ขจร
ชื่อสามัญ: Cowslip Creeper Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์: Telosma minor Craib.
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ: ในแต่ละภาคก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ในภาคกลางเราก็จะเรียกขจร หรือ สลิด ส่วนในภาคเหนือเราจะเรียกกันว่า กะจอน/ผักสลิด
ถิ่นกำเนิดของขจร: ถิ่นกำเนิดของขจรนั้น อยู่แถวทวีปเอเชียเรานี่เอง ซึ่งปะเทศที่เป็นถิ่นกำเนิดของเอเชียได้แก่ ประเทศจีนและอินเดีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของขจร
ขจรนั้นจัดได้ว่าเป็นไม้เลื้อย ที่ลำต้นมักจะเลื้อยพันไปกับต้นไม้ใหญ่ ส่วนปลายของใบจะมีลักษณะแหลมคล้ายกับรูปหัวใจ กว้างประมาณ 4-8ซม. ยาวประมาณ 6-10ซม. ก้านใบยาวประมาณ 1-2ซม. ดอกจะออกเป็นช่อตามซอกกิ่ง โดยจะมีกลีบดอกสีเหลืองอ่อน ฝักจะมีขนาดเล็ก ลักษณะยาวรี โดยเมล็ดเกาะอยู่กับใยสีขาว และฝักจะแตกออกเมื่อแก่ได้ที่ ส่วนเมล็ดก็จะดีดออกไปตามที่ต่างๆ
ฤดูกาลที่ขจรเจริญเติบโต: ขจรจะเจริญเติบโตในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกรกฎาคม ซึ่งจะอยู่ในช่วงฤดูฝน
แหล่งปลูก: ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกกันในจังหวัดอุบลธานีและจังหวัดอ่างทอง แต่โดยปกติแล้วต้นขจรจะขึ้นได้เองตามธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งเราจะสามารถพบได้ตามป่าดิบแล้ง หรือพบเห็นปลูกกันตามหน้าบ้าน
เมนูที่ทำจากขจร: ขจรสามารถนำมากินสดๆจิ้มกับน้ำพริกก็ได้ และสามารถนำใบอ่อน/ดอกตูมมาผัดกับน้ำมันมารับประทานได้ หรือจะนำไปใส่กับแกงป่า, แกงส้ม
สรรพคุณทางยาและประโยชน์ของขจร
ขจรนั้นถือว่ามีสรรพคุณต่างๆมากมาย ดังต่อไปนี้
- รากสามารถนำมาบดผสมกับยาหยอดตาได้ เพื่อรักษาอาการตาอักเสบ
- ช่วยบำรุงตับได้
- ช่วยขับเสมหะ
- ช่วยเรื่องโลหิตเป็นพิษได้
- ช่วยทำให้อาเจียนเพื่อรักษาอาการเป็นพิษเบื่อเมาได้
- ดอกจะช่วยบำรุงปอดและตับได้
- ดอกยังช่วยบำรุงร่างกายสำหรับสตรีมีประจำเดือนด้วย
- ช่วยบำรุงหัวใจได้
- ดอกยังสามารถช่วยอาการวิงเวียนและอาการคลื่นไส้ได้
- ช่วยเรื่องของระบบขับถ่าย
คุณค่าทางอาหารของขจร
โดยในขจร 100กรัม จะประกอบไปด้วย
- พลังงานประมาณ 70 กิโลแคลอรี่
- เส้นใย 2กรัม
- เหล็ก 1มิลลิกรัม
- แคลเซียม 70มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 90มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 3,000IU
- วิตามินบี1 0.1ใิลิกรัม
- วิตามินซี 5มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 1.5มิลลิกรัม