กระเทียม
ชื่อสามัญ:
 Garlic

ชื่อวิทยาศาสตร์: Allium sativum Linn.

ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ: โดยทั่วไปโดยเฉพาะภาคกลางจะเรียกกันว่า กระเทียม แต่กระเทียมก็มีภาษาท้องถิ่นเป็นของตัวเองแต่ละภาคด้วย เช่น

  1. ในแถบภาคเหนือ จะเรียกว่า หอมเตียม
  2. ในแถบภาคอีสาน จะเรียกว่า หอมขาว, กระเทียมขาว (อุดรธานี)
  3. ในแถบภาคใต้ จะเรียกว่า หัวเทียม,เทียม
  4. กะเหรี่ยงแถวแม่ฮ่องสอนก็จะเรียกว่า ปะเช้วา

ถิ่นกำเนิดของกระเทียม: กระเทียมนั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่แถวเอเชียตอนกลาง

ต้นกระเทียม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกระเทียม

กระเทียมนั้นจัดว่าเป็นพืชล้มลุก ที่มีลำต้นไม่สูงมากประมาณ 30-45ซม.

ใบ มีลักษณะแบนยาวเรียวและปลายแหลม ทำโค่งและซ้อนกันเป็นชั้นๆแต่ข้างในกลวง เป็นใบเดี่ยว จะมีรอยคล้ายๆรอยพับเป็นแนวยาวตลอด

ดอก ดอกจะเป็นสีขาวออกชมพูม่วง และจะออกเป็นกระจุกติดกันคล้ายช่อ จะมีกลีบดอกทั้งหมด6กลีบยาวประมาณ 6-7มม. มีลักษณะยาวแหลม ก้านดอกจะยาวและมีกาบห่อหุ้มอยู่เป็นจะงอย ส่วนอับเกสรจะหันออกด้านนอก

ดอกกระเทียม

หัว จะอยู่ใต้ดิน มีลักษณะกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-5ซม. และใน1หัวจะมีกลีบเล็กๆอยู่หลายกลีบอยู่ในนั้น โดยจะเยื่อบางๆมีสีขาว หรือ สีขาวชมพูคอยหุ้มอยู่หลายชั้น ส่วนสายพันธุ์ที่มีหัวเดียวและกลีบเดียว เราจะเรียกสายพันธุ์นั้นว่า “กระเทียมโทน” ถ้าแกะเยื้อออกจะพบเนื้อกระเทียมมีสีเนื้อหรือครีม ซึ่งส่วนนี้จะมีกลิ่นฉุนและรสเผ็ด ซึ่งส่วนใหญ่นิยมนำไปประกอบอาหาร

garlic

ฤดูกาลที่กระเทียมเจริญเติบโด: กระเทียมนั้นสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี  แต่ช่วงที่ยอดอ่อนจะอร่อยที่สุดและออกผลผลิตได้ดีนั้น จะเป็นช่วงของฤดูหนาว 

แหล่งปลูก: โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะนิยมปลูกกระเทียมกันมากที่สุดใน ภาคเหนือ และ แถบภาคอีสาน และประเทศที่ปลูกกระเทียมมากทุดสุดในโลกคือ ประเทศจีน

เมนูที่ทำจากกระเทียม:

กระเทียมนั้นนิยมนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายชนิมาก เพราะมีกลิ่นและรสที่ดี พร้อมยังสามารถช่วยดับกลิ่นคาวได้เป็นอย่างดีด้วย ในที่นี้จึงยกตัวอย่างเมนูที่มีส่วนผสมจากกระเทียมมาดังนี้

  • ส่วนใบและต้นของกระเทียม สามารถนำมาผัดกับตับหมูได้ จะมีรสชาติดี
  • หัวกระเทียมสามารถนำไปลวกหรือดองไว้แล้วนำมารับประทานได้
  • สามารถนำกระเทียมมาหมัก เพื่อใช้ในการดับกลิ่นปลาได้เป็นอย่างดี และนำปลาไปทำได้ทุกเมนูกระเทียม ทำอาหาร

สรรพคุณทางยาและประโยชน์ของกระเทียม

  1. ส่วนใบ สามารถช่วยทำให้เสมหะแห้งและขับเสมหะได้
  2. แก้อาการปวดมวนท้องเนื่องจากลมได้
  3. หัวกระเทียมมีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอและอาการเจ็บคอได้
  4. ช่วยป้องกันและรักษาอาการของโรคผิวหลังได้
  5. ช่วยบำรุงธาตุให้ร่างกาย
  6. ช่วยขับระดูสำหรับสตรีที่เป็นประจำเดือนได้
  7. ช่วยทำให้สมองปลอดโปร่งและบรรเทาอาการของโรคประสาทได้
  8. ช่วยรักษาอาการของโรคหืด
  9. ช่วยแก้เรื่องของอาการปวดหู
  10. ช่วยป้องกันการเกิดเลือดออกตามไรฟันได้
  11. ช่วยขับพยาธิในท้อง
  12. ในกระเทียมยังมีสารอัลลิซิน (Allicin) ซึ่งจะช่วยป้องกันเราจากโรคมะเร็งได้
  13. ช่วยบำรุงหัวใจให้ทำงานปกติ
  14. ช่วยทำให้ไตทำงานได้สมดุลขึ้น และช่วยให้ขับปัสสาวะได้เป็นปกติ

คุณค่าทางอาหารของต้นกระเทียม

โดยในหัวกระเทียม 100กรัม จะประกอบไปด้วย

  • พลังงานประมาณ 150 กิโลแคลอรี่
  • น้ำ 60กรัม
  • เส้นใย 1กรัม
  • โปรตีน 5กรัม
  • แคลเซียม 5มิลลิกรัม
  • วิตามินบี1 0.2มิลลิกรัม
  • วิตามินบี2 0.02มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 15มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 5 IU

สนใจการปลูกกระเทียมสามารถClickเข้าไปอ่านได้ “การปลูกกระเทียม