเป็นเทคนิคสำคัญที่เกษตรกรไม่ควรละเลยเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี

การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดฝักอ่อนจะเก็บเกี่ยวได้หลังจากดึงช่อดอกตัวผู้แล้วประมาณ 3-5 วัน การเก็บเกี่ยวมีข้อพึงปฏิบัติดังนี้

  1. สังเกตจากไหม เริ่มโผล่พ้นปลายฝัก มีความยาว 1-2 เซนติเมตร จะเป็นช่วงที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวที่สุด
  2. เก็บเกี่ยวจากฝักบนสุดเป็นฝักแรก และฝักอื่นๆ ถัดต่ำตามลงมา การหักฝักควรหักให้ติดลำต้นไปด้วย เพราะจะทำให้มองเห็นต้น ที่เก็บเกี่ยวแล้ว
  3. เก็บเกี่ยวทุกวัน เพื่อมิให้ฝักแก่เกินไป
  4. ถ้าเกษตรกรใช้พันธุ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่มีความชำนาญ เนื่องจากพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนแต่ละพันธุ์จะมีอายุแตกต่างกัน ตั้งแต่ 40-60 วัน เกษตรกรจึงควรเก็บตัวอย่างข้าวโพดที่มีไหมยาวแตกต่างกันมากรีดดูรูปร่างและขนาดของฝัก จะทำให้รู้ว่า ควรเก็บฝักตอนที่ไหมยาว ขนาดไหน
  5. การเก็บฝักเพื่อส่งออกในรูปฝักสด ควรเก็บเกี่ยว 2 ฝักต่อต้น เกษตรกรไม่ควรเก็บฝักที่ 3 เนื่งอจากฝักมักจะไม่สมบูรณ์ ไม่ได้ คุณภาพ ส่งออก การเก็บเกี่ยวข้าวโพดอ่อนในระยะเวลาถูกต้อง เป็นหัวใจสำคัญของการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน คุณภาพจะดี หรือไม่ขึ้น อยู่กับช่วงนี้ หากเก็บเกี่ยวไม่ถูกต้อง เช่น ช้าไป ไหมโผล่ยาวจากฝักมากจะได้ฝักที่มีขนาดใหญ่เกินมาตรฐานความต้องการของ โรงงาน หรือผู้ส่งออกฝักสด ซึ่งต้องคัดออกเป็นปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง

มาตรฐานของ ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn) เพื่อจะผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่มีคุณภาพดี เกษตรกรจะต้องรู้มาตรฐานและคุณภาพของข้าวโพดฝักอ่อนที่ผู้ซื้อต้องการ

มาตรฐานข้าวโพดฝักอ่อน

ขนาดของ ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn)เพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรม จำแนกเป็น 3 เกรด คือ

  1. 9-13 ซม. (L)
  2. 7-9 ซม. (M)
  3. 4-7 ซม. (S)

ส่วนใหญ่โรงงานจะผลิตเกรด S, M มากกว่า L

คุณภาพ ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn) ที่ต้องการ คือ
สีของฝัก มีสีเหลืองหรือครีม
ฝักสมบูรณ์ การเรียงของไข่ปลาตรง ไม่หัก เน่า หรือแก่เกินไป
ฝักไม่มีรอยกรีด ไม่มีเศษไหมติด
ฝักสด ไม่เหี่ยวแห้ง ไม่ผ่านการแช่น้ำ
ตัดขั้น และตัดแต่งระหว่างรอยขั้นกับฝักเรียบร้อย

การรักษาคุณภาพ ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn)หลังการเก็บเกี่ยว

  1. เมื่อเก็บฝักข้าวโพดฝักอ่อนแล้ว เกษตรกรควรรีบนำเข้าที่ร่ม หรือโรงเรือนที่มีการระบายอากาศที่ดี พยายามจัดวางให้ผลผลิต ได้ระบาย ความร้อน ไม่ควรเก็บข้าวโพดฝักอ่อนไว้เป็นกองสูง ๆ และไม่ควรทิ้งไว้หลายวัน ถ้าเป็นไปได้ ควรนำมาลอกเปลือกออก ทันทีหลังการเก็บเกี่ยว
  2. ในการขนส่งควรทำโดยเร็วที่สุด และไม่กองฝักข้าวโพดบนพื้นดิน หรือพื้นรถบรรทุกโดยตรง ควรใส่ในภาชนะ ข้าวโพดฝักอ่อน ที่ปอกเปลือกแล้ว ควรบรรจุในกล่องกระดาษ หรือตะกร้าพลาสติกที่มีรูระบายอากาศ
  3. การปอกเปลือกข้าวโพดอ่อน ต้องกรีดไม่ให้เกิดบาดแผล ลอกไหมให้เกลี้ยง เครื่องมือที่ใช้ เช่น มีด ภาชนะบรรจุ ต้องสะอาด
  4. ทำความสะอาดเพื่อลดปริมาณเชื้อราตามที่ต่างๆ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ มีด หรือภาชนะที่ใช้ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวถึงการบรรจุหีบห่อ และทำความสะอาดห้องเก็บรักษาในรูปของแก๊สหรือใช้สารละลายที่ฆ่าเชื้อโรคภายนอก เช่น ฟอร์มาดีไฮด์ อัตรา 1-2 เปอร์เซ็นต์ ในน้ำฉีดพ่นหรือใช้โซเดียวไฮโปคลอไรด์ เป็นต้น
  5. สำหรับผู้ส่งออก ควรลดอุณหภูมิข้าวโพดฝักอ่อนที่มาจากแปลงปลูกโดยเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ วิธีที่นิยมใช้คือ การอัดลมเย็น (forced-air cooling) จะทำให้ลดการระบาดของการเน่า ลดการสูญเสียน้ำและความหวาน ยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น
  6. อุณหภูมิที่ใช้ในระหว่างการเก็บเกี่ยว หรือระหว่างการขนส่ง คือ 5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95 เปอร์เซ็นต์
  7. การบรรจุหีบห่อที่เหมาะสม ไม่บรรจุมากเกินไปในกล่องเดียวกัน การเก็บรักษาในถาดโฟมที่หุ้มด้วยฟิล์ม PVC จะช่วยป้องกัน ผลผลิตให้คงมีคุณภาพดี

ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn) กับข้อควรปฏิบัติ คือ หลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผลหรือความชอกช้ำบนฝัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่การปอกเปลือกตลอดจนการบรรจุหีบห่อ การขนส่งและการปฏิบัติ อื่น ๆ หลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการที่เชื้อราและบักเตรีบางชนิดเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น

ผลพลอยได้จากการผลิต ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby corn) นอกจากนี้เกษตรกรยังจะมีรายได้จากการขายต้นข้าวโพด เปลือกและไหมและช่อดอกตัวผู้โดยสามารถนำ ไปใช้เลี้ยงวัวนม ได้เป็น อย่างดี ผู้เลี้ยงวัดนมจะรับซื้อต้นสดจากแปลงข้าวโพดที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวแล้วในราคาไร่ละ 300-400 บาท สำหรับช่อดอกตัวผู้ที่ ถอดทิ้ง ขายได้ในราคา 70-80 บาทต่อไร่ต่อครั้ง ต้นข้าวโพดสดและเปลือกมีคุณค่าทางอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนที่เป็นประโยชน์ ถึงร้อยละ 13.2 และมีเยื่อใย สูงถึงร้อยละ 34.8 ซึ่งคุณค่าทางอาหารดังกล่าวมีค่าใกล้เคียงกับคุณค่าทางอาหารที่ได้จากหญ้าขนสด และยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารของวัวทำงานดีขึ้น

12 Comments

  1. กๆไ

    ดี

  2. bird

    อยากปลูกข้าวโพดฝักอ่อนเป็นอาชีพเสริมจะหาตลาดที่ไหนบ้าง ตอนนี้อยู่ อำเภอกงไกรลาศ จ.สุโขทัย

  3. สุรีรัตน์

    รับซื้อข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน จำนวนมาก
    โรงงานตั้งอยู่ จังหวัดพะเยา
    สนใจติดต่อสอบถามไ้ด้ค่ะ 081-0201363 สุรีรัตน์
    sureerat@agro-on.com

  4. สุรีรัตน์

    รับซื้อ ข้าวโพดหวาน ราคาโรงงาน รับซื้อตลอดทั้งทั้งปี รับซื้อเป็นจำนวนมาก โรงงานตั้งอยู่ จังหวัดพะเยา
    สามารถโทรสอบถามรายละเอียดได้
    081-0201363 ติ๊ก

  5. เท่

    อยากสี่จังเลย

  6. max

    คือ ต้องการหาตลาดรับซื้อข้าวโพดที่เชียงใหม่ครับ ใครพอจะรู้ หรือขายอยู่ กรุณาตอบทีครับ มีที่ไหนบ้างครับขอบคุณ

  7. Anonymous

    อยากทราบราคารับซื้อของตลาดข้าวโพดอ่อนที่เข้าโรงงาน

  8. sukkamon

    รับซื้อราคาโรงงานที่จังหวัดพะเยา อยากทราบราคาโรงงานราคาเท่าไร

  9. นิ่ม

    อยากปลูกข้าวโพดฝักอ่อนเป็นอาชีพเสริมจะหาตลาดที่ไหนบ้าง ตอนนี้อยู่ จ.ชัยูมิ

  10. พรรณี โอชวิทูรพจน์

    ระวังคนที่ชื่อสมมาตร ม่วงเอม บอกว่าซื้อขายเข้าตลาดสด แต่ตอนนี้ติดหนี้ที่เชียงใหม่เป็นเงินหลายแสนบาท.ใครที่คิดค้าขายกับคนคนนี้ระวังไม่ได้เงิน

  11. สราวุธ

    ผมมีข้าวโพดหวานปลูกที่ลำพูนผลผลิตมีตลอดปีต้องการหาตลาดฝัก และตลาดต้นข้าวโพดหวานครับ

  12. สราวุธ

    0811654282เบอร์โทรครับ

Leave a Reply

Vegetweb *สงวนลิขสิทธิ์ หากนำบทความไปใช้บนเว็บไซต์ต้องเชื่อมโยงลิ้งก์กลับมายังหน้านั้น