ขนุนมีชื่อสามัญว่า Jackfruit หรือมีอีกชื่อนึงทางวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpus heterophyllus Lamk.
โดยในแต่ละภาคก็จะมีชื่อที่แตกต่างกันเช่น ในภาคใต้และเหนือ จะเรียกคล้ายๆกันว่า ขะ-หนุน ส่วนภาคอีสานจะเรียกอีกอย่างนึงว่า หมักมี่
โดยขนุนนั้นมีถื่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย โดยมีลักษณะทางพฤกศาสตร์ดังนี้
ขนุนจัดว่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางเพราะลำต้นสูงประมาณ 15เมตร ไม้จะเป็นเนื้ออ่อน พร้อมกับมียางขาว
ใบจะมีลักษณะ กลมรีแต่ปลายแหลมและ ใบจะออกสลับกัน มีสีเขียวมันเงา
ดอกออกเป็นช่อมีสีเขียว โดยทั้งตัวผู้และตัวเมียก็จะอยู่ที่ต้นเดียวกัน โดยช่อดอกตัวผู้จะออกเป็นช่อและจะออกที่บริเวณง่ามใบหรือแถวๆปลายกิ่ง ออกมายาวประมาณ 2.5ซม. โดยดอกย่อยจะมีเกสรตัวผู้อยู่หนึ่งอัน ส่วนช่อดอกตัวเมีย จะมีลักษณะเป็นแท่งกลมยาวออกบริเวณลำต้น
ส่วนของผลขนุน มีลักษณะกลมยาว จะออกมามีขนาดเล็ก ก่อนรวมกันเป็นผลใหญ่โดยที่มีเปลือกด้านนอกลักษณะเหมือนมีหนามอยู่รอบๆผล เมื่อผลมีขนาดใหญ่จะมีน้ำหนักประมาณ 10-20 กิโลกรัม โดยที่เนื้อในจะมีสีเหลือง เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม
ฤดูกาลที่ขนุนออกคือ ช่วงธันวาคมถึงเเดือนมกราคา ครั้งที่1 และช่วงเมษายนถึงพฤษภาคม เป็นครั้งที่2 และส่วนใหญ่ผลจะสุกมาในช่วง มกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
โดยขนุนมีความพิเศษที่สามารถปลูกได้ทุกที่ทั่วประเทศไทย และสมัยก่อนมักจะนิยมปลูกกันไว้ตามบ้านเพื่อเก็บไว้รับประทานเพราะขนุนสามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่างเช่น ซังและยอดอ่อนนำไปทำแกงได้ ทั้งใบและยอดสามารถนำมาต้มกินเป็นผักสดหรือกับแกล้มก็ได้ ผลอ่อนนำไปต้มจิ้มน้ำพริกก็อร่อย ผลสุกกินสดได้เลยทั้งหวานหอมอร่อย หรือจะนำมาใส่ในลอดช่องก็อร่อยเหาะ
สรรพคุณทางยา:
1. ผลแก่และผลอ่อน ช่วยบำรุงเรื่องผิวพรรณได้ และสามารถนำมาใช้เป็นยาระบายได้อีกด้วย
2. เปลือกที่หุ้มเมล็ดอยู่ สามารถบำรุงกำลังได้ โดยนำมาบดแล้วผสมเข้ากับน้ำผึ้งแล้วรับประทาน
3. ใบสด สามารถนำมาพอกแผลได้โดยการทำให้ละเอียดก่อน
4. ถ้าใบแห้ง สามารถนำมาโรยที่แผลได้หลังจากบดให้ละเอียด เพื่อรักษาแผลที่มีอาการเป็นหนอง
5. ถ้าหากมีอาการบวมหรืออักเสบ สามารถนำยางมาทาที่บริเวณที่อักเสบได้
6. ช่วยรักษาแผลหนอง ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
7. สำหรับสตรีมีครรภ์ ก็จะมีฤทธิ์ช่วยขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตรแล้วได้ดี
คุณค่าทางอาหารในขนุนอ่อน 100กรัม จะประกอบไปด้วย
- พลังงาน 20กิโลแคลอรี่
- แคลเซียม 8กรัม
- ฟอสฟอรัส 5มิลลิกรัม
- เหล็ก 0.5กรัม
- วิตามินบี1และบี2 0.5, 0.05 มิลลิกรัม