chestnut
ชื่อสามัญ:
Water Caltrops

ชื่อวิทยาศาสตร์: Trapa bispinosa Roxb.

ถิ่นกำเนิด: ประเทศไทย และในทวีปเอเชีย

ลักษณะทางพฤกศาสตร์: กระจับเป็นไม้น้ำที่มีใบรอยอบู่บนผิวน้ำและมีรากอยู่ใต้น้ำ โดย กระจับ จะมีใบอยู่ 2ชนิด
ชนิดแรก จะลอยปริ่มน้ำ คล้ายใบพัดมีใบด้านล่างเป็นสีม่วงอมแดง
โดยจะมีก้านใบยาวและอบใบจะมีลักษณะหยัก และพองตรงกลาง

ชนิดที่สอง ชนิดนี้ใบจะอยู่ในน้ำเป็นฝอยคล้ายราก ส่วนดอกมีลักษณะเป็นสีขาวและออกตามซอกของใบ

ซึ่งจะลอยอยู่เหนือน้ำ และมีกลีบเลี้ยง, เกสรตัวเมียและ กลีบดอก อย่างละ 4กลีบ
โดยจะมีเกสรตัวเมียติดกับกลีบดอกสลับกัน ส่วนสิ่งที่อยู่เหนือวงกลีบคือรังไข่ ซึ่งมีอยู่ 2ช่องและมีออวุล 1เมล็ด/ช่อง

เมื่อผสมพันธุ์เสร็จแล้วก็จะงอตัวเองลงใต้น้ำ และค่อยๆเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็นฝักคล้ายๆหัวควายแบบที่เราเคยกินกัน

ที่เรียกว่าหัวควายเพราะ กระจับจะมีลักษณะเป็น เข้าโค้งทั้งสองข้าง ส่วนสีนั้นจะมีสีม่วงอมแดง

แต่ถ้าที่เราเห็นเป็นสีดำจะเป็น กระจับที่แก่แล้ว แต่เนื้อในก็ยังจะมีสีขาวเหมือนเดิม

ใบกกระจับ
ฤดูกาลที่เหมาะสม: เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ จะเป็นช่วงที่กระจับจะออกฝัก

แหล่งปลูกที่เหมาะสมที่สุด: ส่วนมากจะพบในพื้นที่ภาคกลาง ตามแหล่งน้ำคูคลองต่างๆ
และในจังหวัดที่เราจะพบก็คือ อยุทธยา, อ่างทอง, สุพรรณบุรี, สิงห์บุรี
การกินและรสชาติ: ราชาติของกระจับนั้น จะมีรสหวานมัน เนื้อแน่น สามารถนำมาต้มกับน้ำตาล
แล้วทำเป็นน้ำแข็งใส ก็จะเป็นของหวานที่อร่อย

คุณค่าทางอาหาร: โดยกระจับ 100กรัม จะให้พลังงานประมาณ 90 กิโลแคลอรี่ และมีน้ำอยู่ถึง 70กรัม

มีโปรตีนมากถึง 4กรัม คาร์โบไฮเดรตปะมาณ 19กรัม ส่วนแร่ธาตุที่มีก็ได้แต่ ฟอสฟอรัส, เหล็ก, ไนอะซิน, ไทอะมิน , วิตามินซี

sfsadfdsafsdafds