กลอย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Doscorea hispida Dennst.

ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ: โดยทั่วไปโดยเฉพาะภาคกลางจะเรียกกันว่า มันกลอย แต่ในแถบภาคเหนือ จะเรียกว่า กอย, กลอยนก และในจังหวัดต่างๆก็จะเรียกกันแตกต่างกันไปด้วย เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช จะเรียกว่า กลอยหัวเหนียว หรือ กลอยข้าวเหนียว ส่วนในจังหวัดชุมพรจะเรียกว่า กลอยข้าวเจ้า, กลอยระกำ, กลอยหัวช้าง, กลอยข้าวเหนียว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกลอย

กลอยนั้นจัดได้ว่าเป็นไม่เลื้อย โดยจะมีหนามเล็กๆอยู่ตามลพต้นพร้อมด้วยขนสีขาวปกคลุมอยู่ตามหัวกลอย โดยส่วนหัวจะอยู่ใต้ดินพร้อมด้วยรากที่มีอยู่ทั่วทั้งหัวกลอย และหัวกลอยมีลักษณะกลมรี สีน้ำตาลอมเหลืองเนื้อข้างในจะมี 2สีคือ สีครีมและสีขาว และมีชื่อเรียกต่างกัน สีขาวนั้นเราจะเรียกกันว่า “กลอยหัวเหนียว”  ส่วนสีครีมนั้น  จะเรียกว่า “กลอยเหลือง” หรือ “กลอยไข่” โดยกลอย 1ต้น จะมีหัวกลอยอยู่ได้ถึง 3-6หัว

ใบ เป็นรูปรีที่มีปลายแหลม ผิวใบสาก ขอบเรียบ โดยจะมีใบย่อยๆ 3ใบ

ดอก จะออกตามซอกใบบนก้านดอก และจะออกมาลักษณะเป็นช่อมีสีขาว จำนวน 20-50ดอกโดยประมาณ ก้านดอกจะยาวย้อยลงมา

ดอกผล จะมีลักษณะคล้ายกับผลมะเฟือง มี 3พู โดยแต่ละพูจะมี เมล็ดอยู่ 1เมล็ด ซึ่งเมล็ดจะมีปีกบางใสๆอยู่รอบๆเมล็ด ลักษณะเมล็ดจะกลมแบนกลอย

ฤดูกาลที่กลอยเจริญเติบโด: กลอยจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน

แหล่งปลูก: เราจะสามารถเจอกลอยได้ตามแหล่งดอนที่สามารถระบายน้ำได้ดี และแดดไม่จัดมาก

เมนูที่ทำจากกลอย:

ปกติกลอยจะไม่ค่อยนิยมรับประทานกัน เพราะกลอยนั้นมีสายที่ชื่อว่า dioscorine ซึ่งเป็นพิษที่จะทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ อาเจียนได้  แต่การกินกลอยก็สามารถกินได้ ถ้าหากทำตามในกรรมวิธีต่อไปนี้

  1. นำหัวกลอยมาปอกเปลือก หลังจากนั้นหั่นเป็นแว่นๆ
  2. นำไปแช่น้ำ แช่1วันแล้วน้ำจะไม่ใส ให้เปลี่ยนน้ำแล้วแช่ใหม่จนกว่าน้ำจะใส
  3. หาของหนักพยายามทับไว้จนน้ำออกหมด

หลังจากนั้นจึงสามารถนำไปทำเมนูต่างๆได้ เช่น สมัยก่อนนั้น นิยมทานกลอยนึ่งแทนข้าว, แกงบวด, ข้าวเหนียวกลอย หรือจะนึ่งแล้วนำไปคลุกกับน้ำตาลและมะพร้าวก็ได้

สรรพคุณทางยาและประโยชน์ของกลอย

ถึงแม้ว่ากลอยนั้นจะมีพิษ แต่ถ้าหากกทำถูกวิธี กลอยนั้นก็มีประโยชน์มากเหมือนกัน เช่น

  1. เนื้อกลอยเป็นยาแก้ฝ้าทำให้หน้าขาวได้ โดยวิธีการทำก็คือ ให้นำเนื้อกลอยดิบๆฝนและผสมกับน้ำมะนาว แล้วนำไปพอกหน้าไว้ก่อนนอน และให้ล้างออกในตอนเช้า ขะช่วยรักษาฝ้าและทำให้หน้าขาวได้
  2. ช่วยทำให้ฝีสุกเร็วได้ โดยให้นำหัวที่แห้งแล้วฝนกับที่ฝนพร้มกับน้ำซาวข้าว ถ้านำไปทาจะทำให้ฝีสุกเร็วขึ้น
  3. ช่วยปิดแผลมีหนองได้ โดยนำหัวกลอยไปคั่วแล้วผสมกับน้ำมันพืช นำไปทาจะช่วยปิดแผลที่มีหนองได้
  4. แก้อาการแผลบวมอักเสบได้ โดยการนำหัวใต้ดินมาหั่นเป็นแผ่นบางๆ แล้วนำไปใช้ในบริเวณที่มีการอักเสบบวมของแผลได้
  5. ในแผลของสัตว์เลี้ยงจะช่วยฆ่าหนอนได้ โดยการนำรากกลอยมาบดแล้วนำไปผสมกับน้ำมันมะพร้าว พร้อมด้วยใบยาสูบและพริก หลังจากนั้นไปทาแผลในสัตว์ จะช่วยฆ่ากนอนในแผลของสัตว์ได้

เนื้อกลอย

คุณค่าทางอาหารของกลอย

โดยในกกลอย 100กรัม จะประกอบไปด้วย

  • พลังงานประมาณ 140 กิโลแคลอรี่
  • น้ำ 60กรัม
  • โปรตีน 2.5กรัม
  • แคลเซียม 20มิลลิกรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 33กรัม
  • ไขมัน 0.1กรัม
  • ฟอสฟอรัส 30มิลลิกรัม
  • เหล็ก 2มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน 0.2มิลลิกรัม
  • ไทอะมิน 0.1มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 1มิลลิกรัม

ขอบคุณที่มาภาพ: www.thaicrudedrug.com คุณSudarat Homhual