กระชาย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่น กระแอน ระแอน (ภาคเหนือ), ขิงทราย (มหาสารคาม), ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ), จี๊ปู ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), เป๊าซอเร้าะ เป๊าะลี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของกระชาย เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1-2 ศอก มีลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน รูปทรงกระบอก ปลายแหลมจำนวนมาก เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะ กาบใบมีสีแดงเรื่อ ใบใหญ่ยาวรีปลายแหลม ดอกเป็นช่อ สีขาวอมชมพู ปลูกในฤดูแล้ง โดยใช้เหง้า
คุณค่าทางด้านอาหาร กระชายมีรสเผ็ดร้อน ช่วยดับกลิ่นคาวได้ดี ปรุงเป็นอาการหลายชนิด เช่น น้ำยาที่ใส่ขนมจีน, แกงป่าปลา, ผัดเผ็ดปลาดุก, ปลาร้าหลน, กะปิคั่ว, แกงขี้เหล็ก,
เหง้ากระชายมีสารอาหารสำคัญ คือ แคลเซี่ยม และวิตามินเอ ส่วนแป้ง ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน มีจำนวนน้อย ทานอาหารที่มีกระชายอยู่ด้วย จะช่วยขับลมได้ดีทีเดียว
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าใต้ดิน
รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืด เฟ้อ บำรุงกำลัง
ประโยชน์ทางยา เหง้ากระชาย มีน้ำมันหอมระเหย ที่มีกลิ่นหอม มีฤทธิ์ช่วยขับลม ถ้ามีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใ้ห้ใช้เหง้า และรากประมาณครึ่งกำมือ (สดหนัก 5-10 กรัม แห้งหนัก 3-5 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือปรุงเป็นอาหารรับประทาน
ข้อมูลจาก : สมุนไพรใกล้ตัว สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน
ลอยกระทง
อืม กระชาย กินแล้วตดดีใช่ป่ะ (โทษทีใช้คำหยาบไปนิด) ประโยชน์ทางยาเข้าท่าแฮะ
คนหล่อ
ครับ รู้สึกพี่เดย์ จะชอบลอยกระทงจังเลยนะครับ
yams
วันนี้เพิ่งทานผัดฉ่าทะเลไป กระชายตรึมเลย อร่อยดีแถมยังมีประโยชน์อีกด้วย ^_^