กล้วย
กล้วย (Banana) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Musa sapientum Linn.
กล้วยมีชื่อเรียก ตามภาคต่างๆดังนี้ ภาคใต้เรียกกลวย ส่วนภาคเหนือและภาคอีสานเนี่ยเรียกว่าก้วย
กล้วยมีถิ่นกำเนิด : อยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : กล้วยมีลักษณะเป็นพืชไม้ล้มลุก ลำต้นกล้วย เกิดขึ้นจากกาบ หุ้มช้อนกัน แผ่นใบกว้าง เป็นใบเดี่ยว ปลายใบมน มีติ่ง ก้านใบยาว เส้นขอบใบขนานกัน สีเขียว ผิวใบเรียบลื่น ด้านล่างมีลักษณะ คล้ายแป้ง ปกคลุม ขอบและเส้นใบเรียบ ความยาวและขนาดของใบ ขึ้นอยู่ กับ แต่ละสายพันธุ์ และจะเริ่มออกเป็นดอก ห้อยลงมา มีกาบสีแดงหุ้มปกคลุม เป็นรูปกลมรี ช่อดอกเมื่อโตขึ้น จะกลาย เป็นผล แต่ละผลรวมกัน เรียกว่าหวี หลายๆหวีรวมกัน เรียกว่าเครือ ปลายของเครือ จะมีหัวปลี ที่มีลักษณะคล้ายกับดอกกล้วย กล้วยแต่ละชนิด จะมีขนาดและสี ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ชนิดของแต่ละสายพันธุ์ เช่น สีแดง สีเขียว สีเหลือง เมล็ดกลมขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดสีดำ มีความหนาและเหนียว เนื้อในเมล็ดสีขาว
ฤดูกาลของกล้วย : กล้วยถือว่าเป็นพืชที่ปลูกง่ายขึ้นได้โดยทั่วไป แต่ที่สำคัญคือ กล้วย 1 ต้น ให้ผลผลิต ได้เพียงครั้งเดียว ก็จะตาย
แหล่งปลูก : กล้วยปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย แหล่งที่ปลูกมากที่สุด มีจังหวัดดังนี้ หนองคาย ระนอง นครราชสีมา เลย กำแพงเพชร เพชรบุรี กาญจนบุรี ตาก ชุมพร
การกิน : นิยมกินกล้วยสุก กินสด หรือนำมาทำเป็น แปรรูปได้เช่น ทำกล้วยตาก กล้วยบวชชี ขนมกล้วยและอีกต่างๆ เช่น ถ้ากล้วยสุกเหลืองงอม ก็นำมาทำ เป็นไส้ กล้วยข้าวต้มมัด หรือถ้า สุกห่าม ก็นำมาทำเป็น กล้วยเชื่อม กล้วยปิ้ง กล้วยที่สุกกำลังดี จะนำมาทำเป็นกล้วยทอด หรือกล้วยตาก แต่ถ้ากล้วยสุกงอมมาก สามารถนำมาทำเป็นกล้วยกวน หรือขนมกล้วย นอกจากทำเป็นขนมแล้ว กล้วยยังสามารถ ทำเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ตำกล้วย แกงหมูใส่กล้วยดิบ เมี่ยงกล้วย หรือนำมาใช้กับ แกงเผ็ดชนิดต่างๆได้ ส่วนหัวปลี ที่นิยม จะนำมาทำเป็นเครื่องเคียง ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เต้าเจี้ยวหลน หรือกะปิหลน ปีกกล้วย ที่นิยม นำมาทำประกอบอาหารนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ปลีกล้วยของกล้วยน้ำว้า เพราะจะฝาดน้อยกว่า กล้วยพันธุ์อื่น อาหารที่ใช้หัวปลีเป็นส่วนประกอบ เช่นแกงเลียงหัวปลีกะทิ ไก่ต้มยำหัวปลี หยวกกล้วย ที่ใช้ประกอบอาหารได้ ส่วนใหญ่ จะใช้หยวกกล้วยตานี หยวกกล้วยป่า หรือหยกกล้วยน้ำว้า ซึ่งอาหารที่ใช้หยวกกล้วย เป็นส่วนประกอบนี้ เช่น แกงเหลืองหยวกกล้วย ห่อหมกหยวกกล้วย ผัดหยวกกล้วย ใส่กุ้ง นอกจากนี้ยังนำมาปั่น ทำเป็นน้ำส้มสายชู หรือทำเป็นเครื่องดื่ม เป็นต้น
