สมุนไพร

ขี้เหล็ก Cassia siamea Lamk

ขี้เหล็ก Cassia siamea Lamkขี้เหล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cassia siamea Lamk ชื่อในท้องถิ่นต่างๆ เช่น ขี้เหล็กบ้าน(ลำปาง), ขี้เหล็กใหญ่(ภาคกลาง), ขี้เหล็กหลวง(ภาคเหนือ), ขี้เหล็กจิหรี่(ภาคใต้), ยะหา(ปัตตานี)

ลักษณะของขี้เหล็ก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเป็นแบบใบรวม มีใบย่อยประมาณ 10 คู่ ใบเรียว ปลายใบมนหยักเว้าหาเส้นใบเล็กน้อย โคนใบกลม สีเขียว ใต้ใบซีดกว่าด้านบน และมีขนเล็กน้อย ดอกขี้เหล็กเป็นช่อสีเหลือง ฝักแบนหนา ต้นขี้เหล็กสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย โดยใช้เมล็ดปลูก

คุณค่าทางอาหารของขึ้เหล็ก ดอกตูมและใบอ่อนของขี้เหล็ก มีรสขม อาจต้องนำมาคั้นน้ำทิ้งก่อน จึงจะนำมาปรุงอาหาร นิยมใช้ทำแกงกะทิ หรือทานเป็นผักจิ้ม ช่วยระบายท้องได้ดี ทั้งดอกตูมและใบอ่อนมีสารอาหาร เช่น วิตามินเอ วิตามินซี ค่อนข้างสูง ซึ่งในส่วนของดอกจะมากกว่าใบ ส่วนใบขี้เหล็กบ่มรวมกับผลไม้ ช่วยให้ผลไม้สุกเร็ว

ส่วนที่ใช้เป็นยาของขี้เหล็ก คือ ทั้ง ราก ต้น ใบ ดอก ผล สรรพคุณทางยาไทย ดอกตูมและใบอ่อน รสขม ช่วยระบายท้อง ทำให้นอนหลับ ช่วยเจริญอาหาร

ประโยชน์ทางยาของขี้เหล็ก มีสารชื่อว่า บาราคอล(BaraKol) อยู่ในใบอ่อนและดอกตูม และยังพบว่าสารอัลคาลอยด์(alkaloid) ในใบขี้เหล็ก มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ช่วยให้นอนหลับได้

ขี้เหล็กเป็นยารักษาโรค ดังนี้

  1. อาการท้องผูก ใช้แก่นขี้เหล็กราว 1 กอบ(ประมาณ 50 กรัม) ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารหรือก่อนนอน
  2. อาการนอนไม่หลับ กังวล เบื่ออาหาร ให้ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใช้ใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำรับประทานก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า ใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน คนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ กรองกากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก ทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนนอน (และอย่ากินเยอะเดี๋ยวเมา)

1 Comment

  1. Anonymous

    ขอบคุงๆ

Leave a Reply

Vegetweb *สงวนลิขสิทธิ์ หากนำบทความไปใช้บนเว็บไซต์ต้องเชื่อมโยงลิ้งก์กลับมายังหน้านั้น