สรรพคุณทางยาและคุณประโยชน์ของกล้วย :
1. กล้วยเป็นอาหารที่มีโปรตีนใกล้เคียง นมแม่ และให้พลังงานสูง จึงเป็นอาหารเสริมที่ดีที่สุด สำหรับทารก อายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และ ผู้สูงอายุด้วย โดยใช้กล้วยสุก เพราะย่อยง่ายซึ่งเชื่อกันว่า กล้วยน้ำว้า กินกับน้ำผึ้ง ทุกวัน จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง และเป็นยาอายุวัฒนะ
2. กล้วยดิบหรือกล้วยสุก มีสรรพคุณ แก้อาการผิดปกติ ของระบบทางเดินอาหาร โดยนำ กล้วยน้ำว้าดิบ หรือกล้วยหักมุก มาหั่น ชิ้นบางๆ ตากให้แห้ง แล้วนำไปบดผสมน้ำผึ้ง ใช้เป็นยา แก้ อาการ ท้องผูก และโรคกระเพาะอาหารได้เพราะกล้วยสุกจะมีสารเพ็กติน(pectin) ช่วยเป็นกาก และกระตุ้นให้ลำไส้ ทำงานได้ดี ขึ้น
3. กล้วยดิบ แก้ ท้องเสีย ที่ไม่เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย ที่ร้ายแรง ได้ เพราะในกล้วยดิบ มีสาร แทนนิน(tannin) ซึ่งเป็นยาสมาน โดยการนำกล้วยดิบมาปิ้งให้สุกกรอบ กิน ครั้งละ 1-2 ลูก โดยกินวันละ 3-4 ครั้ง จะช่วยแก้อาการ ท้องเสียได้
4. ปลีกล้วย รักษาโรค โลหิตจาง โดยการนำ ปลีกล้วย มาทำแกง กินบำรุง น้ำนมในแม่ลูกอ่อนได้ หรือ
5. นำมาคั้น ดื่มแก้โรคเบาหวาน และแก้ปวดท้อง
6. กาบกล้วย สามารถนำมาวาง ตาม ตัวที่ร้อน เนื่องจากพิษไข้ สรรพคุณ จะช่วยลดไข้ ได้ หรือ
7. นำกาบกล้วย มาคั้นเอาน้ำ มาใช้ช่วยลดอาการปวดซึ่งเกิดจากสัตร์มีพิษกัดได้
8. ก้าน ใช้ห้ามเลือด ใบอ่อนใช้พันแผล ส่วนใบ นำมาอังไฟ ใช้ประคบ ช่วยลดอาการปวด เมื่อยได้
9. เปลือกกล้วย ใช้ทาบริเวณ แมลงกัด รักษาอาการผื่นคัน
10. ยางจากใบ ใช้ห้ามเลือดได้ โดยหยดยางลงบนแผล ส่วนลำต้นใต้ดิน รักษาแผลไฟไหม้ หรือ รอยไหม้ ที่เกิดจากการ ตากแดดนานๆ
11. รากกล้วยดิบ ต้มน้ำดื่มแก้ร้อนใน ส่วนราก นำมาคั้นน้ำ ดื่มแก้โรคขัดเบา หรือแก้ปวดฟันได้
คุณค่าทางอาหารของกล้วยน้ำว้าสุก 100 กรัม
- ให้พลังงาน 100 kcal ประกอบด้วย
- คาร์โบไฮเดรต 26.1 g
- โปรตีน 1.2 g
- แคลเซียม 12 mg
- ไขมัน 0.3 g
- ฟอสฟอรัส 32 mg
- วิตามินซี 14 mg
- น้ำ 71.6กรัม
- เหล็ก 0.8 mg